องค์กรของรัฐจะต้องมีการปรับตัวและมีบทบาทที่จะทำให้สังคมเป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง และประชาชนสามารถดูแลตัวเองได้ โดยนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการพัฒนาสังคม เพื่อให้สังคมมีทั้งความเข้มแข็งควบคู่กับเกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ปรับโครงสร้างตำรวจเพื่อประชาชน” พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลในการปรับโครงสร้างตำรวจ” โดยมี อดีตอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติ อดีตอัยการสูงสุด ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านให้เกียรติเป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนข้าราชการตำรวจทั้งที่ยังรับราชการและเกษียณอายุราชการแล้ว ประมาณ 500 คน จัดโดย คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากการสัมมนามาปรับปรุงองค์กรตำรวจให้สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและเพื่อประชาชนได้อย่างแท้จริง โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนาพร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลในการปรับโครงสร้างตำรวจ” ว่า รัฐบาลมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ ส่วนในกระบวนการยุติธรรม ไม่เฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียงส่วนเดียว ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปในลักษณะที่ให้ความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนได้อย่างมากที่สุดเรื่องของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนั้น จะเห็นว่า ปัญหาการดูแลผู้ที่ต้องโทษ และการที่จะให้ผู้พ้นโทษได้กลับมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุง เพราะที่ผ่านมาสภาพของเยาวชนในสถานพินิจต่าง ๆ มักจะถูกสังคมทอดทิ้งหลังจากที่ถูกปล่อยตัวออกไป จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาของสังคมอีก ซึ่งเรื่องนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาช่วยกันดูแล ถ้าอยากให้สังคมของเราเป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อ มีความเอื้ออาทรต่อกันในระยะยาวขณะเดียวกัน องค์กรของรัฐจะต้องมีการปรับตัวและมีบทบาทที่จะทำให้สังคมเป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง และประชาชนสามารถดูแลตัวเองได้ โดยนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการพัฒนาสังคม เพื่อให้สังคมมีทั้งความเข้มแข็งควบคู่กับเกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นพร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีแนวคิดที่ว่า ถ้ามอง “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ควรจะมีการพิจารณาปรับชื่อของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ” เพื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องกับการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ มีความรู้ ซึ่งหมายถึงว่า สังคมของเราต้องเป็นสังคมที่มีความสุข เป็นสังคมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่มีสังคมที่มีคุณธรรม องค์กรของรัฐจึงต้องเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา รัฐบาลนี้แม้ว่าจะมีเวลาสั้น ๆ ในการเข้ามาทำหน้าที่ แต่รัฐบาลเห็นว่า ถ้าไม่เริ่มที่ก้าวแรกในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรคนและพัฒนาความเป็นธรรมอย่างจริงจัง ประเทศไทยจะแก้ปัญหาต่อไปในอนาคตค่อนข้างลำบาก ซึ่งตรงนี้ทุกคนจะต้องช่วยกันปรับ สัมมนาในครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงองค์กร และเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรมให้มีความก้าวหน้าต่อไปได้ อาจจะไม่ได้เป็นผลงานที่สมบูรณ์ เพราะการทำงานในสิ่งใด ๆ นั้น ในปัจจุบันถือว่า ไม่มีผลสำเร็จที่สมบูรณ์ จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้คาดหวังว่า การสัมมนาในครั้งนี้จะได้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะนำไปปรับปรุงและแก้ไขในเรื่องดังกล่าว นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่า ในส่วนของรัฐบาลไม่ได้มองภาพว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐบาลทำไปนั้น สามารถที่จะปรับปรุงและแก้ไขได้ในทุก ๆ ขั้นตอน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แสดงข้อคิดเห็น เช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อจะได้มีการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านั้นให้มากที่สุด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อจะได้มีกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับ เมื่อเป็นกฎหมายแล้ว