นายอภัย จันทนจุลกะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ถึงการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคมนี้ว่า การจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ จะเป็นการร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 กิจกรรมเริ่มตั้งแต่เวลา 07.00 น. มีพิธีสงฆ์ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า จากนั้นจะมีริ้วขบวนเทิดพระเกียรติเคลื่อนขบวนจากลานพระบรมรูปทรงม้าไปยังท้องสนามหลวง เพื่อร่วมพิธีเปิดงานโดยมีพลเอก สุรยุทธ์ นายกรัฐมนตรี มาเป็นประธาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อผู้ใช้แรงงานมาตลอด ซึ่งกระทรวงแรงงานได้เสนอกฎหมายด้านแรงงานต่อคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น 7 ฉบับ และผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วจำนวน 5 ฉบับ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาให้ความเห็นชอบกฎหมายด้านแรงงานอีก 2 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 2 ฉบับ เพื่อจะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
“วันนี้สังคมไทย โดยเฉพาะภาคผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง กับภาครัฐ อยู่ด้วยกันด้วยความสงบ สังเกตได้จากช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการชุมนุมประมาณ 2-3 ครั้งในเรื่องเดียวกัน ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบันมีการตั้งโต๊ะเจรจากัน 120 กว่าครั้ง ใช้การเจรจาทวิภาคีระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ทำให้สามารถตกลงเบื้องต้นกันได้หลายประการ หากตกลงกันไม่ได้ก็ใช้การเจรจาแบบไตรภาคีคือมีภาครัฐลงไปร่วมเจรจาด้วย ดังนั้น ในการชุมนุมเดินขบวนจึงกำหนดเป็นนโยบายว่าการชุมนุมอย่าทำให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเดือดร้อน ผู้ใช้แรงงานเองก็เดือดร้อน ควรมาเจรจากันดีกว่า” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่เสนอมานั้น กระทรวงแรงงานได้ติดตามมาตลอด แต่งานของกระทรวงแรงงานไม่มีความเป็นอิสระในแต่ละกรม เพราะฉะนั้น จึงต้องมาช่วยกันดูเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะผลต่อเนื่องผลกระทบระหว่างกันมี เช่น ขอให้มีการดำเนินการคุ้มครองแรงงาน เราต้องดูเรื่องสวัสดิการต่อเนื่องให้เขา
ด้วย ไม่ว่าจะเรื่องการประกันสังคม เรื่องการว่างงาน ให้เป็นวงจรเดียวกัน อย่างที่เรียนแล้วว่าเราต้องอยู่ด้วยความเป็นหุ้นส่วนกัน มีความเสมอภาคกัน มีความเข้าใจกันและมีความพอดีต่อกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านว่าจะนำแรงงานถูกต้องเข้ามาประเทศละประมาณ 10,000 คน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ สำหรับแรงงานที่เข้ามาโดยผิดกฎหมาย เรามีกระบวนการสกัดกั้น โดยมีคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 22 องค์กร เพื่อหามาตรการสกัดกั้น รวมทั้งจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทะลักเข้ามาอยู่ในประเทศ โดยสถานประกอบการแต่ละแห่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง
สำหรับการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้สั่งการกรมการจัดหางานให้เข้มงวดกับเรื่องดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานไทยถูกหลอก จึงขอให้ผู้ที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศติดต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจัดหางานจังหวัดโดยตรง และเพื่อแก้ปัญหาการเรียกเก็บค่าหัวคิว
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึงข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ว่าจะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล อาทิ ขอให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เรื่องการจ้างเหมาค่าแรง โดยขอให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงจะต้องได้ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างในระบบจ้างปกติของสถานประกอบการนั้น ๆ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อในแต่ละจังหวัด และควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เรื่องการประกันสังคมที่เสนอให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนโดยเฉพาะ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทุกจังหวัดและให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในยุคปัจจุบัน เรื่องสิทธิการคุ้มครองลูกจ้างในการตั้งสหภาพแรงงาน และเรื่องความปลอดภัยในการทำงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ เป็นต้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานกล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญต่อผู้ใช้แรงงานมาตลอด ซึ่งกระทรวงแรงงานได้เสนอกฎหมายด้านแรงงานต่อคณะรัฐมนตรีทั้งสิ้น 7 ฉบับ และผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้วจำนวน 5 ฉบับ โดยในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาให้ความเห็นชอบกฎหมายด้านแรงงานอีก 2 ฉบับ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 2 ฉบับ เพื่อจะนำเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
“วันนี้สังคมไทย โดยเฉพาะภาคผู้ใช้แรงงาน นายจ้าง กับภาครัฐ อยู่ด้วยกันด้วยความสงบ สังเกตได้จากช่วง 6 เดือนที่ผ่านมามีการชุมนุมประมาณ 2-3 ครั้งในเรื่องเดียวกัน ตั้งแต่เดือนตุลาคมจนถึงปัจจุบันมีการตั้งโต๊ะเจรจากัน 120 กว่าครั้ง ใช้การเจรจาทวิภาคีระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง ทำให้สามารถตกลงเบื้องต้นกันได้หลายประการ หากตกลงกันไม่ได้ก็ใช้การเจรจาแบบไตรภาคีคือมีภาครัฐลงไปร่วมเจรจาด้วย ดังนั้น ในการชุมนุมเดินขบวนจึงกำหนดเป็นนโยบายว่าการชุมนุมอย่าทำให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเดือดร้อน ผู้ใช้แรงงานเองก็เดือดร้อน ควรมาเจรจากันดีกว่า” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ข้อเรียกร้องของผู้ใช้แรงงานที่เสนอมานั้น กระทรวงแรงงานได้ติดตามมาตลอด แต่งานของกระทรวงแรงงานไม่มีความเป็นอิสระในแต่ละกรม เพราะฉะนั้น จึงต้องมาช่วยกันดูเพื่อให้เกิดความชัดเจน เพราะผลต่อเนื่องผลกระทบระหว่างกันมี เช่น ขอให้มีการดำเนินการคุ้มครองแรงงาน เราต้องดูเรื่องสวัสดิการต่อเนื่องให้เขา
ด้วย ไม่ว่าจะเรื่องการประกันสังคม เรื่องการว่างงาน ให้เป็นวงจรเดียวกัน อย่างที่เรียนแล้วว่าเราต้องอยู่ด้วยความเป็นหุ้นส่วนกัน มีความเสมอภาคกัน มีความเข้าใจกันและมีความพอดีต่อกัน ซึ่งจะทำให้เกิดความเป็นธรรมต่อทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
นอกจากนี้ รัฐบาลยังให้ความสำคัญในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เคยเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านว่าจะนำแรงงานถูกต้องเข้ามาประเทศละประมาณ 10,000 คน ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการ สำหรับแรงงานที่เข้ามาโดยผิดกฎหมาย เรามีกระบวนการสกัดกั้น โดยมีคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าว มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 22 องค์กร เพื่อหามาตรการสกัดกั้น รวมทั้งจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่ทะลักเข้ามาอยู่ในประเทศ โดยสถานประกอบการแต่ละแห่งต้องปฏิบัติตามกฎหมายให้ถูกต้อง
สำหรับการช่วยเหลือแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า กระทรวงแรงงานได้สั่งการกรมการจัดหางานให้เข้มงวดกับเรื่องดังกล่าว เพื่อป้องกันไม่ให้แรงงานไทยถูกหลอก จึงขอให้ผู้ที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศติดต่อเจ้าหน้าที่ของสำนักงานจัดหางานจังหวัดโดยตรง และเพื่อแก้ปัญหาการเรียกเก็บค่าหัวคิว
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย กล่าวถึงข้อเรียกร้องในวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ว่าจะยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล อาทิ ขอให้รัฐบาลแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เรื่องการจ้างเหมาค่าแรง โดยขอให้ลูกจ้างเหมาค่าแรงจะต้องได้ค่าจ้างและสิทธิประโยชน์เท่ากับลูกจ้างในระบบจ้างปกติของสถานประกอบการนั้น ๆ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามอัตราเงินเฟ้อในแต่ละจังหวัด และควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค เรื่องการประกันสังคมที่เสนอให้มีการจัดตั้งโรงพยาบาลสำหรับผู้ประกันตนโดยเฉพาะ การปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทุกจังหวัดและให้เหมาะสมกับค่าครองชีพในยุคปัจจุบัน เรื่องสิทธิการคุ้มครองลูกจ้างในการตั้งสหภาพแรงงาน และเรื่องความปลอดภัยในการทำงานและสิ่งแวดล้อมของสถานประกอบการ เป็นต้น
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--