นายบัญญัติ จันทน์เสนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ”ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ ถึงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและเร่งลงไปให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนอย่างทั่วถึงในทุกพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนโดยเร็ว ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการจัดทำบัญชีข้อมูลสำรวจจำนวนพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง สภาพพื้นที่ จำนวนประชาชนที่คาดว่าจะได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง รวมทั้งแหล่งน้ำต่างๆ ว่ามีจำนวนเท่าใดในแต่ละหมู่บ้าน ตำบล เพื่อจัดทำแผนรองรับในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สำหรับการให้ความช่วยเหลือที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้น ได้ทำการสูบน้ำจากแหล่งน้ำมากักเก็บไว้ในภาชนะกลาง และจัดรถบรรทุกน้ำนำไปแจกจ่ายแก่ประชาชนที่เดือดร้อน นอกจากนั้นได้เข้าไปสำรวจซ่อมแซม เป่าบ่อล้างท่อ ประปาหมู่บ้านที่ชำรุดเสียหาย รวมทั้งไปเยี่ยมเยียนประชาชนตามจุดต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็พยายามติดตามเฝ้าระวังโดยกำหนดให้มีการส่งข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนผ่านทุกตำบลหมู่บ้านในลักษณะเหมือนมีเครือข่ายในการแจ้งข่าวสารในส่วนนี้ ทั้งนี้ จากการลงพื้นที่พบว่าในบางพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำต้นทุนในพื้นที่ตำบลหมู่บ้านเลย จึงต้องแก้ปัญหาโดยจัดรถบรรทุกน้ำเข้าไปให้การช่วยเหลือ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ท้องถิ่นและกองทัพ ได้ทำงานร่วมกันแบบบูรณาการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามในส่วนของน้ำอุปโภคบริโภคนั้นคงไม่มีปัญหา ยกเว้นน้ำเพื่อการเกษตร น้ำนอกพื้นที่เขตชลประทาน อาจมีปัญหาอยู่บ้าง สำหรับการเคลื่อนย้ายแรงงานของประชาชนในท้องถิ่นในช่วงฤดูแล้งนั้น ในทุกปีกระทรวงมหาดไทยได้ประสานงานกับพื้นที่อยู่แล้ว ซึ่งจะมีข้อมูลตัวเลขการเคลื่อนย้ายแรงงานในช่วงฤดูแล้ง ดังนั้น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมกันจัดทำแผนรองรับเพื่อให้การแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ด้านนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ” เช่นเดียวกันว่า หากมองจากสถานการณ์น้ำโดยส่วนรวมของประเทศที่มีอยู่ 31 เขื่อนแล้ว น้ำต้นทุนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยกเว้นบางเขื่อนระดับน้ำต้นทุนค่อนข้างน้อย เช่น เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ 12 แห่ง น้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นในเขตที่สามารถดูแลเรื่องการส่งน้ำได้ เราค่อนข้างมั่นใจว่าดูแลได้ ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรนั้น ขณะนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการทำนาปรังพืชไร่อยู่ประมาณ 1 ล้านไร่ในเขตชลประทาน ซึ่งคิดว่าตรงส่วนนี้ไม่มีปัญหา แต่ที่น่าเป็นห่วงคือนอกเขตชลประทานเพราะต้องอาศัยน้ำฝน อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมการช่วยเหลือในเรื่องของน้ำอุปโภคบริโภค โดยจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่าย และการสูบน้ำจากแหล่งน้ำ รวมไปถึงการทำฝนหลวง ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น และขณะนี้มีประชาชนเรียกร้องขอทำฝนหลวงมากที่สุด
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เรื่องน้ำเพื่อการเกษตรน่าจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ ส่วนเขตที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติต้องใช้น้ำอย่างประหยัด เขตที่อาศัยน้ำฝนคงต้องเน้นน้ำอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังมีเกษตรตำบล และหน่วยงานระดับอำเภอ จังหวัด ที่จะคอยตรวจสอบว่าพื้นที่ไหนมีปัญหา แล้วรายงานข้อมูลกลับมายังกระทรวง อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างประหยัด
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ในปี 2551 วงเงิน 14,000 ล้านบาท โดยนำข้อมูลที่รวบรวมปัญหาของแต่ละพื้นที่มากำหนดเป็นแผนงานโครงการ ทั้งระบบการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ ระบบประปาหมู่บ้าน การขุดลอกคู คลอง หนองบึง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวที่ทำควบคู่กันไปทั้งสองส่วน โดยเฉพาะการที่จะพยายามประหยัดน้ำต้นทุนที่จะสามารถใช้น้ำได้ตลอดทั้งปีด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--
ด้านนายรุ่งเรือง อิศรางกูร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในรายการ “สายตรงทำเนียบ” เช่นเดียวกันว่า หากมองจากสถานการณ์น้ำโดยส่วนรวมของประเทศที่มีอยู่ 31 เขื่อนแล้ว น้ำต้นทุนยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ยกเว้นบางเขื่อนระดับน้ำต้นทุนค่อนข้างน้อย เช่น เขื่อนลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เขื่อนทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี เขื่อนแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ 12 แห่ง น้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีคือเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นในเขตที่สามารถดูแลเรื่องการส่งน้ำได้ เราค่อนข้างมั่นใจว่าดูแลได้ ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรนั้น ขณะนี้ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการทำนาปรังพืชไร่อยู่ประมาณ 1 ล้านไร่ในเขตชลประทาน ซึ่งคิดว่าตรงส่วนนี้ไม่มีปัญหา แต่ที่น่าเป็นห่วงคือนอกเขตชลประทานเพราะต้องอาศัยน้ำฝน อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เตรียมการช่วยเหลือในเรื่องของน้ำอุปโภคบริโภค โดยจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำเพื่อแจกจ่าย และการสูบน้ำจากแหล่งน้ำ รวมไปถึงการทำฝนหลวง ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น และขณะนี้มีประชาชนเรียกร้องขอทำฝนหลวงมากที่สุด
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เรื่องน้ำเพื่อการเกษตรน่าจะไม่มีปัญหาการขาดแคลนน้ำ ส่วนเขตที่เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติต้องใช้น้ำอย่างประหยัด เขตที่อาศัยน้ำฝนคงต้องเน้นน้ำอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ยังมีเกษตรตำบล และหน่วยงานระดับอำเภอ จังหวัด ที่จะคอยตรวจสอบว่าพื้นที่ไหนมีปัญหา แล้วรายงานข้อมูลกลับมายังกระทรวง อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขอให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยเพื่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างประหยัด
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง ในปี 2551 วงเงิน 14,000 ล้านบาท โดยนำข้อมูลที่รวบรวมปัญหาของแต่ละพื้นที่มากำหนดเป็นแผนงานโครงการ ทั้งระบบการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำ ระบบประปาหมู่บ้าน การขุดลอกคู คลอง หนองบึง ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาระยะยาวที่ทำควบคู่กันไปทั้งสองส่วน โดยเฉพาะการที่จะพยายามประหยัดน้ำต้นทุนที่จะสามารถใช้น้ำได้ตลอดทั้งปีด้วย
--กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก--