รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในงาน “ประกาศยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการพนัน” ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดการพนันของภาคประชาชน ยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน เพื่อให้การพนันต้องหมดไปจากสังคมไทย
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในงาน “ประกาศยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการพนัน” ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดการพนันของภาคประชาชน ยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน จัดโดยคณะกรรมการอำนวยการแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน และเครือข่ายเยาวชน โดยมี 5 จังหวัดนำร่องลด ละ เลิกการพนัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดน่าน จังหวัดพัทลุง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมงาน
นางพิกุล กุลชัย ตัวแทนภาคประชาชน กล่าวประกาศยุทธศาสตร์ “ส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดการพนัน” ของภาคประชาชนและข้อเสนอต่อรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ พันธกิจของภาคประชาชน ประกอบด้วย 1. ภาคประชาชนต้องมีบทบาทในการจัดการ ควบคุมและดูแลการพนัน โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเอง 2. ภาคประชาชนทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนแนวคิด สร้างเครือข่าย เชื่อมโยงเครือข่าย ขยายกลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ให้กว้าวขวางและครอบคลุม 3. ภาคประชาชนจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น เพื่อรองรับการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นต้นแบบของการไม่ข้องเกี่ยวกับการพนันทั้งปวง 4. ภาคประชาชนจะผลักดันให้เกิดกลไกการทำงานเชิงบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาการพนันในทุกระดับ 5.ภาคประชาชนจะสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสื่อสารสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การ การลด ละ เลิก การพนัน ในทุกระดับด้วยวิธีการที่ต่อเนื่องและหลากหลาย และ6.ภาคประชาชนจะสนับสนุน “ทุนทางสังคม”ที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามสภาพการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานคิดหลักในการลด ละ เลิก อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเรียกร้องต่อรัฐและสื่อมวลชน อาทิ 1. ต้องมีกลไกหลักระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาการพนันเชิงบูรณาการ 2.หน่วยงานของรัฐต้องจัดการการพนันอย่างจริงจังและไม่ปล่อยให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน 3.ทุกพรรคการเมืองต้องมีนโยบายหลักในการ ลด ละ เลิก การพนัน 4. กรมการศาสนาและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต้องสนับสนุนทบบาทของผู้นำศาสนาต่อการแก้ปัญหาการพนันในการพัฒนาคุณธรรมกับจริยธรรมเชิงรุก 5. รัฐต้องจัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดการพนัน” 6. รัฐต้องปรับปรุงแก้ไข กฎหมายว่าด้วยการพนันให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสอดคลองกับสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 7. สามาคมวิชาชีพสื่อมวลชนต้องกำกับดูแล มิให้สื่อมวลชน นำเสนอเนื้อหา ข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้ประชาชนเล่นการพนัน เป็นต้น
จากนั้นนายบัญฑิต กิมศรี ตัวแทนเยาวชนจาก 5 จังหวัดนำร่องลด ละ เลิก การพนัน และกลุ่ม”สื่อเยาวชนปลอดอบายมุข” ได้กล่าวประกาศยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน สรุปได้ดังนี้ ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้เยาวชนมีชีวิตมั่นคง ปลอดการพนันได้นั้น ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้เยาวชนมีทัศนคติต่อการพนันที่ถูกต้อง ว่าเป็นหนทางที่นำไปสู่ความเสื่อมในด้านต่าง ๆ ทั้งไม่ได้มีส่วนดีประการใดที่นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ จึงขอเสนอว่ารัฐควรกำหนดมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ มาตรการควบคุมการพนัน อาทิ 1. รัฐต้องมีกฎหมายและกลไกการควบคุมการพนันทุกชนิดครอบคลุมเกมส์ออนไลน์ 2. รัฐต้องสนับสนุนให้องค์กรสื่อสามารถออกกฎหมาย หรือมาตรการใด ๆ ในการควบคุมการโฆษณาในสื่อทุกประเภทที่มีการกระตุ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเล่นการพนันเพิ่มขึ้น 3.