แท็ก
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
สนธิ บุญยรัตกลิน
พระมหากษัตริย์
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
วันนี้ เวลา 13.30 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ภายหลังจากที่ พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) เข้าพบว่า ได้มีการหารือเกี่ยวกับการพิจารณาการยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 15 และฉบับที่ 27 โดยในรายละเอียดประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จะขอดูในรายละเอียด โดยจะขอปรึกษากับทางฝ่ายกฎหมายของ คมช. เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งถ้าเป็นไปได้ภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ภายในเวลา 1 — 2 สัปดาห์คงจะได้มีเรื่องที่จะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐบาลได้พูดถึงว่าน่าจะได้มีการผ่อนคลาย ถ้าหากว่าไม่มีความจำเป็นอะไรแล้ว ควรจะมีการประกาศยกเลิกได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หมายความว่าสถานการณ์ทั่วไปทางการเมืองเวลานี้ไม่มีแรงกระเพื่อมอะไรแล้วใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเรื่องของทางพรรคการเมือง ส่วนในเรื่องอื่น ๆ คงมีในเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ ก็เป็นเรื่องที่อยากให้พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ได้ใช้วิจารณญาณ และพิจารณาว่าในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ข้างหน้านี้ ควรจะร่วมมือร่วมใจกันทำให้การปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปตามครรลอง ไม่ว่าจะเป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ การจะทำประชามติแล้วไปสู่การเลือกตั้ง ที่คงจะเป็นภาพที่เห็นได้ชัดมากขึ้นหลังจากที่ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองต่าง ๆ ไปแล้ว
ต่อข้อถามว่า มีการประเมินว่าจะมีการเลื่อนการเลือกตั้งขึ้นมาได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ายังไม่ได้มีการหารือในเรื่องนี้ อย่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้งท่านหนึ่งได้ให้ข่าวไปคือยังไม่ได้หารือ เพียงแต่ได้นำคำพูดของนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น คงจะต้องหารือกันกับทุก ๆ ฝ่ายให้รอบคอบ ทั้งเรื่องกำหนดการแล้วเสร็จของรัฐธรรมนูญ เรื่องการทำประชามติ กฎหมายลูกต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการ จะสามารถทำได้ทันหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการประเมินหรือไม่ว่าการยุบพรรคการเมืองที่มีสมาชิกพรรค 14 ล้านคน จะส่งผลต่อการพิจารณาประชามติหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการประเมิน เพราะว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่คิดว่าคนไทยจะต้องดูว่าเหตุที่มานั้นเนื่องจากอะไร ถ้าอ่านคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว หรือผู้ที่รับฟังแล้วนำไปวิเคราะห์ก็จะเห็นว่าเหตุที่มาของการยุบพรรคมาจากอะไร คงไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่ดี ๆ แล้วบอกว่าจะให้มีการยุบพรรค คงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ต่อข้อถามว่า กังวลกับกลุ่มการเมืองไทยรักไทยที่อาจจะรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเป็นเรื่องที่สามารถจะทำได้ถ้าหากว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ไปทำให้เกิดปัญหาเหมือนเมื่อคืนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากกลุ่มพีทีวีแล้วยังมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่น ๆ ที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อกดดัน หรือว่าทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าในขณะนี้ยังไม่มี ยกตัวอย่างกรณีเมื่อคืนนี้ คิดว่าที่พูดกันว่าในวันที่ 2 มิถุนายนนี้ อยากจะเรียนว่าไม่ควรที่จะทำให้เกิดปัญหาอะไรขึ้นมา
ต่อข้อถามว่า เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการพยายามที่จะให้รัฐบาลออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าคงไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหา เรื่องสำคัญคือทำอย่างไรที่จะให้บ้านเมืองเราสงบ และเดินหน้าไปสู่ครรลองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันเป็นเรื่องที่น่าจะมองต่อไปในอนาคตมากกว่า
“ในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างที่ได้เรียนแล้วว่า ถ้าเผื่อเราสามารถที่จะดูแลให้เกิดความสงบได้ ไม่เกิดความวุ่นวาย ก็จะเป็นประโยชน์ อยากจะเรียนว่าสิ่งที่คนไทยอยากได้คือความสงบเรียบร้อย และความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เราคงไม่อยากให้บ้านเมืองของเราเกิดความวุ่นวายอย่างนี้ไปจนกระทั่งไม่สามารถที่จะไปทำอะไรให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นมาได้เลย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ออกมาสร้างกระแสอีกครั้งหนึ่ง เรียกร้องให้กลุ่มไทยรักไทยสู้ต่อไป จะทำให้การเมืองพลิกผันต่อไปอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงดูอยู่ที่ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ถ้าเป็นการต่อสู้ทางการเมือง ก็ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไรที่น่าจะมีปัญหา แต่ไม่ควรที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในชาติบ้านเมืองของเรา
ต่อข้อถามว่า ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเคยเป็นองคมนตรีในอดีต กรณีที่สมาชิกพรรคไทยรักไทยหรือผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย ต้องการที่จะยื่นฎีกาถวายในหลวง เพื่อจะขอพระราชทานอภัยโทษเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 5 ปี ตรงนี้จะทำได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในฐานะองคมนตรีเราไม่ได้เป็นผู้รับฎีกา เราเป็นผู้พิจารณา ผู้ที่จะรับหรือไม่รับคือในส่วนของราชเลขาธิการ อยู่ที่ราชเลขาธิการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือว่าเป็นเรื่องบังควรหรือไม่ ถ้าจะเอาเรื่องการเมืองไปถวายฎีกาพระองค์ท่าน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อย่างที่ได้เรียนแล้วว่าในการดำเนินการ ถ้าหากว่าเราไม่รับฟัง ไม่ยอมรับคำนิจฉัยของศาลก็จะเป็นปัญหากันต่อไปไม่มีวันจบสิ้น
“ ถ้าหากว่ายอมรับคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญทุกท่านเป็นผู้ที่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ผ่านการคัดเลือกมาในด้านของในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา ในทุก ๆ ส่วนมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นคนซึ่งได้รับการแต่งตั้งมาโดยที่ไม่มีพื้นฐาน ทุก ๆ ท่านเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ มีผู้เคารพนับถือ และการคัดสรรอย่างที่กล่าวได้ว่า ท่านประธานตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นประธานศาลฎีกาด้วย ท่านรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญก็เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดด้วย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนในฐานะที่เป็นคนไทย ควรที่จะยอมฟังคำวินิจฉัย และยอมรับในคำวินิจฉัยนั้น” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามว่า หมายความว่าสถานการณ์ทั่วไปทางการเมืองเวลานี้ไม่มีแรงกระเพื่อมอะไรแล้วใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในเรื่องของทางพรรคการเมือง ส่วนในเรื่องอื่น ๆ คงมีในเรื่องของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนนี้ ก็เป็นเรื่องที่อยากให้พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่ได้ใช้วิจารณญาณ และพิจารณาว่าในช่วงระยะเวลาที่มีอยู่ข้างหน้านี้ ควรจะร่วมมือร่วมใจกันทำให้การปฏิรูปการเมืองให้เป็นไปตามครรลอง ไม่ว่าจะเป็นการยกร่างรัฐธรรมนูญ การจะทำประชามติแล้วไปสู่การเลือกตั้ง ที่คงจะเป็นภาพที่เห็นได้ชัดมากขึ้นหลังจากที่ตุลาการรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองต่าง ๆ ไปแล้ว
ต่อข้อถามว่า มีการประเมินว่าจะมีการเลื่อนการเลือกตั้งขึ้นมาได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่ายังไม่ได้มีการหารือในเรื่องนี้ อย่างที่คณะกรรมการการเลือกตั้งท่านหนึ่งได้ให้ข่าวไปคือยังไม่ได้หารือ เพียงแต่ได้นำคำพูดของนายกรัฐมนตรีซึ่งเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น คงจะต้องหารือกันกับทุก ๆ ฝ่ายให้รอบคอบ ทั้งเรื่องกำหนดการแล้วเสร็จของรัฐธรรมนูญ เรื่องการทำประชามติ กฎหมายลูกต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นจะต้องดำเนินการ จะสามารถทำได้ทันหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการประเมินหรือไม่ว่าการยุบพรรคการเมืองที่มีสมาชิกพรรค 14 ล้านคน จะส่งผลต่อการพิจารณาประชามติหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้มีการประเมิน เพราะว่าเรื่องนั้นเป็นเรื่องหนึ่งที่คิดว่าคนไทยจะต้องดูว่าเหตุที่มานั้นเนื่องจากอะไร ถ้าอ่านคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญแล้ว หรือผู้ที่รับฟังแล้วนำไปวิเคราะห์ก็จะเห็นว่าเหตุที่มาของการยุบพรรคมาจากอะไร คงไม่ได้เป็นเรื่องที่อยู่ดี ๆ แล้วบอกว่าจะให้มีการยุบพรรค คงไม่ได้เป็นอย่างนั้น
