แท็ก
โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์
กระทรวงการต่างประเทศ
เกริกไกร จีระแพทย์
กระทรวงอุตสาหกรรม
สุรยุทธ์ จุลานนท์
กระทรวงพาณิชย์
วันนี้ เวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น(เวลาที่กรุงโตเกียวเร็วกว่ากรุงเทพฯ 2 ชั่วโมง)พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีและคณะพร้อมด้วย นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางถึงท่าอากาศยานนาริตะ กรุงโตเกียว และเดินทางไปยังโรงแรมอิมพีเรียล ซึ่งเป็นโรงแรมที่พักโดยมีบุคคลสำคัญรอให้การต้อนรับ ฝ่ายไทย อาทิ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายญี่ปุ่น ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน คมนาคม และสาธารณูปโภคพื้นฐาน
จากนั้น เวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ โรงแรม อิมพีเรียล นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานปีท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น 2550 “Thailand Japan Tourism Exchange Year 2007” โดย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน คมนาคม และสาธารณูปโภคพื้นฐาน ประเทศญี่ปุ่น เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการภาพถ่ายสองแผ่นดิน(ไทย-ญี่ปุ่น)และกล่าวเปิดงาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2550 นี้ เป็นปีที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้ดำเนินมาครบรอบ 120 ปี ดังนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศจึงได้ร่วมกันประกาศให้ปี พ.ศ. 2550 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีในนามของรัฐบาลไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ในวันนี้
ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อประมาณ 600 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะได้มีการผูกสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งใกล้เคียงกับสมัยเอโดะของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ ในสมัยดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการค้าขาย แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏว่า มีชาวญี่ปุ่นได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก และบุคคลสำคัญที่เป็นที่รู้จักดีทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ได้แก่ ออกญาเสนาภิมุข หรือ Nagamasa Yamada จากจังหวัดชิซึโอกะ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานหมู่บ้านญี่ปุ่น ณ บริเวณที่เคยเป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชนญี่ปุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
ทุกวันนี้ญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและรุ่งเรือง ได้พัฒนาและขยายตัวครอบคลุมไปแทบทุกระดับและทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ ในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศที่มีความใกล้ชิดกันมาก ปัจจุบันมีชาวไทยที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นประมาณ 50,000 คน และชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยประมาณ 36,000 คน
รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะสืบสานความสัมพันธ์ของสองประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองสืบไป และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้จัดกิจกรรมสำคัญ ๆ ตลอดทั้งปี เพื่อแลกเปลี่ยนในด้านวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของสองประเทศ เช่น การจัดแสดงพลุและดอกไม้ไฟเฉลิมพระเกียรติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสำคัญ ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต และขอนแก่น เป็นต้น
การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญ ของรัฐบาล และเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ก้าวสู่มาตรฐานที่มีคุณภาพ เป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ประกอบด้วย การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการตลาด เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ไปสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม ส่งเสริมให้มีการกระจายการท่องเที่ยวอย่างสมดุลในทุกมิติ และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Year Round Destination รวมทั้งยกระดับประเทศไทยให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้รับทราบด้วย
ในปี 2549 มีจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางไปประเทศไทย จำนวนถึงหนึ่งล้านสามแสนคน เป็นอันดับหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปในประเทศไทย โดยทางการบิน มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละเก้าจุดหก ส่วนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาญี่ปุ่น มีประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ซึ่งผมขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลญี่ปุ่น (Visit Japan Campaign) หรือที่รู้จักกันดีภายใต้การรณรงค์ชื่อ Yokoso Japan ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546
ในปี 2550 นี้สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (PATA) ได้คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางไปประเทศไทยถึงหนึ่งล้านสี่แสนแปดหมื่นคนโดยประเทศไทยติดอยู่ใน 5 อันดับแรกที่นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีและฮาวาย ซึ่งผมมั่นใจว่าการเปิดตัวโครงการปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่นจะสามารถกระตุ้น ให้เกิดการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้น
นายกรัฐมนตรี ในนามของรัฐบาลไทย หวังว่าการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างทั้งสองประเทศจะขยายตัว และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้กลุ่มเยาวชนของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เพื่อเรียนรู้ถึงผลสำเร็จและความพยายามของบรรพชนในอดีตที่ส่งผลให้รากฐานความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินมาอย่างลึกซึ้ง และแน่นแฟ้นในปัจจุบัน และจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจอันจะเป็นรากฐาน ตลอดจน แนวทางในการสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างไทยและญี่ปุ่นในอนาคตต่อไป
สุดท้ายนี้ นายกรัฐมนตรี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์และร่วมมือกันที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และความเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกันสืบไป นายกรัฐมนตรีในนามของประชาชนชาวไทย ขอเชิญชาวญี่ปุ่นเดินทางไปเที่ยวประเทศไทยและร่วมกิจกรรมตลอดทั้งปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ ชาวไทยทุกคนยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจ จากนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “ไทย — เอะ — โอโคชิ — คุดาไซ ”และขอถือโอกาสนี้ เปิดงาน “ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น” ณ บัดนี้ และขออวยพรให้การจัดงานบรรลุผลสำเร็จตามเจตจำนงทุกประการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
