วันนี้ เวลา 19.30 น. พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “เทศกาลเย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์ ปี 2550” ณ บริเวณเวทีกลางท้องสนามหลวง จัดโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 8-15 เมษายน 2550 ตั้งแต่เวลา 11.00-23.00 น. ซึ่งมีคณะทูตานุทูตจากประเทศต่าง ๆ กว่า 30 ประเทศ นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ประชาชน เข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก โดยนายกรัฐมนตรีได้เยี่ยมชมนิทรรศการการจำลองสงกรานต์ 4 ภาค พร้อมแลกเงินเป็นเงินพดด้วงจำนวน 500 บาท เพื่อซื้อขนมไทย อาทิ ขนมกง ยำไข่มดแดง ข้าวจี่ และแหนมเนือง และเดินเที่ยวชมงานเทศกาลทุกภาค รวมทั้งสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญทั้ง 4 ภาคด้วย
นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในนามของคณะกรรมการจัดงานเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” กล่าวรายงานสรุปว่า งานเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทยให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมงานประเพณีสงกรานต์ให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ ซึ่งในปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดงานในกรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมที่สำคัญเชิงประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันสืบต่อมา อาทิ การอัญเชิญขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำ การทำบุญตักบาตร และยังมีการแสดงประกอบแสง เสียง เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ รวมถึงการจำลองประเพณีสงกรานต์ของแต่ละภาค ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังจัดการแสดงมหรสพต่าง ๆ เพื่อร่วมฉลองในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ของไทย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังได้สนับสนุนการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในพื้นที่ต่าง ๆ อีก 11 จังหวัดด้วยกัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น หนองคาย นครพนม พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช สงขลาและภูเก็ต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานสรุปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็คือประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเราได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน เป็นหนึ่งในประเพณีอันดีงามของไทยที่เปรียบเสมือนเป็นสายใยแห่งความผูกพันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน เป็นสิ่งซึ่งสมควรที่พี่น้องคนไทยจะได้ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานไว้ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และมองเห็นคุณค่า หรือความหมาย เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเราต่อไป
ประเพณีสงกรานต์นอกจากจะเป็นการขึ้นปีใหม่ของไทยในอดีตแล้ว ยังเป็นโอกาสที่เราจะได้ประกอบกิจกรรมอันเป็นมงคล เช่น การทำบุญ การสรงน้ำพระ การรดน้ำผู้ใหญ่ และการเล่นกีฬาพื้นบ้านต่างๆ เป็นต้น และเป็นโอกาสสำคัญที่บุคคลในครอบครัวเดียวกันจะได้กลับมาพบปะสังสรรค์ เห็นหน้ากัน และร่วมกันทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ความรักความผูกพันให้แน่นแฟ้นทั้งในระดับครอบครัว ระดับสังคมหรือชุมชนด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าอยากเห็นคนไทยร่วมกันสืบสานจรรโลงประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งประเพณีอื่นๆ ด้วยความงดงามและเกิดคุณค่า ร่วมกันใช้โอกาสอันดีนี้ในการสรรค์สร้างให้เกิดความเอื้ออาทร ความห่วงใยและความปรารถนาดีที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข ตลอดจนปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ไม่บิดเบือนให้เกิดความก้าวร้าวรุนแรง หรือแตกแยกและเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อวัฒนธรรมประเพณีอันมีคุณค่าของไทย ทั้งนี้ วัฒนธรรมและประเพณีของคนเรานั้นจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา เราในฐานะคนรุ่นหลังต้องศึกษาให้เข้าใจถึงคุณค่า ความหมาย และวิธีปฏิบัติของประเพณีนั้นๆ เพื่อจะได้ทำให้ถูกต้อง สามารถปรับปรุงและพัฒนาให้มีความประณีตงดงาม เหมาะสมตามกาลสมัยสามารถสืบทอดและเผยแพร่ให้ยาวนานต่อไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังหวังว่าทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม เช่น ประเพณีสงกรานต์ของเราไว้ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป และขอบคุณกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันจัดงานวันสงกรานต์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทยไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าไปสู่ลูกหลานไทยในอนาคต พร้อมๆ กับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายสุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในนามของคณะกรรมการจัดงานเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” กล่าวรายงานสรุปว่า งานเทศกาล “เย็นทั่วหล้า มหาสงกรานต์” เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทยให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมงานประเพณีสงกรานต์ให้เป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวในระดับนานาชาติ ซึ่งในปีนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยร่วมกับกรุงเทพมหานครจัดงานในกรุงเทพมหานคร โดยมีกิจกรรมที่สำคัญเชิงประเพณีที่ได้ปฏิบัติกันสืบต่อมา อาทิ การอัญเชิญขบวนแห่พระพุทธสิหิงค์ เพื่อให้ประชาชนได้สักการะและสรงน้ำ การทำบุญตักบาตร และยังมีการแสดงประกอบแสง เสียง เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจให้แก่นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับประเพณีสงกรานต์ รวมถึงการจำลองประเพณีสงกรานต์ของแต่ละภาค ซึ่งมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังจัดการแสดงมหรสพต่าง ๆ เพื่อร่วมฉลองในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ของไทย และเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังได้สนับสนุนการจัดงานประเพณีสงกรานต์ที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นในพื้นที่ต่าง ๆ อีก 11 จังหวัดด้วยกัน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สุโขทัย ขอนแก่น หนองคาย นครพนม พระนครศรีอยุธยา ชลบุรี สมุทรปราการ นครศรีธรรมราช สงขลาและภูเก็ต
โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเปิดงานสรุปว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าเป็นจำนวนมาก และหนึ่งในนั้นก็คือประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเราได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน เป็นหนึ่งในประเพณีอันดีงามของไทยที่เปรียบเสมือนเป็นสายใยแห่งความผูกพันระหว่างอดีตกับปัจจุบัน เป็นสิ่งซึ่งสมควรที่พี่น้องคนไทยจะได้ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานไว้ด้วยความรู้ ความเข้าใจ และมองเห็นคุณค่า หรือความหมาย เพื่อความภาคภูมิใจในความเป็นไทยของเราต่อไป
ประเพณีสงกรานต์นอกจากจะเป็นการขึ้นปีใหม่ของไทยในอดีตแล้ว ยังเป็นโอกาสที่เราจะได้ประกอบกิจกรรมอันเป็นมงคล เช่น การทำบุญ การสรงน้ำพระ การรดน้ำผู้ใหญ่ และการเล่นกีฬาพื้นบ้านต่างๆ เป็นต้น และเป็นโอกาสสำคัญที่บุคคลในครอบครัวเดียวกันจะได้กลับมาพบปะสังสรรค์ เห็นหน้ากัน และร่วมกันทำกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์ความรักความผูกพันให้แน่นแฟ้นทั้งในระดับครอบครัว ระดับสังคมหรือชุมชนด้วย
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่าอยากเห็นคนไทยร่วมกันสืบสานจรรโลงประเพณีสงกรานต์ รวมทั้งประเพณีอื่นๆ ด้วยความงดงามและเกิดคุณค่า ร่วมกันใช้โอกาสอันดีนี้ในการสรรค์สร้างให้เกิดความเอื้ออาทร ความห่วงใยและความปรารถนาดีที่จะทำให้ผู้อื่นมีความสุข ตลอดจนปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ให้เหมาะสมกับยุคสมัย ไม่บิดเบือนให้เกิดความก้าวร้าวรุนแรง หรือแตกแยกและเกิดความรู้สึกที่ไม่ดีต่อวัฒนธรรมประเพณีอันมีคุณค่าของไทย ทั้งนี้ วัฒนธรรมและประเพณีของคนเรานั้นจะดำรงอยู่ได้ก็ด้วยการประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา เราในฐานะคนรุ่นหลังต้องศึกษาให้เข้าใจถึงคุณค่า ความหมาย และวิธีปฏิบัติของประเพณีนั้นๆ เพื่อจะได้ทำให้ถูกต้อง สามารถปรับปรุงและพัฒนาให้มีความประณีตงดงาม เหมาะสมตามกาลสมัยสามารถสืบทอดและเผยแพร่ให้ยาวนานต่อไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียังหวังว่าทุกคนจะเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมและประเพณีอันดีงาม เช่น ประเพณีสงกรานต์ของเราไว้ให้ดำรงอยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป และขอบคุณกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ร่วมกันจัดงานวันสงกรานต์ เพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูประเพณีอันดีงามของไทยไว้ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าไปสู่ลูกหลานไทยในอนาคต พร้อมๆ กับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศให้กว้างขวางยิ่ง ๆ ขึ้นไป
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--