แท็ก
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
สนธิ บุญยรัตกลิน
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
เสรีพิศุทธ์
วันนี้ เวลา 09.30 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เรียกประชุมหน่วยงานด้านความมั่นคง ประกอบด้วย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงใน (ผอ.รมน.) พลเอก มนตรี สังขทรัพย์ เสนาธิการทหารบก พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส รักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายศิระชัย โชติรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ พลตำรวจโท อดิศร นนทรีย์ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจโท ระพีพัฒน์ ปาละวงศ์ ผู้บัญชาการตำรวจสันติบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ รวมทั้งการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะปราศรัยผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์ หรือการพูดคุยต่อสายสดผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีทั้งภาพและเสียงมายังเวทีปราศรัยที่ท้องสนามหลวงในช่วงเวลาประมาณ 21.00 น. โดยใช้เวลาหารือเกือบ 2 ชั่วโมง
หลังจากนั้นเวลา 11.10 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมคืนนี้ โดยในส่วนของรัฐบาลจะพยายามดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยมากที่สุดในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้ ถ้าหากได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนและประชาชนที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาในการก่อความวุ่นวายต่างๆ ขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ เพราะขณะนี้บ้านเมืองของเรามีปัญหาต่างๆ มากพอสมควรแล้ว ถ้าหากเราร่วมมือกันที่จะทำให้เกิดความสงบและมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาทางการเมืองในระยะยาวคือให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
สำหรับการเตรียมมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางฝ่ายความมั่นคงได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้วเพื่อไม่ให้ประมาท หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นเราจะได้ดูแลเหตุการณ์ให้กลับคืนสู่ความสงบได้โดยเร็ว และความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในขณะนี้ของกลุ่มผู้ชุมนุมก็ไม่ได้เข้าข่ายเป็นการท้าทายอำนาจรัฐแต่อย่างใด เพียงแต่จากข่าวสารที่ได้รับมาว่าจะมีความเคลื่อนไหวต่างๆ เราก็ต้องเตรียมการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและความไม่ประมาทเท่านั้นเอง ซึ่งในระดับปฏิบัติได้มีการพูดกันถึงมาตรการที่จะรักษาความสงบและช่วยกันดูแล เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ขยายตัวรุนแรงออกไป ถ้าไม่มีเหตุการณ์รุนแรงก็ถือว่าเป็นเรื่องดี
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมวันนี้ได้มีการหารือกันถึงการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าหากสถานการณ์ควบคุมไม่ได้ เนื่องจากในพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวระบุไว้ชัดเจนว่ามีเหตุการณ์ใดบ้างที่จะเข้าข่ายที่จะใช้พระราชกำหนดนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะนำพระราชกำหนดดังกล่าวมาใช้ทันทีเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะที่สอดคล้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการขั้นสูงสุดที่รัฐบาลจะนำมาใช้หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงคืออะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการขั้นสุดท้ายคือการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการควบคุมสถานการณ์
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เตรียมที่จะปราศรัยมายังเวทีการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง รัฐบาลจะมีการตัดสัญญาณหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่ตัดสัญญาณอะไร เพราะถือว่าการกระทำดังกล่าวสามารถทำได้ หากเป็นการปราศรัยที่ไม่ใช่ลักษณะการยั่วยุจนเกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ต้องฟังเนื้อหาของการปราศรัยด้วย อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลพยายามที่จะยืนอยู่บนหลักของกฎหมายและความชอบธรรมที่แต่ละคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่ใช่การยั่วยุจนทำให้เกิดปัญหาต่อบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ “กลุ่มคนรักทักษิณ” มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การยั่วยุนั้นจะเกิดผลหรือไม่ขึ้นอยู่ที่ประชาชน หากประชาชนไม่เห็นด้วยก็คงทำได้แค่การยั่วยุ แต่ไม่ได้ร่วมในการเดินขบวนด้วย ส่วนมาตรการที่จะดูแลไม่ให้สถานการณ์ลุกลามคืออะไรนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งได้เน้นและมอบนโยบายว่าเราจะใช้วิธีการที่ไม่รุนแรง ใช้การพูดจาและทำความเข้าใจกันให้มากที่สุด ซึ่งทางตำรวจก็ทราบดีว่าจะต้องใช้อาวุธอะไรบ้างในการเข้าไปดูแล แต่ที่แน่ๆ คือไม่มีอาวุธปืน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
