แท็ก
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
อิมแพ็ค เมืองทองธานี
สุรยุทธ์ จุลานนท์
จังหวัดนนทบุรี
นายกรัฐมนตรี
คุณธรรม
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 6 และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ประเด็นอุบัติใหม่ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 6 และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ประเด็นอุบัติใหม่ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้น เพื่อวิเคราะห์ประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบสูงต่อคนไทยในระยะ 10 ปีข้างหน้า หรือที่เรียกว่า “ประเด็นอุบัติใหม่” ตลอดจนร่วมกันหารือถึงแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงานว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกับมูลนิธิบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) จัดประชุมกลุ่มย่อย 3 ครั้ง เพื่อระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็นอุบัติใหม่ ซึ่งทำให้สามารถระบุประเด็นอุบัติใหม่ที่มีความสำคัญ อาทิ วิกฤติพลังงาน การกีดกันทางการค้า วิถีชีวิตแบบใหม่ พฤติกรรมการบริโภคแบบใหม่ การแย่งชิงทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการกับประเด็นอุบัติใหม่เหล่านี้ เพื่อให้สามารถขยายผลทางบวกและป้องกันหรือลดผลกระทบทางลบได้ทันท่วงที
การประชุมในวันนี้ ประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง “สังคมไทยในอนาคต:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญอย่างไร” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต โดย Dr. Mohamed ElBaradei Director General, International Atomic Energy Agency และการเสวนาเกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแต่ละสาขาเพื่อบริหารจัดการกับประเด็นอุบัติใหม่ใน 5 ด้าน ได้แก่ วิถีชีวิตอุบัติใหม่ พลวัตของโลกธุรกิจและการค้า พลังงานทางเลือก สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขแนวใหม่
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 6 และมาร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ประเด็นอุบัติใหม่ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในวันนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์หรือการไหลเวียนข้ามประเทศของข่าวสารความรู้ ทุน บุคลากร สินค้าและบริการ ที่เป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั้งทางบวกและลบอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ การลงทุนจากต่างประเทศ การเป็นแหล่งความรู้และวิทยาการใหม่ที่สามารถนำมาต่อยอดให้เหมาะสมและดีขึ้นกับบริบทของประเทศไทย รวมไปถึงการผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศไทยได้มากขึ้น เป็นต้น ส่วนผลกระทบด้านลบ ได้แก่ การเติบโตของอาชญากรรมต่างๆ และอาชญากรรมข้ามชาติ วิกฤตการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การระบาดของโรคอุบัติใหม่ และการกีดกันทางการค้า เป็นต้น ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีประเด็นใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “ประเด็นอุบัติใหม่” ซึ่งในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง การแพร่ระบาดของเว็บไซต์ลามกอนาจาร การที่ประชาชนหรือชุมชนถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีจนเกินพอดีและไม่เกิดความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เป็นต้น ดังนั้น จึงถึงเวลาที่เราต้องตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคเทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลของประเทศมากขึ้น
ในภาคธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดก็คือ กลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจได้กำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นมาตรการซึ่งอาจจะดูว่าใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือว่าเป็นการกีดกันทางการค้าเพิ่มเติมจากมาตรการทางภาษี ทำให้ผู้ส่งออกจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยไม่ได้มีการรับมือกับประเด็นเหล่านี้ ก็จะต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น
ส่วนในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมได้มีส่วนเพิ่มโอกาสการเกิดของโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก โรค SARS และโรคอุบัติซ้ำ เช่น มาลาเรีย วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ด้านพลังงานได้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังคนและการแก่งแย่งแข่งขันในด้านพลังงาน ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างจิตสำนึกในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมและหาทางออกด้านพลังงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่าย เพื่อร่วมกันรักษาทรัพยากรของประเทศให้ดำรงอยู่ต่อไปจนถึงคนรุ่นหลัง
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม บนพื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้สังคมไทยมีความระมัดระวัง ประชาชนมีสติและปัญญา มีความพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการแก้ไขปัญหาและปรับตัว โดยมุ่งยกระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและวิถีการดำรงชีวิตของประชาชน โดยคำนึงถึงการเตรียมพร้อมรองรับประเด็นอุบัติใหม่ ด้วยการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากพร้อมๆ กับระบบตลาดและเศรษฐกิจมหภาค ผนึกกำลังของทุกภาคส่วนให้ได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน และเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก สนับสนุน พัฒนา สร้างความเป็นธรรม และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลได้สนับสนุนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายการจัดส่งสินค้าและบริการ ให้มีการประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนค่าขนส่ง และลดปัญหามลพิษ รวมทั้งมุ่งเน้นส่งเสริมการสร้างฐานปัญญาขึ้นในสังคม ภายใต้ “แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา” ซึ่งจะเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของเสาหลักที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วัฒนธรรมและจริยธรรมในสังคม และกฎหมายและแรงจูงใจ โดยจะมีการพัฒนาสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้าง การแพร่ กระจาย และการใช้ความรู้ให้มีความเข้มแข็งควบคู่กันไป
