ทำเนียบรัฐบาล--14 ก.ย.--บิสนิวส์
วันนี้ (10 ก.ย. 41) เมื่อเวลา 11.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำพลตรี จอ ตัน (Kyaw Than) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สหภาพพม่า เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-สหภาพพม่า ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2541 และเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair" 98 ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน 2541 ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญของการสนทนา ได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าประเทศไทยและพม่ามีความใกล้ชิดกันเปรียบเสมือนพี่น้อง เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงและนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน ดังนั้น คนไทยและพม่าตามแนวชายแดนไทย-พม่าจึงมีการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความยินดีต่อผลการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 8-9 กันยายน 2541 ด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตกลงว่าจะให้มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพชายแดนไทย-พม่า อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งการเปิดจุดผ่านแดนดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะจะช่วยส่งเสริมการค้าชายแดนให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น (อนึ่ง สหภาพพม่าได้ปิดด่านสะพานมิตรภาพไทย-สหภาพพม่า ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2541)
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของพม่า ได้กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างพม่าและประเทศไทย ได้เพิ่มพูนและมีการกระชับความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าทั้งสองประเทศจะได้มีการลงนามจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-สหภาพพม่า มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 (1990) แต่ยังไม่เคยได้มีการจัดการประชุมร่วมกัน ดังนั้น ในการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า ครั้งที่ 1 นี้ นับได้ว่าเป็นความสำเร็จร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการผลักดันและการริ่เริ่มของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย (นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ)
ในตอนท้าย ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการขยายความสัมพันธ์ทางด้านความร่วมมือทางการเกษตร ทั้งทางด้านการผลิต และการตลาด เพื่อส่งเสริมการค้าและการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวชายแดนไทย-พม่าด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหภาพพม่า ยังได้กล่าวว่า พม่าแม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก แต่ยังจำเป็นต้องขอรับคำแนะนำทางวิชาการและด้านเทคโนโลยีจากไทย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ หลายสาขา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอบรับว่า รัฐบาลไทยพร้อมและยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพพม่าในสาขาที่ขาดแคลน พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวฝากความระลึกถึงไปยังนายกรัฐมนตรีของพม่าด้วย โดยหวังว่าจะได้พบกันอีกครั้งหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่เวียดนาม ในเดือนธันวาคม 2541--จบ--
วันนี้ (10 ก.ย. 41) เมื่อเวลา 11.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำพลตรี จอ ตัน (Kyaw Than) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สหภาพพม่า เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในโอกาสที่เดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-สหภาพพม่า ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 8-9 กันยายน 2541 และเข้าร่วมงานแสดงสินค้า Bangkok Gems and Jewelry Fair" 98 ระหว่างวันที่ 9-12 กันยายน 2541 ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญของการสนทนา ได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวว่าประเทศไทยและพม่ามีความใกล้ชิดกันเปรียบเสมือนพี่น้อง เนื่องจากมีวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงและนับถือศาสนาพุทธเหมือนกัน ดังนั้น คนไทยและพม่าตามแนวชายแดนไทย-พม่าจึงมีการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความยินดีต่อผลการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-สหภาพพม่า เมื่อวันที่ 8-9 กันยายน 2541 ด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ตกลงว่าจะให้มีการเปิดจุดผ่านแดนถาวรสะพานมิตรภาพชายแดนไทย-พม่า อีกครั้งหนึ่งในวันที่ 17 กันยายน 2541 ซึ่งการเปิดจุดผ่านแดนดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อการค้าของทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะจะช่วยส่งเสริมการค้าชายแดนให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น (อนึ่ง สหภาพพม่าได้ปิดด่านสะพานมิตรภาพไทย-สหภาพพม่า ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2541)
ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของพม่า ได้กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ความร่วมมือทางด้านการค้าและการลงทุนระหว่างพม่าและประเทศไทย ได้เพิ่มพูนและมีการกระชับความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ แม้ว่าทั้งสองประเทศจะได้มีการลงนามจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-สหภาพพม่า มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2533 (1990) แต่ยังไม่เคยได้มีการจัดการประชุมร่วมกัน ดังนั้น ในการประชุมของคณะกรรมาธิการร่วมทางการค้าไทย-พม่า ครั้งที่ 1 นี้ นับได้ว่าเป็นความสำเร็จร่วมกันของทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นการผลักดันและการริ่เริ่มของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย (นายโพธิพงษ์ ล่ำซำ)
ในตอนท้าย ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงความเป็นไปได้ในการขยายความสัมพันธ์ทางด้านความร่วมมือทางการเกษตร ทั้งทางด้านการผลิต และการตลาด เพื่อส่งเสริมการค้าและการยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรตามแนวชายแดนไทย-พม่าด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของสหภาพพม่า ยังได้กล่าวว่า พม่าแม้จะมีทรัพยากรธรรมชาติอยู่มาก แต่ยังจำเป็นต้องขอรับคำแนะนำทางวิชาการและด้านเทคโนโลยีจากไทย ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ หลายสาขา ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวตอบรับว่า รัฐบาลไทยพร้อมและยินดีที่จะให้ความช่วยเหลือแก่สหภาพพม่าในสาขาที่ขาดแคลน พร้อมกันนี้ ยังได้กล่าวฝากความระลึกถึงไปยังนายกรัฐมนตรีของพม่าด้วย โดยหวังว่าจะได้พบกันอีกครั้งหนึ่งในการประชุมสุดยอดอาเซียน ที่เวียดนาม ในเดือนธันวาคม 2541--จบ--