หลังจากนั้นเวลา 11.10 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ได้มีการหารือถึงเรื่องการดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมคืนนี้ โดยในส่วนของรัฐบาลจะพยายามดูแลให้เกิดความสงบเรียบร้อยมากที่สุดในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์นี้ ถ้าหากได้รับความร่วมมือจากสื่อมวลชนและประชาชนที่ไม่ทำให้เกิดปัญหาในการก่อความวุ่นวายต่างๆ ขึ้นก็จะเป็นประโยชน์ เพราะขณะนี้บ้านเมืองของเรามีปัญหาต่างๆ มากพอสมควรแล้ว ถ้าหากเราร่วมมือกันที่จะทำให้เกิดความสงบและมุ่งไปสู่การแก้ไขปัญหาทางการเมืองในระยะยาวคือให้มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็น่าจะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง
สำหรับการเตรียมมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทางฝ่ายความมั่นคงได้เตรียมการทุกอย่างไว้พร้อมแล้วเพื่อไม่ให้ประมาท หากเกิดเหตุการณ์ขึ้นเราจะได้ดูแลเหตุการณ์ให้กลับคืนสู่ความสงบได้โดยเร็ว และความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นในขณะนี้ของกลุ่มผู้ชุมนุมก็ไม่ได้เข้าข่ายเป็นการท้าทายอำนาจรัฐแต่อย่างใด เพียงแต่จากข่าวสารที่ได้รับมาว่าจะมีความเคลื่อนไหวต่างๆ เราก็ต้องเตรียมการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและความไม่ประมาทเท่านั้นเอง ซึ่งในระดับปฏิบัติได้มีการพูดกันถึงมาตรการที่จะรักษาความสงบและช่วยกันดูแล เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ขยายตัวรุนแรงออกไป ถ้าไม่มีเหตุการณ์รุนแรงก็ถือว่าเป็นเรื่องดี
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในที่ประชุมวันนี้ได้มีการหารือกันถึงการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ถ้าหากสถานการณ์ควบคุมไม่ได้ เนื่องจากในพระราชกำหนดฉบับดังกล่าวระบุไว้ชัดเจนว่ามีเหตุการณ์ใดบ้างที่จะเข้าข่ายที่จะใช้พระราชกำหนดนี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะนำพระราชกำหนดดังกล่าวมาใช้ทันทีเมื่อเหตุการณ์เข้าสู่ภาวะที่สอดคล้อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า มาตรการขั้นสูงสุดที่รัฐบาลจะนำมาใช้หากเกิดเหตุการณ์รุนแรงคืออะไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า มาตรการขั้นสุดท้ายคือการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อให้อำนาจกับเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการควบคุมสถานการณ์
ส่วนกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ เตรียมที่จะปราศรัยมายังเวทีการชุมนุมที่ท้องสนามหลวง รัฐบาลจะมีการตัดสัญญาณหรือไม่นั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะไม่ตัดสัญญาณอะไร เพราะถือว่าการกระทำดังกล่าวสามารถทำได้ หากเป็นการปราศรัยที่ไม่ใช่ลักษณะการยั่วยุจนเกิดปัญหาขึ้นมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ต้องฟังเนื้อหาของการปราศรัยด้วย อย่างไรก็ตาม ทางฝ่ายความมั่นคงและรัฐบาลพยายามที่จะยืนอยู่บนหลักของกฎหมายและความชอบธรรมที่แต่ละคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็น แต่ต้องไม่ใช่การยั่วยุจนทำให้เกิดปัญหาต่อบ้านเมือง
ผู้สื่อข่าวถามว่า แต่ “กลุ่มคนรักทักษิณ” มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การยั่วยุนั้นจะเกิดผลหรือไม่ขึ้นอยู่ที่ประชาชน หากประชาชนไม่เห็นด้วยก็คงทำได้แค่การยั่วยุ แต่ไม่ได้ร่วมในการเดินขบวนด้วย ส่วนมาตรการที่จะดูแลไม่ให้สถานการณ์ลุกลามคืออะไรนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เป็นเรื่องของฝ่ายปฏิบัติ ซึ่งได้เน้นและมอบนโยบายว่าเราจะใช้วิธีการที่ไม่รุนแรง ใช้การพูดจาและทำความเข้าใจกันให้มากที่สุด ซึ่งทางตำรวจก็ทราบดีว่าจะต้องใช้อาวุธอะไรบ้างในการเข้าไปดูแล แต่ที่แน่ๆ คือไม่มีอาวุธปืน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--