กระทรวงการคลังต้องมีนโยบายขึ้นราคาสลากกินแบ่งรัฐบาล และลดเงิน “แจ๊กพอต” เพื่อให้คนซื้อน้อยลง เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องมีมาตรการส่งเสริมให้ทุกคนห่างไกลจากการพนัน เช่น 1. รัฐออกนโยบายส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสนับสนุนบทบาทของผู้นำในแต่ละกลุ่ม อาทิ กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้นำทางศาสนาให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการพนัน 2.รัฐ โดยกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องส่งเสริมอาชีพแก่คนว่างงาน จัดตั้งกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าสนอย่างจริงจัง 3.ส่งเสริมให้มีสื่อประเภทต่าง ๆ รณรงค์ลด ละ เลิก การพนันตั้งแต่ระดับชุมชน จังหวัด และประเทศอย่าต่อเนื่อง 4. รัฐบาลควรมีแผนแม่บทและจัดสรรงบประมาณ เพื่อส่งเสริมแผนงานชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
โอกาสนี้ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับมอบยุทธศาสตร์ภาคประชาชนและยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน พร้อมทั้งกล่าวแสดงความชื่นชมยินดีที่ภาคประชาสังคม ได้ริเริ่ม แนวทางการลด ละ เลิก อบายมุข โดยเฉพาะการพนันอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดของแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข ระยะที่ 1 ซึ่ง จะช่วยให้ปัญหาการเล่นการพนันในกลุ่มคนยากจน เด็กและเยาวชนในสังคมไทยเบาบางลงได้ เพราะการลด ละ เลิกการพนันนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของชีวิตมั่นคง โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน วัยรุ่น ซึ่งเป็นกำลังของสังคม จะต้องมีครอบครัวที่อบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย ได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม ท้องถิ่นและจังหวัดที่ดี มีกิจกรรมสร้างสรรค์ มีโอกาสได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดีงาม ซึ่งจะเป็นการสร้างสติปัญญา ทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีของเยาวชนต่อไป
รัฐบาลมีแนวนโยบายที่ชัดเจนที่จะส่งเสริมแนวทางการลด ละ เลิกอบายมุขให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย เพื่อให้คนไทยมีชีวิตมั่นคง มีเศรษฐกิจพอเพียงและปลอดอบายมุข ด้วยการสนับสนุนกิจกรรมและโครงการรณรงค์ลด ละ เลิกการพนัน ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการพัฒนาและสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในภาพกว้างรัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการรณรงค์การมีชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุขผ่านสื่อสาธารณะ ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาอบายมุขและเผยแพร่เตือนภัยต่อสังคมเป็นระยะ ๆ รวมทั้งทำการวิจัย จัดการความรู้และบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานลด ละ เลิก อบายมุข โดยมีเป้าหมายให้จำนวนเด็กและเยาชน รวมทั้งคนจนในสังคมไทยที่ติดการพนันจะต้องลดลง ขณะที่คนไทยโดยทั่วไปต้องมีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีสัมมาอาชีวะและห่างไกลการพนัน ชุมชนจะต้องปลอดการพนันและสังคมไทยต้องมีค่านิยมที่ยกย่องคนดี สุจริตใสสะอาด มีคุณธรรมและไม่นิ่งเฉยต่อความประพฤติมิชอบ และเพื่อเป็นการสนับสนุนแนวนโยบายเบื้องต้น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ตั้ง “คณะกรรมการควบคุมการพนันแห่งชาติ” เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการควบคุมการพนันและอบายมุขอื่น ๆ รวมถึงมาตรการทางสังคมที่สอดรับกัน อีกทั้งสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมเข้มแข็ง ปลอดการพนัน ซึ่งจะนำไปสู่ความตระหนักเรื่องผลกระทบของการพนันที่มีต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เกิดกับประชาชนต่อไป
