ทำเนียบรัฐบาล--11 มี.ค.--บิสนิวส์
เรื่อง การปรับปรุงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีรับทราบ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า ได้เชิญผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาร่วมหารือเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่อง รับทราบมาตรการระยะสั้นในการปรับปรุงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการต่อไปได้นั้น ได้ข้อสรุปซึ่งควรซักซ้อมความเข้าใจไปยังผู้เกี่ยวข้องดังนี้
1. ในการเบิกค่ายา ข้าราชการยังคงเบิกได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่สถานพยาบาลใช้ยานอกบัญชีที่ได้จัดทำไว้เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้าราชการผู้ป่วยไม่มีสิทธิเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติดังกล่าว ยกเว้นคณะกรรมการการแพทย์ของสถานพยาบาลแต่ละแห่งจะวินิจฉัยว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
อนึ่ง บัญชียาหลักแห่งชาติได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่เกี่ยวกับการที่ยานั้นผลิตขึ้น ภายในหรือนอกประเทศ ทั้งนี้ เป็นที่รับรองแล้วว่า โดยปกติแล้วยาหลักแห่งชาติจะครอบคลุมยาที่ใช้ในการรักษาพยาบาลตามปกติเกือบทุกขนาน ดังนั้นข้าราชการผู้ป่วยควรสอบถามแพทย์ผู้สั่งยาว่า ยานั้น ๆ อยู่ในบัญชีหรือไม่ อีกนัยหนึ่งคือ จะสามารถนำไปเบิกได้หรือไม่ หากไม่อาจเบิกได้ แต่ยังประสงค์จะใช้ยาดังกล่าว ก็เป็นสิทธิของข้าราชการผู้ป่วย และถ้ามีแพทย์อื่น นอกจากแพทย์เจ้าของไข้ร่วมเป็นกรรมการแพทย์รับรองว่าจำเป็นต้องใช้ยานั้น ข้าราชการผู้นั้นก็ยังมีสิทธินำไปเบิกได้อยู่นั่นเอง
2. ข้าราชการที่ใช้บริการคลีนิกสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งเปิดทำการนอกเวลาราชการไม่มีสิทธินำใบเสร็จค่าธรรมเนียมแพทย์สำหรับคลีนิกนอกเวลาไปเบิก แต่ค่ายาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ยังสามารถเบิกได้ตามปกติ ส่วนแพทย์ที่ให้บริการนอกเวลาก็ยังมีสิทธิเบิกค่าทำการจากสถานพยาบาลนั้น ๆ ตามสิทธิเดิมของตน
3. ข้าราชการผู้ป่วยที่ใช้ห้องพิเศษ จะเบิกค่าห้องพิเศษ และค่าอาหารได้ตามอัตราและจำนวนวันที่กระทรวงการคลังจะมีประกาศกำหนดต่อไป โดยคำนึงถึงสภาพความจำเป็นของผู้ป่วยแต่คนไข้ที่ใช้ห้องธรรมดา ยังมีสิทธิเบิกค่าห้องธรรมดาและค่าอาหารได้ตามสิทธิเดิมทุกประการ
มาตรการดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเริ่มมีผลใช้บังคับ ต่อเมื่อกระทรวงการคลังได้ออกหนังสือเวียนแจ้งให้สถานพยาบาล และผู้เกี่ยวข้องทราบโดยกำหนดวันบังคับใช้ให้ทราบล่วงหน้านานพอสมควร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีผลใช้บังคับได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป ดังนั้น ในระหว่างนี้ ข้าราชการยังมีสิทธิเบิกตามสิทธิเดิมทุกประการ
อนึ่ง ในการตรวจสุขภาพประจำปีดังที่ข้าราชการเคยมีสิทธิเบิกค่าตรวจสุขภาพมาโดยตลอดนั้น ทางราชการยังให้สิทธิในการเบิกได้ตามปกติ แต่ต้องเป็นการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของรัฐ สำหรับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน ก็ให้ยกเลิกสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลทุกประเภทไปก่อน ยกเว้นมีกรณีจำเป็นหรือฉุกเฉิน เช่น ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่โดยที่มาตรการในข้อนี้เป็นเรื่องที่เคยกำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกา ดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขจึงต้องกระทำโดยการออกพระราชกฤษฏีกาฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจึงยังไม่มีผลจนกว่าพระราชกฤษฏีกาจะบังคับใช้ โดยจะได้ออกคำชี้แจงให้ทราบล่วงหน้าต่อไปว่าเริ่มมีผลใช้บังคับในวันใด
ทางราชการเชื่อว่า มาตรการที่กล่าวมาข้างต้นจะมีส่วนช่วยควบคุมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปโดยรัดกุม ประหยัด มีประสิทธิภาพ โดยให้กระทบสิทธิเดิมของข้าราชการน้อยที่สุด มิฉะนั้นก็ต้องมีทางเลือกอื่นทดแทน เช่น ต้องหันมาใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งก็ครอบคลุมกว้างขวางเพียงพออยู่แล้ว ต้องงดการเบิกค่าธรรมเนียมแพทย์ สำหรับคลีนิกนอกเวลา แต่ก็ยังคงเบิกค่ายาและอื่น ๆ ได้ตามปกติ ต้องงดการเบิกค่าห้องพิเศษและค่าอาหารห้องพิเศษที่เกินจำนวนวันอันได้กำหนดไว้ แต่ก็ยังเบิกค่าห้องและค่าอาหารธรรมดาได้ ส่วนการตรวจสุขภาพต้องงดการเบิกในกรณีเข้าตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลเอกชน แต่ก็เบิกค่าตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของรัฐได้ ในระยะยาวเมื่อรัฐนำระบบกองทุนประกันสุขภาพมาใช้สิทธิประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาลของข้าราชการก็จะดีขึ้น
เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. กรมธนารักษ์ได้ขออนุมัติโอนเงินงบประมาณเหลือจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 ของแผนงานส่งเสริมกีฬา และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจโครงการก่อสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 17,300,000 บาท มาเป็นค่าออกแบบโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสำนักงบประมาณขอระงับการขอโอนงบประมาณดังกล่าวไว้ก่อน โดยขอให้กรมธนารักษ์ดำเนินการในเรื่องการขอคืนสถานที่และการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยก่อน แล้วให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในเรื่องเงินต่อไป
2. กรมธนารักษ์ได้เชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงบประมาณ และจังหวัดเชียงใหม่ ประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งที่ประชุมมีมติ ดังนี้
2.1 กรมปศุสัตว์ไม่ขัดข้องที่จะส่งคืนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ชม. 40 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้จัดทำโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ และที่ประชุมเห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีศักยภาพและเหมาะสมที่จะจัดทำโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่
2.2 มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการจัดทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ และจัดทำร่างข้อกำหนดโครงการ โดยขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกรมส่งเสริมการส่งออก และหลังจากที่ศึกษาความเป็นไปได้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ใหนกรมธนารักษ์ ขอรับการสนับสนุนเงินค่าออกแบบจากกองทุนการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออกต่อไป และมอบหมายให้กรมธนารักษ์ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการศึกษามาแล้ว ในกรณีให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วย
อนึ่ง กระทรวงการคลังจะได้รายงานความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวให้ทราบต่อไป
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 มกราคม 2541 คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติแนวทางการแก้ไขปัญหา การชุมนุมเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน เป็นแนวปฏิบัติ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1. ในสถานการณ์ด้านแรงงานซึ่งเกิดจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นให้กระทรวงแรงงานฯ จัดประชุมผู้นำองค์กรนายจ้าง/ลูกจ้าง ร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหา และร่วมกันหาแนวทาง/มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องมิให้สถานการณ์ลุกลาม หรือมีการนำวิธีการที่รุนแรง ผิดกฏหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรอง หรือกดดันคู่กรณีและรัฐบาล
2. ให้กระทรวงแรงงานฯ ประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อเท็จจริงการดำเนินการของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้อง โดยเน้นประเด็นถึงบทบาทของรัฐบาลที่มีความเข้าใจถึงปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยขอความร่วมมือให้ใช้การเจรจาโดยสันติวิธีเป็นแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งขอให้ผู้เกี่ยวข้องได้แจ้งข้อมูลข่าวสารให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหาในโอกาสแรก เพื่อให้การแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
3. ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดำเนินการปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย อันเป็นแนวปฏิบัติที่กำหนดหลักการและแนวทางการดำเนินการด้านแรงงานสัมพันธ์ เพื่อป้องกันและระงับข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งผ่านความเห็นชอบโดยระบบไตรภาคี และใช้มาตั้งแต่ปี 2524 ปรับปรุงเมื่อปี 2539 โดยให้พิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตปัจจุบัน
4. กรณีปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาท ที่มีการชุมนุมประท้วงเรียกร้องด้านแรงงาน ซึ่งในบางสถานการณ์เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยสั่งการอย่างทันที ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาแรงงานและความสงบเรียบร้อย ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบรรจง กันตวิรุฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.ชุมพล อัตถศาสตร์) และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินการคลี่คลายสถานการณ์ให้เป็นไปโดยความสงบเรียบร้อย
5. กรณีเกิดปัญหาการชุมนุมประท้วง/เรียกร้องของราษฏร หรือกลุ่มพลังต่าง ๆ ต่อรัฐบาลให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ย เข้าไปเสริมส่วนราชการเจ้าของเรื่องในการดำเนินการเจรจาคลี่คลายปัญหาระหว่างคู่กรณี เมื่อได้รับการประสานขอความร่วมมือ
เรื่อง มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) เสนอ เพื่อกำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อไป ดังนี้
หลักการ
1. ควบคุมระดับค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐไม่ให้เพิ่มขึ้น
2. เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้เป็นไปอย่างประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. สร้างจิตสำนึกความเสียสละและความสามัคคีในหมู่ข้าราชการเพื่อร่วมกับคนในชาติฟันฝ่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วยกัน
มาตรการ
1. ให้ชะลอการพิจารณาคำขอตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรงงสาธารณสุข ไปก่อนจนกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเอื้ออำนวย
2. ให้ทุกส่วนราชการระงับข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดสำหรับตำแหน่งที่กำหนดขึ้นใหม่ รวมทั้งให้ชะลอการพิจารณาเรื่องค้างพิจารณาของ กงช. กระทรวงการคลัง หรือคณะรัฐมนตรี ที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านบุคคลภาครัฐทั้งในปีงบประมาณ 2541 และ 2542
3. ในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือขยายหน่วยงานในกรมหรือภายในหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการและการโอนหรือรวมส่วนราชการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือการดำเนินการที่เป็นผลจากแผน Administrative Renewal ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ IMF
