นายกรัฐมนตรีไทยและมาเลเซียเห็นพ้องในการร่วมมือกันแก้ปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันนี้ (22 สิงหาคม 2550) เวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะเข้าร่วมการประชุมหารือประจำปีครั้งที่ 3 ระหว่างไทย-มาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมฝ่ายไทยประกอบด้วยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ โรงแรม Shangri-la’s Rasa Sayang Resort & Spa เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ร่วมกันแถลงข่าว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-มาเลเซีย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่าได้มีการพูดคุยในประเด็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์ร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือด้านความมั่นคง พร้อมกล่าวแสดงแสดงความขอบคุณที่มาเลเซีย ที่ให้ความสนับสนุนแนวทางสันติและการสร้างความสมานฉันท์ ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยเห็นว่า เป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคง พร้อมทั้งเห็นด้วยว่า จำเป็นจะต้องยุติความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ในโอกาสดังกล่าว นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษา (MOU on Education) ระหว่างนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและY.B. DATO' SRI HISHAMMUDDIN TUN HUSSEIN รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมของทั้งสองประเทศร่วมกัน และมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ โดยครอบคลุมทั้งอิสลามศึกษา การพัฒนาครู การศึกษาดูงานในพื้นที่ รวมถึงไทยศึกษาและมาเลเซียศึกษาอีกด้วย ซึ่งจะได้มีการจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยการศึกษาภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวอีกด้วย
เดินหน้ามาตรการสร้างความมั่นใจไทย-มาเลเซีย 3E ศึกษา สร้างงาน การประกอบการ
สำหรับการหารือประจำปีนั้น ได้มีการหยิบยกประเด็นที่เป็นความสนใจและเป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายจะได้เดินหน้ามาตรการสร้างความมั่นใจ (the Confidence Building Measures —CBMs) ในพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นไปตามความตกลงระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในการหารือ เมื่อครั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและมาเลเซีย ได้ใช้เป็นแนวทางในการหารือในเดือนมีนาคมปีนี้ ทั้งนี้ มาตรการสร้างความมั่นใจ อยู่บนพื้นฐาน แนวทาง 3E ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบการ (Entrepreneurship) โดยการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 10 (the 10th Meeting of the Joint Commission on Bilateral Cooperation between Thailand and Malaysia) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการหารือกันในรายละเอียด และรายงานความคืบหน้าในการหารือประจำปีในครั้งนี้ด้วย
สะพานมิตรภาพ 50 ปี ไทย-มาเลเซีย ที่บ้านบูเก๊าะตา จังหวัดนราธิวาส
ทั้งสองฝ่ายยังได้เสนอให้สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่บ้านบูเก๊าะตา ในจังหวัดนราธิวาส และ บุกิตบุหงา รัฐกลันตัน ซึ่งมีกำหนดที่จะสร้างเสร็จในปลายปีนี้ เป็นสะพานเฉลิมฉลองโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซีย ครบรอบ 50 ปี ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการข้ามเดินทางไปมาแก่ประชาชนบริเวณพรมแดนของทั้งสองประเทศ พร้อมจะเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีร่วมในการเปิดใช้สะพานดังกล่าว ต่อไป
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวตอบรับเยือนไทย
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวแสดงความยินดีที่จะเดินทางมาเยือนไทย เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ พร้อมย้ำความร่วมมือในด้านอื่นๆ ทั้ง ความร่วมมือด้านวิชาการและการฝึกอบรมสำหรับการดำเนินธุรกรรมของธนาคารอิสลาม การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า ครั้งที่ 2 การแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังได้เสนอให้มีการรือฟื้นประเพณีการแข่งขันกีฬามิตรภาพในระดับเยาวชนระหว่างมหาวิทยาลัย ดังเช่นเคยมีการแข่งขันรักบี้ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมาลายาในอดีต เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และเสริมสร้างมิตรภาพในระดับประชาชน ซึ่งสามารถจัดประเภทกีฬาที่เป็นที่สนใจของทั้งสองประเทศ อาทิ ฟุตบอล ตะกร้อ รักบี้และแบดมินตัน เป็นต้น
จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะออกเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเมืองปีนัง เพื่อเดินทางกลับเมืองไทย และมาถึงท่าอากาศยานทหาร(กองบิน 6) ในเวลา 17.40 น.