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดนำร่อง ลด ละ เลิกการพนัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
วันนี้ เวลา 09.30 น. ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานในงาน “ประกาศยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการพนัน” ซึ่งประกอบด้วยยุทธศาสตร์ส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดการพนันของภาคประชาชน ยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน จัดโดยคณะกรรมการอำนวยการแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาคประชาชน และเครือข่ายเยาวชน โดยมี 5 จังหวัดนำร่องลด ละ เลิกการพนัน ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดน่าน จังหวัดพัทลุง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดนครราชสีมา เข้าร่วมงาน
นางพิกุล กุลชัย ตัวแทนภาคประชาชน กล่าวประกาศยุทธศาสตร์ “ส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดการพนัน” ของภาคประชาชนและข้อเสนอต่อรัฐบาล สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ พันธกิจของภาคประชาชน ประกอบด้วย 1. ภาคประชาชนต้องมีบทบาทในการจัดการ ควบคุมและดูแลการพนัน โดยอาศัยหลักการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนเอง 2. ภาคประชาชนทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนแนวคิด สร้างเครือข่าย เชื่อมโยงเครือข่าย ขยายกลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ให้กว้าวขวางและครอบคลุม 3. ภาคประชาชนจะให้ความสำคัญต่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น เพื่อรองรับการทำงานในอนาคต โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนให้เป็นต้นแบบของการไม่ข้องเกี่ยวกับการพนันทั้งปวง 4. ภาคประชาชนจะผลักดันให้เกิดกลไกการทำงานเชิงบูรณาการ เพื่อแก้ปัญหาการพนันในทุกระดับ 5.ภาคประชาชนจะสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสื่อสารสาธารณะ เพื่อนำไปสู่การ การลด ละ เลิก การพนัน ในทุกระดับด้วยวิธีการที่ต่อเนื่องและหลากหลาย และ6.ภาคประชาชนจะสนับสนุน “ทุนทางสังคม”ที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดความยั่งยืนและพัฒนาให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงตามสภาพการณ์ปัจจุบัน อีกทั้งนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นฐานคิดหลักในการลด ละ เลิก อย่างเป็นรูปธรรม ข้อเรียกร้องต่อรัฐและสื่อมวลชน อาทิ 1. ต้องมีกลไกหลักระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาการพนันเชิงบูรณาการ 2.หน่วยงานของรัฐต้องจัดการการพนันอย่างจริงจังและไม่ปล่อยให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน 3.ทุกพรรคการเมืองต้องมีนโยบายหลักในการ ลด ละ เลิก การพนัน 4. กรมการศาสนาและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ต้องสนับสนุนทบบาทของผู้นำศาสนาต่อการแก้ปัญหาการพนันในการพัฒนาคุณธรรมกับจริยธรรมเชิงรุก 5. รัฐต้องจัดตั้ง “กองทุนส่งเสริมชีวิตมั่นคงปลอดการพนัน” 6. รัฐต้องปรับปรุงแก้ไข กฎหมายว่าด้วยการพนันให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่นและสอดคลองกับสถานการณ์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 7. สามาคมวิชาชีพสื่อมวลชนต้องกำกับดูแล มิให้สื่อมวลชน นำเสนอเนื้อหา ข้อมูลข่าวสารที่กระตุ้นให้ประชาชนเล่นการพนัน เป็นต้น
จากนั้นนายบัญฑิต กิมศรี ตัวแทนเยาวชนจาก 5 จังหวัดนำร่องลด ละ เลิก การพนัน และกลุ่ม”สื่อเยาวชนปลอดอบายมุข” ได้กล่าวประกาศยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน สรุปได้ดังนี้ ยุทธศาสตร์สำคัญที่จะทำให้เยาวชนมีชีวิตมั่นคง ปลอดการพนันได้นั้น ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันทำให้เยาวชนมีทัศนคติต่อการพนันที่ถูกต้อง ว่าเป็นหนทางที่นำไปสู่ความเสื่อมในด้านต่าง ๆ ทั้งไม่ได้มีส่วนดีประการใดที่นำไปสู่การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ชุมชน และประเทศ จึงขอเสนอว่ารัฐควรกำหนดมาตรการต่าง ๆ ดังนี้ มาตรการควบคุมการพนัน อาทิ 1. รัฐต้องมีกฎหมายและกลไกการควบคุมการพนันทุกชนิดครอบคลุมเกมส์ออนไลน์ 2. รัฐต้องสนับสนุนให้องค์กรสื่อสามารถออกกฎหมาย หรือมาตรการใด ๆ ในการควบคุมการโฆษณาในสื่อทุกประเภทที่มีการกระตุ้น ส่งเสริมให้ประชาชนเล่นการพนันเพิ่มขึ้น 3.