ร่างแถลงการณ์ร่วม พิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซียและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทางด้านยางวันที่ 8 สิงหาคม 2545 บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
1. ในวันที่ 8 สิงหาคม 2545 ณ ตำหนักฤดูร้อน Tampasiring บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูกาโนร์ บุตรี ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดาโต๊ะซรี ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซียและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทางด้านยาง โดยมีผู้ร่วมลงนามคือ นางรีนี ซูมาร์โน ซอวันดิ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดาโต๊ะ เสรี ลิม เค็ง แย็ก รัฐมนตรี อุตสาหกรรมปฐมภูมิของมาเลเซีย และนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ของไทย
2. การลงนามบันทึกความเข้าใจ ฯ แสดงถึงความมุ่งมั่นของทั้งสามประเทศ ในความร่วมมือเพื่อการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศ (Consortium) คือ บริษัทร่วมทุนด้านยางระหว่างไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย (International Tripartite Rubber Organization ITRCo) เพื่อการดำเนินกลยุทธทางการตลาด หากจำเป็น เพื่อเกื้อกูล การดำเนินงานทางยุทธศาสตร์ทั้งสองด้านที่ทั้งสามประเทศได้ตกลงกันภายใต้ แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีสามฝ่าย ณ เมืองบาหลี 2544 ทั้งนี้ บริษัท ฯ มีทุนจดทะเบียน 225 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
3. ภายใต้แถลงการณ์บาหลี 2544 ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ทั้งสามประเทศจะได้ดำเนินมาตรการปรับปริมาณการผลิต (the Supply Management Scheme --SMS) โดยกำหนดเป้าหมายลดการผลิตยางลงร้อยละ 4 และมาตรการปรับปริมาณการส่งออกร้อยละ 10 ต่อปี (Agreed Export Tonnage Scheme —AETS)
4. รัฐมนตรีของทั้งสามประเทศยืนยันถึงจุดประสงค์ของความร่วมมือสามฝ่ายว่าด้วยยาง เพื่อเป็นหลักประกันว่า ราคายางจะได้รับความเป็นธรรม และได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 10 ล้านคน และตอกย้ำถึงความสำคัญของเจตนารมณ์ทางการเมือง และความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสามประเทศ เพื่อการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาง การร่วมเป็นสักขีพยานของหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งสาม ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในความพยายามของรัฐมนตรีทั้งสาม เพื่อให้ราคายางสูงขึ้น อันจะช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย
5. เป็นที่คาดว่าประเทศผู้ผลิตยางรายอื่น จะได้เข้าร่วมในความพยายามดังกล่าวเพื่อช่วยให้ การผลิตยางสามารถทำให้ราคายางสูงขึ้นอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ผลิตทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งต้องพึ่งพายางเพื่อการครองชีพ ในฐานะที่อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ ทั้งสามประเทศ จึงขอเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกผู้ผลิตยางอื่นๆ เข้าร่วมในความพยายามดังกล่าว เพื่อดำรงความยืนยาวทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยาง
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-
1. ในวันที่ 8 สิงหาคม 2545 ณ ตำหนักฤดูร้อน Tampasiring บาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีเมกาวาตี ซูกาโนร์ บุตรี ประธานาธิบดีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดาโต๊ะซรี ดร. มหาธีร์ บิน โมฮัมหมัด นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และดร. ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลแห่งประเทศมาเลเซียและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ทางด้านยาง โดยมีผู้ร่วมลงนามคือ นางรีนี ซูมาร์โน ซอวันดิ รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้าสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ดาโต๊ะ เสรี ลิม เค็ง แย็ก รัฐมนตรี อุตสาหกรรมปฐมภูมิของมาเลเซีย และนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ ของไทย
2. การลงนามบันทึกความเข้าใจ ฯ แสดงถึงความมุ่งมั่นของทั้งสามประเทศ ในความร่วมมือเพื่อการจัดตั้งบริษัทร่วมทุนระหว่างประเทศ (Consortium) คือ บริษัทร่วมทุนด้านยางระหว่างไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย (International Tripartite Rubber Organization ITRCo) เพื่อการดำเนินกลยุทธทางการตลาด หากจำเป็น เพื่อเกื้อกูล การดำเนินงานทางยุทธศาสตร์ทั้งสองด้านที่ทั้งสามประเทศได้ตกลงกันภายใต้ แถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรีสามฝ่าย ณ เมืองบาหลี 2544 ทั้งนี้ บริษัท ฯ มีทุนจดทะเบียน 225 ล้านเหรียญสหรัฐ ฯ
3. ภายใต้แถลงการณ์บาหลี 2544 ซึ่งได้ลงนามเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2544 ทั้งสามประเทศจะได้ดำเนินมาตรการปรับปริมาณการผลิต (the Supply Management Scheme --SMS) โดยกำหนดเป้าหมายลดการผลิตยางลงร้อยละ 4 และมาตรการปรับปริมาณการส่งออกร้อยละ 10 ต่อปี (Agreed Export Tonnage Scheme —AETS)
4. รัฐมนตรีของทั้งสามประเทศยืนยันถึงจุดประสงค์ของความร่วมมือสามฝ่ายว่าด้วยยาง เพื่อเป็นหลักประกันว่า ราคายางจะได้รับความเป็นธรรม และได้รับผลตอบแทนอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ถือหุ้นรายย่อยกว่า 10 ล้านคน และตอกย้ำถึงความสำคัญของเจตนารมณ์ทางการเมือง และความร่วมมือที่ใกล้ชิดระหว่างสามประเทศ เพื่อการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยาง การร่วมเป็นสักขีพยานของหัวหน้าคณะรัฐบาลทั้งสาม ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ได้สะท้อนให้เห็นถึงการสนับสนุนอย่างเต็มที่ในความพยายามของรัฐมนตรีทั้งสาม เพื่อให้ราคายางสูงขึ้น อันจะช่วยปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของผู้ถือหุ้นรายย่อยทั้งหลาย
5. เป็นที่คาดว่าประเทศผู้ผลิตยางรายอื่น จะได้เข้าร่วมในความพยายามดังกล่าวเพื่อช่วยให้ การผลิตยางสามารถทำให้ราคายางสูงขึ้นอย่างเป็นธรรมและเหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ผลิตทั้งหลาย โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย ซึ่งต้องพึ่งพายางเพื่อการครองชีพ ในฐานะที่อินโดนีเซีย มาเลเซียและไทย เป็นสมาชิกของสมาคมผู้ผลิตยางธรรมชาติ ทั้งสามประเทศ จึงขอเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกผู้ผลิตยางอื่นๆ เข้าร่วมในความพยายามดังกล่าว เพื่อดำรงความยืนยาวทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนของอุตสาหกรรมยาง
ฝ่ายสื่อมวลชนสัมพันธ์ สำนักโฆษก โทรภายใน 8055 โทร 0 2629 9292, 0 2629 9491 โทรสาร 0 2281 4450--จบ--
-สส-