แท็ก
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงต่างประเทศ
สุรยุทธ์ จุลานนท์
ทำเนียบรัฐบาล
นายกรัฐมนตรี
ตึกไทยคู่ฟ้า
วันนี้ เวลา 16.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศนำ Dato'Seri Syed Hamid Albar รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย เข้าเยี่ยมคารวะพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-มาเลเซีย (JC) ครั้งที่ 10 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้ตอบรับคำเชิญของดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อเดินทางเยือนมาเลเซียในสามโอกาสสำคัญ คือ การประชุม Langkawi International Dialogue ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม การประชุมประจำหารือประจำปีระดับนายกรัฐมนตรี (Annual Consultation) ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม และการร่วมงานเฉลิมฉลอง 50 ปีการเป็นเอกราชของมาเลเซีย ในวันที่ 31 สิงหาคม ศกนี้ ซึ่งจะได้ใช้โอกาสดังกล่าว แลกเปลี่ยนแนวคิด และหารือลู่ทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน พร้อมทั้งรับทราบความก้าวหน้าในโครงการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อครั้งเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันถึงแนวทางการยุติความรุนแรง และจะเป็นการการสร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยดำเนินการบนพื้นฐานสำคัญ 3 ประการ หรือ 3 E คือ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เนื่องจากปัญหาความรุนแรงนั้นเป็นปัญหาสำคัญ หากไม่สามารถได้รับการแก้ไข การผลักดันชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ก็อาจจะดำเนินไปอย่างลำบาก นอกจากนี้ ความสำเร็จในการเดินทางมาเยือนไทยของ ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฎอวี (Grand Imam of Al Azhar) ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ ได้พูดคุยกับนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการตอบรับอย่างดีและสร้างความเข้าใจอันดีตามหลักศาสนาแก่นักศึกษาเยาวชน รัฐบาลจึงเห็นว่า การเชิญผู้นำศาสนาที่ได้รับความเคารพเยือนไทยเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการการแก้ไขปัญหาความรุนแรง
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียกล่าวเห็นพ้องต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาของไทยด้วยแนวทางสมานฉันท์ และพร้อมสนับสนุนแนวคิดของไทยในการเชิญผู้นำศาสนามาเยือนไทยเพื่อสันติ พร้อมทั้งแสดงความยินดีต่อกำหนดเดินทางเยือนมาเลเซียและเห็นว่า เป็นการยืนยันความสัมพันธ์ทีใกล้ชิดระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และจะมีส่วนอย่างสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-มาเลเซีย จะได้มีการหารือและกำหนดกรอบการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งสองประเทศ รวมทั้งการกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นใจในการยุติปัญหาความรุนแรง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ได้ตอบรับคำเชิญของดาโต๊ะ ซรี อับดุลลาห์ อาหมัด บาดาวี นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เพื่อเดินทางเยือนมาเลเซียในสามโอกาสสำคัญ คือ การประชุม Langkawi International Dialogue ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม การประชุมประจำหารือประจำปีระดับนายกรัฐมนตรี (Annual Consultation) ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม และการร่วมงานเฉลิมฉลอง 50 ปีการเป็นเอกราชของมาเลเซีย ในวันที่ 31 สิงหาคม ศกนี้ ซึ่งจะได้ใช้โอกาสดังกล่าว แลกเปลี่ยนแนวคิด และหารือลู่ทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน พร้อมทั้งรับทราบความก้าวหน้าในโครงการความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวถึงการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เมื่อครั้งเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ณ ประเทศฟิลิปปินส์ว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันถึงแนวทางการยุติความรุนแรง และจะเป็นการการสร้างประโยชน์ร่วมกัน โดยดำเนินการบนพื้นฐานสำคัญ 3 ประการ หรือ 3 E คือ การศึกษา (Education) การจ้างงาน (Employment) และการสร้างผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) เนื่องจากปัญหาความรุนแรงนั้นเป็นปัญหาสำคัญ หากไม่สามารถได้รับการแก้ไข การผลักดันชุมชนอาเซียน (ASEAN Community) ก็อาจจะดำเนินไปอย่างลำบาก นอกจากนี้ ความสำเร็จในการเดินทางมาเยือนไทยของ ดร.มูฮัมหมัด ซัยยิด ฏอนฎอวี (Grand Imam of Al Azhar) ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดทางศาสนาอิสลามของอียิปต์ ได้พูดคุยกับนักศึกษา ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยได้รับการตอบรับอย่างดีและสร้างความเข้าใจอันดีตามหลักศาสนาแก่นักศึกษาเยาวชน รัฐบาลจึงเห็นว่า การเชิญผู้นำศาสนาที่ได้รับความเคารพเยือนไทยเพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการการแก้ไขปัญหาความรุนแรง
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียกล่าวเห็นพ้องต่อการดำเนินการแก้ไขปัญหาของไทยด้วยแนวทางสมานฉันท์ และพร้อมสนับสนุนแนวคิดของไทยในการเชิญผู้นำศาสนามาเยือนไทยเพื่อสันติ พร้อมทั้งแสดงความยินดีต่อกำหนดเดินทางเยือนมาเลเซียและเห็นว่า เป็นการยืนยันความสัมพันธ์ทีใกล้ชิดระหว่างประเทศเพื่อนบ้าน และจะมีส่วนอย่างสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ซึ่งในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-มาเลเซีย จะได้มีการหารือและกำหนดกรอบการดำเนินงานตามแนวนโยบายของผู้นำทั้งสองประเทศ รวมทั้งการกระชับความร่วมมือเพื่อสร้างความมั่นใจในการยุติปัญหาความรุนแรง
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--