นายกรัฐมนตรีระบุสถานการณ์ค่าเงินบาทขณะนี้อยู่ในลักษณะที่สามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้เพื่อไม่ให้ผันแปรมากเกินไป และต้องดูแลภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีให้มากขึ้น
วันนี้ เวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพร้อมด้วยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เดินทางเข้าพบเพื่อหารือถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทกับพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงาน ตึกไทยคู่ฟ้า เป็นเวลาประมาณ 30 นาที
จากนั้นพลเอก สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการพบกันตามปกติทุกเช้าวันศุกร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยจะมารายงานเรื่องสถานการณ์ค่าเงินบาท โดยวันนี้นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ติดราชการไปต่างประเทศ จึงไม่ได้เข้าร่วมหารือด้วย ซึ่งจากการหารือถือว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทอยู่ในลักษณะที่เราสามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการพูดกันถึงมาตรการในระยะปานกลาง และระยะยาวที่จะต้องมีการรวมศูนย์ โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีให้มากขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อรวบรวมและจัดกลุ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป สำหรับมาตรการในการรับมือเรื่องค่าเงินนั้นขณะนี้ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติม คงจะต้องรอการประเมินจากส่วนต่าง ๆ ในเรื่องของกองทุนเอสเอ็มอีที่ได้จัดไว้ประมาณ 5,000 ล้านบาทนั้น ก็มีความคืบหน้า มีผู้ขอเข้ามาใช้บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องเฉพาะรายย่อยจริง ๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการประเมินว่าค่าเงินของไทยจะแข็งค่าไปถึงระดับที่ดอลลาร์ละ 32 บาท นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็เป็นการประเมินของผู้ที่อยู่ภายนอก แต่ในส่วนของรัฐบาลขณะนี้เห็นชัดว่าเราสามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้ ซึ่งเราตั้งใจที่จะรักษาเสถียรภาพค่าเงินไม่ให้เคลื่อนไหวในลักษณะผันแปรมากเกินไป แต่คงจะไปกำหนดให้ชัดเจนว่าค่าเงินบาทควรจะอยู่ที่ระดับใดอย่างแน่นอนคงไม่ได้ เพราะสิ่งที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้คือการเงินของโลกยังมีความผันผวนอยู่ เราคงไม่สามารถที่จะไปบอกได้ว่าค่าเงินบาทของเราจะอยู่ที่จุดไหน
สิ่งที่จะต้องทำขณะนี้คือต้องพยายามไม่ให้เกิดความผันแปรในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ อย่างมาก
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของการประชุมผู้ว่าการธนาคารโลกนั้น ทางกระทรวงการคลังก็มีหลักการคือจะต้องมีการหารือในเรื่องของสถาบันการเงินของเอเชีย ซึ่งกลุ่มประเทศในเอเชียน่าจะได้มีการพูดจากัน เพราะปัจจุบันเรายังไม่มีในส่วนดังกล่าว จะมีก็เพียงเอดีบี แต่ยังไม่มีสถาบันที่จะรวมศักยภาพทางการเงินของกลุ่มประเทศในเอเชียที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกต่อไป เพราะทุกฝ่ายก็ทราบดีว่าจีนจะเป็น
ตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งหารือในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ว่าการ ธปท. ได้รายงานถึงผลสะท้อนกลับหลังจากที่รัฐบาลได้ออก 6 มาตรการรับมือค่าเงินอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างที่พูดไว้คือขณะนี้เราสามารถรักษาเสถียรภาพของเราไว้ได้ ไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงจนมากเกินไป ซึ่งทางผู้ว่าการ ธปท. รายงานว่าในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า เราน่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพตรงนี้ไว้ได้ ส่วนกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เดินทางไปประเทศอังกฤษในช่วงนี้นั้นได้มีการติดต่อไว้นานแล้ว ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เมื่อเราจำเป็นจะต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้กับทางกลุ่มสหภาพยุโรปได้รับทราบ ก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น และรองนายกรัฐมนตรี คงจะเดินทางไปประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 2-3 ประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวคิดที่จะนำเอาทุนสำรองระหว่างประเทศไปตั้งกองทุนเพื่อทำธุรกิจในต่างประเทศ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่มีแนวคิดดังกล่าว โดยเฉพาะการจะไปตั้งกองทุนโดยเอาเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพร้อมด้วยนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เดินทางเข้าพบเพื่อหารือถึงสถานการณ์ค่าเงินบาทกับพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ห้องทำงาน ตึกไทยคู่ฟ้า เป็นเวลาประมาณ 30 นาที