ต่อข้อถามว่า กังวลกับกลุ่มการเมืองไทยรักไทยที่อาจจะรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเป็นเรื่องที่สามารถจะทำได้ถ้าหากว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ไปทำให้เกิดปัญหาเหมือนเมื่อคืนนี้
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากกลุ่มพีทีวีแล้วยังมีความเคลื่อนไหวของกลุ่มอื่น ๆ ที่จะออกมาเคลื่อนไหวเพื่อกดดัน หรือว่าทำให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าในขณะนี้ยังไม่มี ยกตัวอย่างกรณีเมื่อคืนนี้ คิดว่าที่พูดกันว่าในวันที่ 2 มิถุนายนนี้ อยากจะเรียนว่าไม่ควรที่จะทำให้เกิดปัญหาอะไรขึ้นมา
ต่อข้อถามว่า เป็นเงื่อนไขที่เกี่ยวกับการพยายามที่จะให้รัฐบาลออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าคงไม่ใช่เรื่องที่เป็นปัญหา เรื่องสำคัญคือทำอย่างไรที่จะให้บ้านเมืองเราสงบ และเดินหน้าไปสู่ครรลองของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันเป็นเรื่องที่น่าจะมองต่อไปในอนาคตมากกว่า
“ในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นที่จะต้องออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน อย่างที่ได้เรียนแล้วว่า ถ้าเผื่อเราสามารถที่จะดูแลให้เกิดความสงบได้ ไม่เกิดความวุ่นวาย ก็จะเป็นประโยชน์ อยากจะเรียนว่าสิ่งที่คนไทยอยากได้คือความสงบเรียบร้อย และความเจริญก้าวหน้าของบ้านเมือง เราคงไม่อยากให้บ้านเมืองของเราเกิดความวุ่นวายอย่างนี้ไปจนกระทั่งไม่สามารถที่จะไปทำอะไรให้เกิดความก้าวหน้าขึ้นมาได้เลย” นายกรัฐมนตรีกล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ออกมาสร้างกระแสอีกครั้งหนึ่ง เรียกร้องให้กลุ่มไทยรักไทยสู้ต่อไป จะทำให้การเมืองพลิกผันต่อไปอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า คงดูอยู่ที่ความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ถ้าเป็นการต่อสู้ทางการเมือง ก็ไม่ได้คิดว่าจะมีอะไรที่น่าจะมีปัญหา แต่ไม่ควรที่จะทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในชาติบ้านเมืองของเรา
ต่อข้อถามว่า ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเคยเป็นองคมนตรีในอดีต กรณีที่สมาชิกพรรคไทยรักไทยหรือผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทย ต้องการที่จะยื่นฎีกาถวายในหลวง เพื่อจะขอพระราชทานอภัยโทษเรื่องการตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 5 ปี ตรงนี้จะทำได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ในฐานะองคมนตรีเราไม่ได้เป็นผู้รับฎีกา เราเป็นผู้พิจารณา ผู้ที่จะรับหรือไม่รับคือในส่วนของราชเลขาธิการ อยู่ที่ราชเลขาธิการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ถือว่าเป็นเรื่องบังควรหรือไม่ ถ้าจะเอาเรื่องการเมืองไปถวายฎีกาพระองค์ท่าน นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า อย่างที่ได้เรียนแล้วว่าในการดำเนินการ ถ้าหากว่าเราไม่รับฟัง ไม่ยอมรับคำนิจฉัยของศาลก็จะเป็นปัญหากันต่อไปไม่มีวันจบสิ้น
“ ถ้าหากว่ายอมรับคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งตุลาการรัฐธรรมนูญทุกท่านเป็นผู้ที่ได้ผ่านการกลั่นกรอง ผ่านการคัดเลือกมาในด้านของในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษา ในทุก ๆ ส่วนมาแล้วทั้งสิ้น ไม่ได้เป็นคนซึ่งได้รับการแต่งตั้งมาโดยที่ไม่มีพื้นฐาน ทุก ๆ ท่านเป็นผู้ที่เชื่อถือได้ มีผู้เคารพนับถือ และการคัดสรรอย่างที่กล่าวได้ว่า ท่านประธานตุลาการรัฐธรรมนูญทำหน้าที่เป็นประธานศาลฎีกาด้วย ท่านรองประธานตุลาการรัฐธรรมนูญก็เป็นประธานศาลปกครองสูงสุดด้วย ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่พวกเราทุกคนในฐานะที่เป็นคนไทย ควรที่จะยอมฟังคำวินิจฉัย และยอมรับในคำวินิจฉัยนั้น” นายกรัฐมนตรีกล่าว
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--