วันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่องค์กรสิทธิมนุษยชนทั้งในและต่างประเทศออกมาคัดค้านร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ว่า ร่างกฎหมายเพื่อความมั่นคงดังกล่าว รัฐบาลพร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็น ซึ่งขณะนี้ร่างกฎหมายอยู่ในขั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ถ้าหากใครต้องการที่จะเข้ามาช่วยกันทำให้กฎหมายนี้เป็นกฎหมายที่ใช้ได้ในบ้านเมืองของเรา ก็จะเป็นสิ่งที่ดี รัฐบาลไม่อยากออกกฎหมายอะไรที่ประชาชนไม่ยอมรับ เพราะฉะนั้นในหลักการของรัฐบาลคือ เราเปิดกว้างพร้อมที่จะรับฟังข้อคิดเห็น และปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้กฎหมายที่ออกมานั้นมีความเหมาะสมกับบ้านเมืองของเราจริง ๆ โดยผู้ที่จะเสนอความคิดเห็นสามารถทำได้หลายช่องทาง เช่น เสนอผ่านสายด่วน 1111 หรือจะทำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการกฤษฎีกาเองก็ทำได้ เพราะควรจะทำความเข้าใจและหาทางที่จะปรับปรุงกันในขั้นของคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงขนาดที่ว่าประเทศไทยไม่อยากกลับไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงออกกฎหมายฉบับนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น ขอเรียนยืนยันว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเรื่องของความมั่นคง แต่ทำอย่างไรที่จะมีกฎหมายที่เหมาะสำหรับกับประเทศของเรา นั่นคือจุดสำคัญ เราไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะออกกฎหมายใด ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
ผู้สื่อข่าวถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าการออกกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นการติดดาบให้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ใช่ ขอเรียนย้ำว่ารัฐบาลต้องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เป็นที่ยอมรับ ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือมีประเด็นต่าง ๆ ก็เสนอเข้ามาได้ เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจของผู้ปฏิบัติกับอำนาจของผู้กำหนดนโยบาย เรื่องอำนาจการบังคับบัญชา ควรจะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราอยากจะฟัง ถ้าใครมีข้อคิดเห็นรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟัง ซึ่งความเห็นของทุก ๆ ภาคส่วนเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้กฎหมายสมบูรณ์ ทั้งนี้ แม้ว่าจะผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาไปแล้ว ก็ต้องเสนอร่างกฎหมายเข้าคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐบาลเปิดรับฟังทุกขั้นตอน และพร้อมแก้ไข ดังนั้น ไม่มีการกระทำใด ๆ ที่จะอยู่ในลักษณะที่ปกปิด และรัฐบาลจะไม่เสนอกฎหมายฉบับนี้ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาใน 3 วาระรวด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องออกกฎหมายดังกล่าวภายในรัฐบาลนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า น่าจะจำเป็นเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังติดค้างกันอยู่ เช่น ในส่วนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ยังทำงานไม่ได้เต็มที่ และกฎอัยการศึกก็ไม่เกี่ยวกับ ศอ.บต. เพราะเป็นเรื่องของกระทรวงกลาโหม
“ขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในขั้นรอบคอบ อย่างที่บอกคือเราเปิดให้วิจารณ์ เปิดให้หาทางปรับปรุงแก้ไข เพราะฉะนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของความรอบคอบ ความรอบคอบที่จะเกิดขึ้นก็คือ เป็นที่ยอมรับของคนไทยว่าเราน่าจะมีกฎหมายในเรื่องของความมั่นคงขนาดไหน อย่างไร เหมาะกับเราไหม นี่คือจุดสำคัญที่อยากจะบอกว่าเราควรจะร่วมมือกันตรงนี้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลพร้อมถอนกฎหมายดังกล่าวออกหรือไม่หากไม่เป็นที่ยอมรับ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับ ซึ่งกฎหมายจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประชาชนที่จะช่วยกันพิจารณาว่าไม่มีอะไรที่มีคมด้านเดียว มีดีก็ต้องมีเสีย เป็นธรรมดา ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติด้วย กฎหมายเขียนมาด้วยความปรารถนาดีกันทั้งนั้น แต่ที่ทำไม่ได้เพราะอยู่ที่คน และพร้อมที่จะให้ทุก ภาคส่วนมีโอกาสเข้ามาปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับนี้ให้เป็นที่ถูกใจของทุกคน
