เมื่อเวลา 10.30 น.ที่อิมแพค เมืองทองธานี พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ประกาศไม่เดินทางกลับมาสู้คดีที่ประเทศไทย แต่เตรียมเปิดเว็บไซต์ชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่ถูกฟ้องร้อง ว่า คดีของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ขณะนี้ถือว่าเป็นเรื่องที่อยู่ในขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งคิดว่าสิ่งที่เราต้องแสดงให้เห็นคือกระบวนการยุติธรรมของเรามีความเป็นธรรม ไม่ได้มีการแทรกแซง และในฐานะที่เป็นรัฐบาลก็ไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องในขั้นตอนต่างๆ ดังนั้น พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะกลับหรือไม่กลับ จะมาสู้คดีหรือไม่สู้คดีก็เป็นเรื่องที่ พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะต้องตัดสินใจเอง
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้ออ้างความไม่ปลอดภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ฟังได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องความไม่ปลอดภัยได้พูดย้ำหลายครั้งแล้วว่าในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีโดยตรงที่ต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย ขอให้คำมั่นว่าเราจะดูแลอย่างเต็มที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะเปิดเว็บไซต์สามารถทำได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทำได้ แต่คิดว่าสิ่งที่จะชี้แจงได้ดีที่สุดคือการเข้ามาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม มาชี้แจงต่อศาล เพราะจะได้ดูกันทั้งสองด้าน มีการตรวจสอบทั้งผู้ที่กล่าวหาและผู้ที่ถูกกล่าวหา คิดว่าเราจำเป็นต้องยืนอยู่บนหลักของความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะไม่สั่งบล็อคหรือปิดเว็บไซต์ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มี ขณะนี้รัฐบาลได้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ที่ 5/2549 เรื่องให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารเทศ ซึ่งให้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น ก็ได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะทำให้การทำงานโปร่งใส และเป็นสิทธิของแต่ละส่วนที่จะดำเนินการต่อไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเว็บไซต์ดังกล่าวก่อให้เกิดความสบสนและกระทบต่อความมั่นคงรัฐบาลจะพิจารณาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าประชาชนคงเข้าใจ และเคยพูดไว้ว่า ถ้าเรามีการศึกษาคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญจะเห็นว่ามีเหตุมีผลว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร มีลำดับความเป็นมาอย่างไร สิ่งเหล่านี้เห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องนำไปศึกษาทบทวนมากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรที่ขณะนี้อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทยเตรียมล่ารายชื่อประชาชนเพื่อตั้งพรรคการเมือง โดยไม่คำนึงว่าประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)และในทางกฎหมายจะทำได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับพระราชบัญญัติพรรคการเมือง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งยังไม่ได้ดูในรายละเอียด คงตอบไม่ได้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และความจริงเรื่องการจดทะเบียนพรรคการเมืองอยู่ที่ กกต.ส่วนการลงชื่อหรือไม่นั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ส่วนที่ สนช.ไม่พิจารณาการยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ใน 3 วาระรวด ก็ถือเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ คงไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลจะไปบีบบังคับฝ่ายนิติบัญญัติได้ ถือว่าแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ผู้สื่อข่าวถามถึงข้ออ้างความไม่ปลอดภัยของ พ.ต.ท.ทักษิณฯ ฟังได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องความไม่ปลอดภัยได้พูดย้ำหลายครั้งแล้วว่าในฐานะที่เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร เป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีโดยตรงที่ต้องดูแลเรื่องความปลอดภัย ขอให้คำมั่นว่าเราจะดูแลอย่างเต็มที่
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณฯ จะเปิดเว็บไซต์สามารถทำได้ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทำได้ แต่คิดว่าสิ่งที่จะชี้แจงได้ดีที่สุดคือการเข้ามาอยู่ในกระบวนการยุติธรรม มาชี้แจงต่อศาล เพราะจะได้ดูกันทั้งสองด้าน มีการตรวจสอบทั้งผู้ที่กล่าวหาและผู้ที่ถูกกล่าวหา คิดว่าเราจำเป็นต้องยืนอยู่บนหลักของความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลจะไม่สั่งบล็อคหรือปิดเว็บไซต์ใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มี ขณะนี้รัฐบาลได้ยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)ที่ 5/2549 เรื่องให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ควบคุมการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารระบบเทคโนโลยีสารเทศ ซึ่งให้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนั้น ก็ได้ยกเลิกไปแล้ว ซึ่งเป็นความตั้งใจของรัฐบาลที่จะทำให้การทำงานโปร่งใส และเป็นสิทธิของแต่ละส่วนที่จะดำเนินการต่อไปได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเว็บไซต์ดังกล่าวก่อให้เกิดความสบสนและกระทบต่อความมั่นคงรัฐบาลจะพิจารณาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คิดว่าประชาชนคงเข้าใจ และเคยพูดไว้ว่า ถ้าเรามีการศึกษาคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญจะเห็นว่ามีเหตุมีผลว่าเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร มีลำดับความเป็นมาอย่างไร สิ่งเหล่านี้เห็นว่ามีความจำเป็นที่ต้องนำไปศึกษาทบทวนมากยิ่งขึ้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความเห็นอย่างไรที่ขณะนี้อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทยเตรียมล่ารายชื่อประชาชนเพื่อตั้งพรรคการเมือง โดยไม่คำนึงว่าประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)และในทางกฎหมายจะทำได้หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับพระราชบัญญัติพรรคการเมือง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งยังไม่ได้ดูในรายละเอียด คงตอบไม่ได้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง และความจริงเรื่องการจดทะเบียนพรรคการเมืองอยู่ที่ กกต.ส่วนการลงชื่อหรือไม่นั้นถือว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ ส่วนที่ สนช.ไม่พิจารณาการยกเลิกประกาศ คปค.ฉบับที่ 15 ใน 3 วาระรวด ก็ถือเป็นเรื่องของฝ่ายนิติบัญญัติ คงไม่ใช่เรื่องที่รัฐบาลจะไปบีบบังคับฝ่ายนิติบัญญัติได้ ถือว่าแต่ละฝ่ายมีหน้าที่ถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--