สำหรับในด้านสังคมนั้น รัฐบาลได้มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่เข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรม ด้วยการเร่งรัดปฏิรูปการศึกษา ขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวาง ทั่วถึง และคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ส่งเสริมการปฏิรูประบบสุขภาพและระบบบริการสาธารณสุข โดยจะมุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การขยายบริการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสามารถและความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ อันจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมในการเตรียมการด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทย คือ การพัฒนาไบโอดีเซลจากปาล์ม โดยทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน จึงทรงทดลองใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจนสามารถใช้กับรถยนต์ดีเซลของโครงการส่วนพระองค์ได้โดยไม่ประสบกับปัญหาแต่ประการใด และในขณะนี้ก็ได้มีการเปิดจำหน่ายดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ให้กับประชาชนโดยทั่วไปแล้ว
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่มีบทบาทในการส่งเสริมให้ประเทศมีนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตัวเอง การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์และประเด็นอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นการเตรียมความพร้อมต่างๆ จึงมีความจำเป็น ซึ่งจะต้องมีทั้งการปรับตัวและปรับระบบต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะเกิดขึ้นจากประเด็นอุบัติใหม่ ๆ ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 10.00 น. ณ ห้องแกรนด์ไดมอนด์ บอลรูม ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 6 และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ประเด็นอุบัติใหม่ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดขึ้น เพื่อวิเคราะห์ประเด็นสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นและมีผลกระทบสูงต่อคนไทยในระยะ 10 ปีข้างหน้า หรือที่เรียกว่า “ประเด็นอุบัติใหม่” ตลอดจนร่วมกันหารือถึงแนวทางการเตรียมพร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์
นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงานว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ร่วมกับมูลนิธิบัณฑิตสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) จัดประชุมกลุ่มย่อย 3 ครั้ง เพื่อระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับประเด็นอุบัติใหม่ ซึ่งทำให้สามารถระบุประเด็นอุบัติใหม่ที่มีความสำคัญ อาทิ วิกฤติพลังงาน การกีดกันทางการค้า วิถีชีวิตแบบใหม่ พฤติกรรมการบริโภคแบบใหม่ การแย่งชิงทรัพยากร และการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการกับประเด็นอุบัติใหม่เหล่านี้ เพื่อให้สามารถขยายผลทางบวกและป้องกันหรือลดผลกระทบทางลบได้ทันท่วงที
การประชุมในวันนี้ ประกอบด้วยการบรรยายเรื่อง “สังคมไทยในอนาคต:วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำคัญอย่างไร” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบรรยายเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ในอนาคต โดย Dr. Mohamed ElBaradei Director General, International Atomic Energy Agency และการเสวนาเกี่ยวกับการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในแต่ละสาขาเพื่อบริหารจัดการกับประเด็นอุบัติใหม่ใน 5 ด้าน ได้แก่ วิถีชีวิตอุบัติใหม่ พลวัตของโลกธุรกิจและการค้า พลังงานทางเลือก สิ่งแวดล้อม สาธารณสุขแนวใหม่
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเป็นประธานเปิดการประชุมสมัชชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนา ครั้งที่ 6 และมาร่วมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ประเด็นอุบัติใหม่ที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” ในวันนี้ ทั้งนี้ เนื่องจากสังคมโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกระแสโลกาภิวัตน์หรือการไหลเวียนข้ามประเทศของข่าวสารความรู้ ทุน บุคลากร สินค้าและบริการ ที่เป็นไปอย่างเสรีมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศต่างๆ ทั้งทางบวกและลบอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
ประเทศไทยได้ประโยชน์จากการขยายตัวของภาคการผลิตและบริการ การลงทุนจากต่างประเทศ การเป็นแหล่งความรู้และวิทยาการใหม่ที่สามารถนำมาต่อยอดให้เหมาะสมและดีขึ้นกับบริบทของประเทศไทย รวมไปถึงการผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการของประเทศไทยได้มากขึ้น เป็นต้น ส่วนผลกระทบด้านลบ ได้แก่ การเติบโตของอาชญากรรมต่างๆ และอาชญากรรมข้ามชาติ วิกฤตการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม การระบาดของโรคอุบัติใหม่ และการกีดกันทางการค้า เป็นต้น ในปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีประเด็นใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือที่เรียกว่า “ประเด็นอุบัติใหม่” ซึ่งในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือในการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไม่ถูกต้อง การแพร่ระบาดของเว็บไซต์ลามกอนาจาร การที่ประชาชนหรือชุมชนถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีจนเกินพอดีและไม่เกิดความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย เป็นต้น ดังนั้น จึงถึงเวลาที่เราต้องตระหนักถึงความสำคัญของการบริโภคเทคโนโลยีในเชิงสร้างสรรค์ และก่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุลของประเทศมากขึ้น