“เราอยากจะเปิดให้ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีการปรับปรุงกัน เพราะฉะนั้น คิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่รัฐบาลอยากจะเห็นว่าเรามีความร่วมมืออะไร เราพยายามที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เพราะในเรื่องของความมั่นคง การก่อการร้าย การป้องกัน การลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องหาทางที่จะใช้กฎหมายให้รอบคอบ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์ถึงขนาดที่ว่าประเทศไทยไม่อยากกลับไปสู่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง จึงออกกฎหมายฉบับนี้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น ขอเรียนยืนยันว่า รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายเรื่องของความมั่นคง แต่ทำอย่างไรที่จะมีกฎหมายที่เหมาะสำหรับกับประเทศของเรา นั่นคือจุดสำคัญ เราไม่ได้มีความมุ่งหมายที่จะออกกฎหมายใด ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม
ผู้สื่อข่าวถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าการออกกฎหมายดังกล่าวไม่ได้เป็นการติดดาบให้กับคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงไม่ใช่ ขอเรียนย้ำว่ารัฐบาลต้องการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้เป็นที่ยอมรับ ถ้าหากมีข้อสงสัยหรือมีประเด็นต่าง ๆ ก็เสนอเข้ามาได้ เช่น เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจของผู้ปฏิบัติกับอำนาจของผู้กำหนดนโยบาย เรื่องอำนาจการบังคับบัญชา ควรจะเป็นอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่เราอยากจะฟัง ถ้าใครมีข้อคิดเห็นรัฐบาลพร้อมที่จะรับฟัง ซึ่งความเห็นของทุก ๆ ภาคส่วนเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้กฎหมายสมบูรณ์ ทั้งนี้ แม้ว่าจะผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกาไปแล้ว ก็ต้องเสนอร่างกฎหมายเข้าคณะรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รัฐบาลเปิดรับฟังทุกขั้นตอน และพร้อมแก้ไข ดังนั้น ไม่มีการกระทำใด ๆ ที่จะอยู่ในลักษณะที่ปกปิด และรัฐบาลจะไม่เสนอกฎหมายฉบับนี้ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาใน 3 วาระรวด
ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องออกกฎหมายดังกล่าวภายในรัฐบาลนี้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า น่าจะจำเป็นเพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังติดค้างกันอยู่ เช่น ในส่วนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ก็ยังทำงานไม่ได้เต็มที่ และกฎอัยการศึกก็ไม่เกี่ยวกับ ศอ.บต. เพราะเป็นเรื่องของกระทรวงกลาโหม
“ขณะนี้ยังไม่ถือว่าอยู่ในขั้นรอบคอบ อย่างที่บอกคือเราเปิดให้วิจารณ์ เปิดให้หาทางปรับปรุงแก้ไข เพราะฉะนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องของความรอบคอบ ความรอบคอบที่จะเกิดขึ้นก็คือ เป็นที่ยอมรับของคนไทยว่าเราน่าจะมีกฎหมายในเรื่องของความมั่นคงขนาดไหน อย่างไร เหมาะกับเราไหม นี่คือจุดสำคัญที่อยากจะบอกว่าเราควรจะร่วมมือกันตรงนี้” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลพร้อมถอนกฎหมายดังกล่าวออกหรือไม่หากไม่เป็นที่ยอมรับ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมปรับปรุงให้เป็นที่ยอมรับ ซึ่งกฎหมายจะออกมาอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับประชาชนที่จะช่วยกันพิจารณาว่าไม่มีอะไรที่มีคมด้านเดียว มีดีก็ต้องมีเสีย เป็นธรรมดา ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติด้วย กฎหมายเขียนมาด้วยความปรารถนาดีกันทั้งนั้น แต่ที่ทำไม่ได้เพราะอยู่ที่คน และพร้อมที่จะให้ทุก ภาคส่วนมีโอกาสเข้ามาปรับปรุงแก้ไขร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับนี้ให้เป็นที่ถูกใจของทุกคน
“เราอยากจะเปิดให้ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ มีการปรับปรุงกัน เพราะฉะนั้น คิดว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่รัฐบาลอยากจะเห็นว่าเรามีความร่วมมืออะไร เราพยายามที่จะทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง เพราะในเรื่องของความมั่นคง การก่อการร้าย การป้องกัน การลักลอบข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นเรื่องที่จำเป็นจะต้องหาทางที่จะใช้กฎหมายให้รอบคอบ” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--