ย่อม สามารถแก้ได้เช่นเดียวกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนาเรื่อง “ปรับโครงสร้างตำรวจเพื่อประชาชน” พร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลในการปรับโครงสร้างตำรวจ” โดยมี อดีตอธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติ อดีตอัยการสูงสุด ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านให้เกียรติเป็นวิทยากร ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ) อธิบดีกรมตำรวจแห่งชาติ ตลอดจนข้าราชการตำรวจทั้งที่ยังรับราชการและเกษียณอายุราชการแล้ว ประมาณ 500 คน จัดโดย คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้รับจากการสัมมนามาปรับปรุงองค์กรตำรวจให้สามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนและเพื่อประชาชนได้อย่างแท้จริง โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวเปิดการสัมมนาพร้อมแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายรัฐบาลในการปรับโครงสร้างตำรวจ” ว่า รัฐบาลมีความปรารถนาที่จะปรับปรุงองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องหลาย ๆ ส่วนในกระบวนการยุติธรรม ไม่เฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียงส่วนเดียว ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติถือเป็นส่วนประกอบที่มีความสำคัญที่จะทำให้กระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปในลักษณะที่ให้ความเป็นธรรมกับพี่น้องประชาชนได้อย่างมากที่สุดเรื่องของกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดนั้น จะเห็นว่า ปัญหาการดูแลผู้ที่ต้องโทษ และการที่จะให้ผู้พ้นโทษได้กลับมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีการปรับปรุง เพราะที่ผ่านมาสภาพของเยาวชนในสถานพินิจต่าง ๆ มักจะถูกสังคมทอดทิ้งหลังจากที่ถูกปล่อยตัวออกไป จึงทำให้เกิดเป็นปัญหาของสังคมอีก ซึ่งเรื่องนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะต้องมาช่วยกันดูแล ถ้าอยากให้สังคมของเราเป็นสังคมที่เอื้อเฟื้อ มีความเอื้ออาทรต่อกันในระยะยาวขณะเดียวกัน องค์กรของรัฐจะต้องมีการปรับตัวและมีบทบาทที่จะทำให้สังคมเป็นสังคมที่มีความเข้มแข็ง และประชาชนสามารถดูแลตัวเองได้ โดยนำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการพัฒนาสังคม เพื่อให้สังคมมีทั้งความเข้มแข็งควบคู่กับเกิดความเป็นธรรมมากยิ่งขึ้นพร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้มีแนวคิดที่ว่า ถ้ามอง “คน” คือทรัพยากรที่สำคัญที่สุด ควรจะมีการพิจารณาปรับชื่อของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น “สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจแห่งชาติ” เพื่อปรับองค์กรให้สอดคล้องกับการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ มีความรู้ ซึ่งหมายถึงว่า สังคมของเราต้องเป็นสังคมที่มีความสุข เป็นสังคมที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่มีสังคมที่มีคุณธรรม องค์กรของรัฐจึงต้องเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา รัฐบาลนี้แม้ว่าจะมีเวลาสั้น ๆ ในการเข้ามาทำหน้าที่ แต่รัฐบาลเห็นว่า ถ้าไม่เริ่มที่ก้าวแรกในเรื่องของการพัฒนาทรัพยากรคนและพัฒนาความเป็นธรรมอย่างจริงจัง ประเทศไทยจะแก้ปัญหาต่อไปในอนาคตค่อนข้างลำบาก ซึ่งตรงนี้ทุกคนจะต้องช่วยกันปรับ สัมมนาในครั้งนี้จึงถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงองค์กร และเป็นต้นทางของกระบวนการยุติธรรมให้มีความก้าวหน้าต่อไปได้ อาจจะไม่ได้เป็นผลงานที่สมบูรณ์ เพราะการทำงานในสิ่งใด ๆ นั้น ในปัจจุบันถือว่า ไม่มีผลสำเร็จที่สมบูรณ์ จะต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับสิ่งต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรีได้คาดหวังว่า การสัมมนาในครั้งนี้จะได้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่จะนำไปปรับปรุงและแก้ไขในเรื่องดังกล่าว นายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำว่า ในส่วนของรัฐบาลไม่ได้มองภาพว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่รัฐบาลทำไปนั้น สามารถที่จะปรับปรุงและแก้ไขได้ในทุก ๆ ขั้นตอน และเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แสดงข้อคิดเห็น เช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ทุกคนจะต้องมีส่วนร่วม เพื่อจะได้มีการปรับปรุงตามข้อคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านั้นให้มากที่สุด เท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อจะได้มีกฎหมายที่ออกมาใช้บังคับ เมื่อเป็นกฎหมายแล้ว ย่อม สามารถแก้ได้เช่นเดียวกัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--