กระทรวงการคลังต้องมีนโยบายขึ้นราคาสลากกินแบ่งรัฐบาล และลดเงิน “แจ๊กพอต” เพื่อให้คนซื้อน้อยลง เป็นต้น นอกจากนั้น จะต้องมีมาตรการส่งเสริมให้ทุกคนห่างไกลจากการพนัน เช่น 1. รัฐออกนโยบายส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และสนับสนุนบทบาทของผู้นำในแต่ละกลุ่ม อาทิ กลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้นำทางศาสนาให้มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการพนัน 2.รัฐ โดยกระทรวงแรงงานและกระทรวงการพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องส่งเสริมอาชีพแก่คนว่างงาน จัดตั้งกลุ่มอาชีพในหมู่บ้าสนอย่างจริงจัง 3.ส่งเสริมให้มีสื่อประเภทต่าง ๆ รณรงค์ลด ละ เลิก การพนันตั้งแต่ระดับชุมชน จังหวัด และประเทศอย่าต่อเนื่อง 4. รัฐบาลควรมีแผนแม่บทและจัดสรรงบประมาณ เพื่อส่งเสริมแผนงานชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข อย่างต่อเนื่อง เป็นต้น
โอกาสนี้ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รับมอบยุทธศาสตร์ภาคประชาชนและยุทธศาสตร์เยาวชนต้านการพนัน พร้อมทั้งกล่าวแสดงความชื่นชมยินดีที่ภาคประชาสังคม ได้ริเริ่ม แนวทางการลด ละ เลิก อบายมุข โดยเฉพาะการพนันอย่างเป็นรูปธรรม ภายใต้แนวคิดของแผนงานส่งเสริมชีวิตมั่นคง ปลอดอบายมุข ระยะที่ 1 ซึ่ง จะช่วยให้ปัญหาการเล่นการพนันในกลุ่มคนยากจน เด็กและเยาวชนในสังคมไทยเบาบางลงได้ เพราะการลด ละ เลิกการพนันนั้นจะต้องอยู่บนพื้นฐานของชีวิตมั่นคง โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน วัยรุ่น ซึ่งเป็นกำลังของสังคม จะต้องมีครอบครัวที่อบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย ได้อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อม ท้องถิ่นและจังหวัดที่ดี มีกิจกรรมสร้างสรรค์ มีโอกาสได้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ดีงาม ซึ่งจะเป็นการสร้างสติปัญญา ทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีของเยาวชนต่อไป
รัฐบาลมีแนวนโยบายที่ชัดเจนที่จะส่งเสริมแนวทางการลด ละ เลิกอบายมุขให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในสังคมไทย เพื่อให้คนไทยมีชีวิตมั่นคง มีเศรษฐกิจพอเพียงและปลอดอบายมุข ด้วยการสนับสนุนกิจกรรมและโครงการรณรงค์ลด ละ เลิกการพนัน ส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในการพัฒนาและสร้างเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในภาพกว้างรัฐบาลจะสนับสนุนให้มีการรณรงค์การมีชีวิตมั่นคงปลอดอบายมุขผ่านสื่อสาธารณะ ตลอดจนเฝ้าระวังปัญหาอบายมุขและเผยแพร่เตือนภัยต่อสังคมเป็นระยะ ๆ รวมทั้งทำการวิจัย จัดการความรู้และบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานลด ละ เลิก อบายมุข โดยมีเป้าหมายให้จำนวนเด็กและเยาชน รวมทั้งคนจนในสังคมไทยที่ติดการพนันจะต้องลดลง ขณะที่คนไทยโดยทั่วไปต้องมีวิถีชีวิตที่พอเพียง มีสัมมาอาชีวะและห่างไกลการพนัน ชุมชนจะต้องปลอดการพนันและสังคมไทยต้องมีค่านิยมที่ยกย่องคนดี สุจริตใสสะอาด มีคุณธรรมและไม่นิ่งเฉยต่อความประพฤติมิชอบ และเพื่อเป็นการสนับสนุนแนวนโยบายเบื้องต้น กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ เตรียมจะเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ตั้ง “คณะกรรมการควบคุมการพนันแห่งชาติ” เพื่อเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนการควบคุมการพนันและอบายมุขอื่น ๆ รวมถึงมาตรการทางสังคมที่สอดรับกัน อีกทั้งสนับสนุนให้ภาคประชาสังคมได้มีส่วนร่วมในการสร้างสังคมเข้มแข็ง ปลอดการพนัน ซึ่งจะนำไปสู่ความตระหนักเรื่องผลกระทบของการพนันที่มีต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เกิดกับประชาชนต่อไป
จากนั้น รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ได้มอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดนำร่อง ลด ละ เลิกการพนัน
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--