จากนั้นพลเอก สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เป็นการพบกันตามปกติทุกเช้าวันศุกร์ ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยจะมารายงานเรื่องสถานการณ์ค่าเงินบาท โดยวันนี้นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ติดราชการไปต่างประเทศ จึงไม่ได้เข้าร่วมหารือด้วย ซึ่งจากการหารือถือว่าสถานการณ์ค่าเงินบาทอยู่ในลักษณะที่เราสามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้ นอกจากนี้ ยังได้มีการพูดกันถึงมาตรการในระยะปานกลาง และระยะยาวที่จะต้องมีการรวมศูนย์ โดยเฉพาะในเรื่องการดูแลภาคอุตสาหกรรมเอสเอ็มอีให้มากขึ้น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นผู้ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
เพื่อรวบรวมและจัดกลุ่มดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะต่อไป สำหรับมาตรการในการรับมือเรื่องค่าเงินนั้นขณะนี้ยังไม่มีอะไรเพิ่มเติม คงจะต้องรอการประเมินจากส่วนต่าง ๆ ในเรื่องของกองทุนเอสเอ็มอีที่ได้จัดไว้ประมาณ 5,000 ล้านบาทนั้น ก็มีความคืบหน้า มีผู้ขอเข้ามาใช้บ้าง แต่ก็เป็นเรื่องเฉพาะรายย่อยจริง ๆ
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการประเมินว่าค่าเงินของไทยจะแข็งค่าไปถึงระดับที่ดอลลาร์ละ 32 บาท นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็เป็นการประเมินของผู้ที่อยู่ภายนอก แต่ในส่วนของรัฐบาลขณะนี้เห็นชัดว่าเราสามารถรักษาเสถียรภาพไว้ได้ ซึ่งเราตั้งใจที่จะรักษาเสถียรภาพค่าเงินไม่ให้เคลื่อนไหวในลักษณะผันแปรมากเกินไป แต่คงจะไปกำหนดให้ชัดเจนว่าค่าเงินบาทควรจะอยู่ที่ระดับใดอย่างแน่นอนคงไม่ได้ เพราะสิ่งที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้คือการเงินของโลกยังมีความผันผวนอยู่ เราคงไม่สามารถที่จะไปบอกได้ว่าค่าเงินบาทของเราจะอยู่ที่จุดไหน
สิ่งที่จะต้องทำขณะนี้คือต้องพยายามไม่ให้เกิดความผันแปรในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ อย่างมาก
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนของการประชุมผู้ว่าการธนาคารโลกนั้น ทางกระทรวงการคลังก็มีหลักการคือจะต้องมีการหารือในเรื่องของสถาบันการเงินของเอเชีย ซึ่งกลุ่มประเทศในเอเชียน่าจะได้มีการพูดจากัน เพราะปัจจุบันเรายังไม่มีในส่วนดังกล่าว จะมีก็เพียงเอดีบี แต่ยังไม่มีสถาบันที่จะรวมศักยภาพทางการเงินของกลุ่มประเทศในเอเชียที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลกต่อไป เพราะทุกฝ่ายก็ทราบดีว่าจีนจะเป็น
ตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งหารือในส่วนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ว่าการ ธปท. ได้รายงานถึงผลสะท้อนกลับหลังจากที่รัฐบาลได้ออก 6 มาตรการรับมือค่าเงินอย่างไรบ้าง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างที่พูดไว้คือขณะนี้เราสามารถรักษาเสถียรภาพของเราไว้ได้ ไม่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงจนมากเกินไป ซึ่งทางผู้ว่าการ ธปท. รายงานว่าในสัปดาห์นี้และสัปดาห์หน้า เราน่าจะสามารถรักษาเสถียรภาพตรงนี้ไว้ได้ ส่วนกรณีที่รองนายกรัฐมนตรี (นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์) เดินทางไปประเทศอังกฤษในช่วงนี้นั้นได้มีการติดต่อไว้นานแล้ว ไม่มีอะไรเป็นพิเศษ เมื่อเราจำเป็นจะต้องชี้แจงทำความเข้าใจให้กับทางกลุ่มสหภาพยุโรปได้รับทราบ ก็จะเป็นการสร้างความมั่นใจให้มากขึ้น และรองนายกรัฐมนตรี คงจะเดินทางไปประเทศอื่น ๆ อีกประมาณ 2-3 ประเทศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า แนวคิดที่จะนำเอาทุนสำรองระหว่างประเทศไปตั้งกองทุนเพื่อทำธุรกิจในต่างประเทศ มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ยังไม่มีแนวคิดดังกล่าว โดยเฉพาะการจะไปตั้งกองทุนโดยเอาเงินจากทุนสำรองระหว่างประเทศไปใช้
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--