วันนี้ เวลา 11.30 น. ที่กระทรวงมหาดไทย พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวง ครั้งที่ 2/2550 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมนายกรัฐมนตรีได้แถลงว่า ในการหารือครั้งนี้ได้พูดถึงการที่จะช่วยกันทำความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องของรัฐธรรมนูญที่จะผ่านการรับรองจากสภา ร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 6 กรกฎาคม นี้ หลังจากนั้นก็เรื่องที่จะต้องมีการเตรียมการลงประชามติ ซึ่งได้ขอให้กระทรวงต่าง ๆ ช่วยเตรียมการ โดยหลักการมีเพียงแต่ว่าช่วยกันทำความเข้าใจในเรื่องของรัฐธรรมนูญปี 2550 นี้ และชักชวนให้ประชาชนได้มาลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามห้วงเวลาที่ได้กำหนดไว้แล้ว คือ วันที่ 19 สิงหาคมนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการพูดถึงการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันเลือกตั้งยังไม่ได้มีการพูดกัน คงต้องรอเรื่องการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญก่อน และยังไม่ได้หารือกับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คาดว่าจะได้พบและหารือกันในระหว่างการประชุมนอกรอบก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ค.)
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะได้ข้อยุติเลยหรือไม่หรือต้องรอหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องรอการลงประชามติรับร่างก่อน ถึงจะกำหนดวันที่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการกำหนดแนวทางอยู่แล้วทำไมจึงกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนไม่ได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่บอกว่ารอให้มีการลงประชามติก่อนนั้น คือต้องรอว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างอยู่นี้จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ถ้าประชาชนยอมรับก็ไปง่ายแต่ถ้าไม่ยอมรับก็ต้องเสียเวลา
ต่อข้อถามที่ว่า รัฐบาลเตรียมการหรือไม่ หากประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้เตรียมการ เพราะตามกฎหมายฉบับชั่วคราวมีการกำหนดขั้นตอนไว้ทุกอย่างแล้วว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร มีการกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องทำให้เสร็จภายในเวลา 30 วัน
ต่อข้อถามที่ว่า เป็นห่วงหรือไม่ที่มีกระบวนการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้เป็นห่วงและคิดว่าเมื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็จะมีความเข้าใจและคิดว่าถ้านำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบอย่างที่พูดง่าย ๆ ว่าของที่ผมเอามาไว้อยู่ในมือข้างหน้ากับของที่ผมซ่อนเอาไว้ข้างหลังจะเลือกเอาอย่างไหน นั่นเป็นการเปรียบเทียบง่าย ๆ และเมื่อมีร่างพระราชบัญญัติลงประชามติผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เนื้อหาจะระบุไว้ด้วยว่าการกระทำใดที่จะเป็นการกระทำผิดพระราชบัญญัติประชามติบ้าง เช่นการที่จะไปบอกว่าไม่ให้ลงหรือไปคัดค้านอย่างนั้นทำไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและพร้อมผ่านร่างประชามติรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจและพร้อมที่จะไปลงประชามติ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการพูดถึงการกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันเลือกตั้งยังไม่ได้มีการพูดกัน คงต้องรอเรื่องการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญก่อน และยังไม่ได้หารือกับพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คาดว่าจะได้พบและหารือกันในระหว่างการประชุมนอกรอบก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้ (3 ก.ค.)
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะได้ข้อยุติเลยหรือไม่หรือต้องรอหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงต้องรอการลงประชามติรับร่างก่อน ถึงจะกำหนดวันที่ชัดเจน
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการกำหนดแนวทางอยู่แล้วทำไมจึงกำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนไม่ได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่บอกว่ารอให้มีการลงประชามติก่อนนั้น คือต้องรอว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ร่างอยู่นี้จะได้รับการยอมรับหรือไม่ ถ้าประชาชนยอมรับก็ไปง่ายแต่ถ้าไม่ยอมรับก็ต้องเสียเวลา
ต่อข้อถามที่ว่า รัฐบาลเตรียมการหรือไม่ หากประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้เตรียมการ เพราะตามกฎหมายฉบับชั่วคราวมีการกำหนดขั้นตอนไว้ทุกอย่างแล้วว่าจะต้องทำอะไร เมื่อไร อย่างไร มีการกำหนดไว้ชัดเจนแล้วว่าต้องทำให้เสร็จภายในเวลา 30 วัน
ต่อข้อถามที่ว่า เป็นห่วงหรือไม่ที่มีกระบวนการรณรงค์ไม่ให้ประชาชนรับร่างรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่ได้เป็นห่วงและคิดว่าเมื่อประชาชนได้รับทราบข้อมูลต่าง ๆ แล้วก็จะมีความเข้าใจและคิดว่าถ้านำสิ่งเหล่านั้นมาเปรียบเทียบอย่างที่พูดง่าย ๆ ว่าของที่ผมเอามาไว้อยู่ในมือข้างหน้ากับของที่ผมซ่อนเอาไว้ข้างหลังจะเลือกเอาอย่างไหน นั่นเป็นการเปรียบเทียบง่าย ๆ และเมื่อมีร่างพระราชบัญญัติลงประชามติผ่านสภานิติบัญญัติแห่งชาติแล้ว เนื้อหาจะระบุไว้ด้วยว่าการกระทำใดที่จะเป็นการกระทำผิดพระราชบัญญัติประชามติบ้าง เช่นการที่จะไปบอกว่าไม่ให้ลงหรือไปคัดค้านอย่างนั้นทำไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย
ผู้สื่อข่าวถามว่า มั่นใจว่าประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจและพร้อมผ่านร่างประชามติรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าประชาชนน่าจะเข้าใจและพร้อมที่จะไปลงประชามติ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--