วันนี้ ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร พ.ศ. ... ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว จะต้องส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก่อนเสนอไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเมื่อกฎหมายฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของสภาฯ แล้วพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินก็คงไม่มีความจำเป็น สามารถยกเลิกได้
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในหลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งหากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นว่าการออกกฎหมายฉบับนี้ก็เพื่อให้มีกฎหมายที่ดีกว่าเดิม คือแทนที่จะมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งแรงเกินไปและล้าสมัย เพราะเป็นกฎหมายตั้งแต่ปี 2487 ซึ่งการประกาศกฎอัยการศึกนั้นจะทำต่อเมื่อเกิดการกระทบกระทั่งหรือภาวะสงครามเกิดขึ้นในประเทศขณะที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ
ต่อข้อถามว่า กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ กอ.รมน.มากเกินไป อาจจะเกิดผลเสียในทางปฏิบัติได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในขั้นนี้คงให้ข้อคิดเห็นอะไรไม่ได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนพิจารณารายละเอียด ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตจากรัฐมนตรีหลาย ๆ คน ไปพิจารณา เช่น การมอบอำนาจ และการกำหนดพื้นที่
ต่อข้อถามว่า กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ ผอ.รมน. สั่งการ โดยไม่ต้องผ่านนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องนำข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ไปพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนกฎหมายนี้จะดูแลการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่นั้น คงไม่ใช่ แต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องเผชิญในยุคโลกาภิวัตน์
ส่วนรัฐบาลจะขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณากฎหมายดังกล่าว 3 วาระรวดหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงจะต้องพิจารณากันอีกครั้ง เพราะกฎหมายสำคัญ ๆ คงไม่ได้เป็นเรื่องที่จะพิจารณา 3 วาระรวด และยังจะต้องดูว่ามีความเกี่ยวพันหรือขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในหลักการของพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้อำนาจกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) เป็นผู้ดูแล ซึ่งหากพิจารณาในภาพรวมจะเห็นว่าการออกกฎหมายฉบับนี้ก็เพื่อให้มีกฎหมายที่ดีกว่าเดิม คือแทนที่จะมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกซึ่งแรงเกินไปและล้าสมัย เพราะเป็นกฎหมายตั้งแต่ปี 2487 ซึ่งการประกาศกฎอัยการศึกนั้นจะทำต่อเมื่อเกิดการกระทบกระทั่งหรือภาวะสงครามเกิดขึ้นในประเทศขณะที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ไม่ได้ผ่านการพิจารณาของฝ่ายนิติบัญญัติ
ต่อข้อถามว่า กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ กอ.รมน.มากเกินไป อาจจะเกิดผลเสียในทางปฏิบัติได้ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวจะอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ในขั้นนี้คงให้ข้อคิดเห็นอะไรไม่ได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนพิจารณารายละเอียด ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ให้ข้อสังเกตจากรัฐมนตรีหลาย ๆ คน ไปพิจารณา เช่น การมอบอำนาจ และการกำหนดพื้นที่
ต่อข้อถามว่า กฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจ ผอ.รมน. สั่งการ โดยไม่ต้องผ่านนายกรัฐมนตรีใช่หรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่ที่การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ข้อยุติ ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องนำข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีในวันนี้ไปพิจารณาเพิ่มเติม ส่วนกฎหมายนี้จะดูแลการเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ชุมนุมหรือไม่นั้น คงไม่ใช่ แต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องเผชิญในยุคโลกาภิวัตน์
ส่วนรัฐบาลจะขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณากฎหมายดังกล่าว 3 วาระรวดหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คงจะต้องพิจารณากันอีกครั้ง เพราะกฎหมายสำคัญ ๆ คงไม่ได้เป็นเรื่องที่จะพิจารณา 3 วาระรวด และยังจะต้องดูว่ามีความเกี่ยวพันหรือขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--