ในภาคธุรกิจ มีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดก็คือ กลุ่มประเทศผู้นำทางเศรษฐกิจได้กำหนดกฎเกณฑ์มาตรฐานในด้านต่างๆ เป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นมาตรการซึ่งอาจจะดูว่าใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือว่าเป็นการกีดกันทางการค้าเพิ่มเติมจากมาตรการทางภาษี ทำให้ผู้ส่งออกจำเป็นต้องปฏิบัติตาม ซึ่งหากผู้ประกอบการไทยไม่ได้มีการรับมือกับประเด็นเหล่านี้ ก็จะต้องสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น
ส่วนในด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมได้มีส่วนเพิ่มโอกาสการเกิดของโรคอุบัติใหม่ เช่น โรคไข้หวัดนก โรค SARS และโรคอุบัติซ้ำ เช่น มาลาเรีย วัณโรค ไข้หวัดใหญ่ ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ขณะที่ด้านพลังงานได้เกิดปัญหาการขาดแคลนพลังคนและการแก่งแย่งแข่งขันในด้านพลังงาน ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งสร้างจิตสำนึกในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสมและหาทางออกด้านพลังงานอย่างเป็นระบบ ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกๆ ฝ่าย เพื่อร่วมกันรักษาทรัพยากรของประเทศให้ดำรงอยู่ต่อไปจนถึงคนรุ่นหลัง
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคส่วนต่างๆ ในสังคม บนพื้นฐานของหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้สังคมไทยมีความระมัดระวัง ประชาชนมีสติและปัญญา มีความพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการแก้ไขปัญหาและปรับตัว โดยมุ่งยกระดับความมั่นคงทางเศรษฐกิจและวิถีการดำรงชีวิตของประชาชน โดยคำนึงถึงการเตรียมพร้อมรองรับประเด็นอุบัติใหม่ ด้วยการใช้หลักคุณธรรมกำกับการพัฒนา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากพร้อมๆ กับระบบตลาดและเศรษฐกิจมหภาค ผนึกกำลังของทุกภาคส่วนให้ได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน และเตรียมความพร้อมประเทศไทยในการเข้าสู่เศรษฐกิจฐานความรู้ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับประเทศต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวก สนับสนุน พัฒนา สร้างความเป็นธรรม และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันมากยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ รัฐบาลได้สนับสนุนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ที่เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายการจัดส่งสินค้าและบริการ ให้มีการประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนค่าขนส่ง และลดปัญหามลพิษ รวมทั้งมุ่งเน้นส่งเสริมการสร้างฐานปัญญาขึ้นในสังคม ภายใต้ “แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา” ซึ่งจะเร่งเสริมสร้างความเข้มแข็งของเสาหลักที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญาทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ทรัพยากรมนุษย์ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วัฒนธรรมและจริยธรรมในสังคม และกฎหมายและแรงจูงใจ โดยจะมีการพัฒนาสถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้าง การแพร่ กระจาย และการใช้ความรู้ให้มีความเข้มแข็งควบคู่กันไป
สำหรับในด้านสังคมนั้น รัฐบาลได้มุ่งมั่นที่จะสร้างสังคมที่เข้มแข็งที่คนในชาติอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันอย่างสมานฉันท์ บนพื้นฐานของคุณธรรม ด้วยการเร่งรัดปฏิรูปการศึกษา ขยายโอกาสทางการศึกษาของประชาชนให้กว้างขวาง ทั่วถึง และคำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ส่งเสริมการปฏิรูประบบสุขภาพและระบบบริการสาธารณสุข โดยจะมุ่งเน้นการเสริมสร้างสุขภาพ การป้องกันโรค การขยายบริการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเป็นธรรม
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสร้างความสามารถและความเข้มแข็งตั้งแต่ระดับชุมชนจนถึงระดับประเทศ อันจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้มีการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรมในการเตรียมการด้านพลังงานให้แก่ประเทศไทย คือ การพัฒนาไบโอดีเซลจากปาล์ม โดยทรงเล็งเห็นว่าประเทศไทยอาจประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน จึงทรงทดลองใช้น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ผสมกับน้ำมันดีเซล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลจนสามารถใช้กับรถยนต์ดีเซลของโครงการส่วนพระองค์ได้โดยไม่ประสบกับปัญหาแต่ประการใด และในขณะนี้ก็ได้มีการเปิดจำหน่ายดีเซลปาล์มบริสุทธิ์ให้กับประชาชนโดยทั่วไปแล้ว
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่มีบทบาทในการส่งเสริมให้ประเทศมีนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อที่จะนำไปสู่การพึ่งพาตัวเอง การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์และประเด็นอุบัติใหม่ที่จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไป ดังนั้นการเตรียมความพร้อมต่างๆ จึงมีความจำเป็น ซึ่งจะต้องมีทั้งการปรับตัวและปรับระบบต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน เพื่อตอบสนองความต้องการที่จะเกิดขึ้นจากประเด็นอุบัติใหม่ ๆ ต่อไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--