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ (22 สิงหาคม 2550) เวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะเข้าร่วมการประชุมหารือประจำปีครั้งที่ 3 ระหว่างไทย-มาเลเซีย โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมฝ่ายไทยประกอบด้วยนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายอารีย์ วงศ์อารยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายประกิจ ประจนปัจจนึก เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ณ โรงแรม Shangri-la’s Rasa Sayang Resort & Spa เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้ร่วมกันแถลงข่าว สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
ความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-มาเลเซีย
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เปิดเผยถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่าได้มีการพูดคุยในประเด็นที่สำคัญและเป็นประโยชน์ร่วมกันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความร่วมมือด้านความมั่นคง พร้อมกล่าวแสดงแสดงความขอบคุณที่มาเลเซีย ที่ให้ความสนับสนุนแนวทางสันติและการสร้างความสมานฉันท์ ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยเห็นว่า เป็นแนวทางที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่นคง พร้อมทั้งเห็นด้วยว่า จำเป็นจะต้องยุติความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ในโอกาสดังกล่าว นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ยังได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการศึกษา (MOU on Education) ระหว่างนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและY.B. DATO' SRI HISHAMMUDDIN TUN HUSSEIN รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาเลเซีย ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญในการส่งเสริมกิจกรรมของทั้งสองประเทศร่วมกัน และมีส่วนช่วยอำนวยความสะดวกในการร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรม ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ โดยครอบคลุมทั้งอิสลามศึกษา การพัฒนาครู การศึกษาดูงานในพื้นที่ รวมถึงไทยศึกษาและมาเลเซียศึกษาอีกด้วย ซึ่งจะได้มีการจัดตั้งคณะทำงานว่าด้วยการศึกษาภายใต้บันทึกความเข้าใจดังกล่าวอีกด้วย
เดินหน้ามาตรการสร้างความมั่นใจไทย-มาเลเซีย 3E ศึกษา สร้างงาน การประกอบการ
สำหรับการหารือประจำปีนั้น ได้มีการหยิบยกประเด็นที่เป็นความสนใจและเป็นประโยชน์ร่วมกัน โดยทั้งสองฝ่ายจะได้เดินหน้ามาตรการสร้างความมั่นใจ (the Confidence Building Measures —CBMs) ในพื้นที่ชายแดน เพื่อเป็นไปตามความตกลงระหว่างนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียในการหารือ เมื่อครั้งนายกรัฐมนตรีมาเลเซียเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปีที่ผ่านมา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและมาเลเซีย ได้ใช้เป็นแนวทางในการหารือในเดือนมีนาคมปีนี้ ทั้งนี้ มาตรการสร้างความมั่นใจ อยู่บนพื้นฐาน แนวทาง 3E ประกอบด้วย การส่งเสริมการศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการประกอบการ (Entrepreneurship) โดยการประชุมคณะกรรมาธิการร่วม ครั้งที่ 10 (the 10th Meeting of the Joint Commission on Bilateral Cooperation between Thailand and Malaysia) เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการหารือกันในรายละเอียด และรายงานความคืบหน้าในการหารือประจำปีในครั้งนี้ด้วย
สะพานมิตรภาพ 50 ปี ไทย-มาเลเซีย ที่บ้านบูเก๊าะตา จังหวัดนราธิวาส
ทั้งสองฝ่ายยังได้เสนอให้สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก ที่บ้านบูเก๊าะตา ในจังหวัดนราธิวาส และ บุกิตบุหงา รัฐกลันตัน ซึ่งมีกำหนดที่จะสร้างเสร็จในปลายปีนี้ เป็นสะพานเฉลิมฉลองโอกาสความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและมาเลเซีย ครบรอบ 50 ปี ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกในการข้ามเดินทางไปมาแก่ประชาชนบริเวณพรมแดนของทั้งสองประเทศ พร้อมจะเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีร่วมในการเปิดใช้สะพานดังกล่าว ต่อไป
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวตอบรับเยือนไทย
นายกรัฐมนตรีมาเลเซียกล่าวแสดงความยินดีที่จะเดินทางมาเยือนไทย เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสะพานมิตรภาพ พร้อมย้ำความร่วมมือในด้านอื่นๆ ทั้ง ความร่วมมือด้านวิชาการและการฝึกอบรมสำหรับการดำเนินธุรกรรมของธนาคารอิสลาม การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมด้านการค้า ครั้งที่ 2 การแก้ไขปัญหาบุคคลสองสัญชาติ ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียยังได้เสนอให้มีการรือฟื้นประเพณีการแข่งขันกีฬามิตรภาพในระดับเยาวชนระหว่างมหาวิทยาลัย ดังเช่นเคยมีการแข่งขันรักบี้ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมาลายาในอดีต เพื่อสืบสานประเพณีที่ดีงาม และเสริมสร้างมิตรภาพในระดับประชาชน ซึ่งสามารถจัดประเภทกีฬาที่เป็นที่สนใจของทั้งสองประเทศ อาทิ ฟุตบอล ตะกร้อ รักบี้และแบดมินตัน เป็นต้น
จากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะออกเดินทางไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเมืองปีนัง เพื่อเดินทางกลับเมืองไทย และมาถึงท่าอากาศยานทหาร(กองบิน 6) ในเวลา 17.40 น.
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--