จากนั้น เวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ โรงแรม อิมพีเรียล นายกรัฐมนตรีเป็นประธานเปิดงานปีท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น 2550 “Thailand Japan Tourism Exchange Year 2007” โดย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่ดิน คมนาคม และสาธารณูปโภคพื้นฐาน ประเทศญี่ปุ่น เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว และ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ให้การต้อนรับ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เดินเยี่ยมชมนิทรรศการภาพถ่ายสองแผ่นดิน(ไทย-ญี่ปุ่น)และกล่าวเปิดงาน สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปี พ.ศ. 2550 นี้ เป็นปีที่ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้ดำเนินมาครบรอบ 120 ปี ดังนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศจึงได้ร่วมกันประกาศให้ปี พ.ศ. 2550 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรีในนามของรัฐบาลไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดงาน ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น ณ กรุงโตเกียว ในวันนี้
ประเทศญี่ปุ่นและประเทศไทยเริ่มมีความสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อประมาณ 600 ปี มาแล้ว ก่อนที่จะได้มีการผูกสัมพันธไมตรีอย่างเป็นทางการในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งใกล้เคียงกับสมัยเอโดะของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ ในสมัยดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของการค้าขาย แต่จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏว่า มีชาวญี่ปุ่นได้ตั้งหลักแหล่งอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก และบุคคลสำคัญที่เป็นที่รู้จักดีทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวญี่ปุ่น ได้แก่ ออกญาเสนาภิมุข หรือ Nagamasa Yamada จากจังหวัดชิซึโอกะ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานหมู่บ้านญี่ปุ่น ณ บริเวณที่เคยเป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชนญี่ปุ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาด้วย
ทุกวันนี้ญี่ปุ่นและไทยมีความสัมพันธ์ที่แนบแน่นและรุ่งเรือง ได้พัฒนาและขยายตัวครอบคลุมไปแทบทุกระดับและทุกด้าน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ ในระดับประชาชนของทั้งสองประเทศที่มีความใกล้ชิดกันมาก ปัจจุบันมีชาวไทยที่พำนักอยู่ในญี่ปุ่นประมาณ 50,000 คน และชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในประเทศไทยประมาณ 36,000 คน
รัฐบาลไทยมีความตั้งใจที่จะสืบสานความสัมพันธ์ของสองประเทศ ให้เจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองสืบไป และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัฐบาลได้จัดกิจกรรมสำคัญ ๆ ตลอดทั้งปี เพื่อแลกเปลี่ยนในด้านวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวของสองประเทศ เช่น การจัดแสดงพลุและดอกไม้ไฟเฉลิมพระเกียรติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 ที่กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสำคัญ ๆ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต และขอนแก่น เป็นต้น
การส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นนโยบายสำคัญ ของรัฐบาล และเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การส่งเสริมการท่องเที่ยวขึ้น เพื่อมุ่งพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยให้ก้าวสู่มาตรฐานที่มีคุณภาพ เป็นการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก ประกอบด้วย การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และการเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินงานด้านการตลาด เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อน ไปสู่เป้าหมาย นอกจากนี้ รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเรียนรู้ และการสร้างสรรค์ประโยชน์แก่สังคม ส่งเสริมให้มีการกระจายการท่องเที่ยวอย่างสมดุลในทุกมิติ และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็น Year Round Destination รวมทั้งยกระดับประเทศไทยให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้นควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้รับทราบด้วย
ในปี 2549 มีจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นที่เดินทางไปประเทศไทย จำนวนถึงหนึ่งล้านสามแสนคน เป็นอันดับหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไปในประเทศไทย โดยทางการบิน มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละเก้าจุดหก ส่วนนักท่องเที่ยวไทยที่เดินทางมาญี่ปุ่น มีประมาณหนึ่งแสนสามหมื่นคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ซึ่งผมขอแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาลญี่ปุ่น (Visit Japan Campaign) หรือที่รู้จักกันดีภายใต้การรณรงค์ชื่อ Yokoso Japan ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546
ในปี 2550 นี้สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (PATA) ได้คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเดินทางไปประเทศไทยถึงหนึ่งล้านสี่แสนแปดหมื่นคนโดยประเทศไทยติดอยู่ใน 5 อันดับแรกที่นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นนิยมเดินทางไปท่องเที่ยว รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีและฮาวาย ซึ่งผมมั่นใจว่าการเปิดตัวโครงการปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่นจะสามารถกระตุ้น ให้เกิดการเดินทางของประชาชนทั้งสองประเทศเพิ่มมากขึ้น
นายกรัฐมนตรี ในนามของรัฐบาลไทย หวังว่าการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างทั้งสองประเทศจะขยายตัว และเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนให้กลุ่มเยาวชนของทั้งสองฝ่ายได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เพื่อเรียนรู้ถึงผลสำเร็จและความพยายามของบรรพชนในอดีตที่ส่งผลให้รากฐานความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศดำเนินมาอย่างลึกซึ้ง และแน่นแฟ้นในปัจจุบัน และจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจอันจะเป็นรากฐาน ตลอดจน แนวทางในการสร้างความร่วมมืออันดีระหว่างไทยและญี่ปุ่นในอนาคตต่อไป
สุดท้ายนี้ นายกรัฐมนตรี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นจะมีความสัมพันธ์และร่วมมือกันที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม และความเป็นมิตรไมตรีที่ดีต่อกันสืบไป นายกรัฐมนตรีในนามของประชาชนชาวไทย ขอเชิญชาวญี่ปุ่นเดินทางไปเที่ยวประเทศไทยและร่วมกิจกรรมตลอดทั้งปีแห่งการเฉลิมฉลองนี้ ชาวไทยทุกคนยินดีต้อนรับทุกท่านด้วยความจริงใจ จากนั้น นายกรัฐมนตรี กล่าวเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า “ไทย — เอะ — โอโคชิ — คุดาไซ ”และขอถือโอกาสนี้ เปิดงาน “ปีส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย-ญี่ปุ่น” ณ บัดนี้ และขออวยพรให้การจัดงานบรรลุผลสำเร็จตามเจตจำนงทุกประการ
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--