4. ให้ทุกส่วนราชการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้อยู่ในกรอบของงบประมาณปี 2541 โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนการตัดลดภารกิจรอง แผนการเพิ่มประสิทธิภาพ และแผนลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
5. ให้คงงบประมาณเงินประจำตำแหน่งในปีงบประมาณ 2541 ไว้ตามที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 4,600 ล้านบาท (ซึ่งน้อยกว่าจากยอดเงินงบประมาณที่ปรับลดลง 500 ล้านบาท)
6. ให้ กงช. ชะลอการพิจารณาคำขอกำหนดตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งของส่วนราชการไว้ก่อนจนกว่าส่วนราชการจะแสดงให้เห็นว่าการกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวไม่มีผลให้งบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำปี ของส่วนราชการนั้นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการนำเงินในหมวดเงินเดือนค่าจ้างประจำมาเกลี่ยมาใช้เป็นเงินประจำตำแหน่งได้
สำหรับส่วนราชการใดที่มีความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องกำหนดตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้น และมีงบประมาณในหมวดเงินเดือนค่าจ้างประจำไม่เพียงพอที่จะนำมาเกลี่ย ให้เสนอเหตุผลความจำเป็นพร้อมแผนการตัดลดภารกิจรอง แผนการเพิ่มประสิทธิภาพ และแผนลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อนเสนอ กงช. พิจารณา
7. ให้พิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่ไม่มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ เช่น รายจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการเป็นต้น โดยมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจ ช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2541
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 27 มกราคม 2541
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2541 และคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2541 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า จากสภาพฝนในปี 2540 เฉลี่ยทั่วประเทศต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประมาณร้อยละ 8 ทำให้ปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในภาคต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค ทั้งในเขตชลประทาน และนอกชลประทาน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2541 โดยมีหน้าที่และการจัดการ ดังนี้
1. พิจารณาวางแผน สั่งการ ตรวจสอบ ติดตาม และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือแก่ราษฏรทั่วประเทศ
2. พิจารณาอนุมัติการปิด-เปิด อาคารชลประทานต่าง ๆ รวมทั้งสั่งการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามสถานีสูบต่าง ๆ ได้ในกรณีที่จำเป็น
3. สั่งการหรืออนุมัติการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำทุกประเภท เพื่อปฏิบัติการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขสภาวะภัยแล้งให้สื่อมวลชนหรือราษฏรทราบเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ดังนี้
- คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี พ.ศ. 2541
- คณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้งปี 2541
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่...) พ.ศ. ...
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งได้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฏรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฏรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9, 10, 11, 68, 109 และ 117 เพื่อปรับปรุงแก้ไขกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายให้มีความเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้นในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. แก้ไขจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคน จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ห้าหมื่นบาทเป็นไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท
2. แก้ไขจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคน จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท เป็นไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
3. แก้ไขจำนวนเงินที่โจทย์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาล จากเดิมซึ่งกำหนดไว้หนึ่งพันบาทเป็นห้าพันบาท นอกจากนี้ยังได้บัญญัติเปิดโอกาสให้ศาลเรียกให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้
4. แก้ไขจำนวนเงินที่บุคคลล้มละลายกรณีขอปลดจากล้มละลายต้องนำเงินมาไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จากเดิม ซึ่งกำหนดว่าตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเห็นสมควรไม่เกินห้าร้อยบาท เป็นตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเห็นสมควร
5. แก้ไขคำว่า "ภริยาของลูกหนี้" เป็น "คู่สมรสของลูกหนี้" เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากกฏหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียว หรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท นอกจากนี้ บทบัญญัติบางมาตรา ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ในส่วนที่เกี่ยวกับการวางเงินประกันค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการที่จะใช้แก่ภริยาผู้ล้มละลายยังไม่เหมาะสมจึงสมควรได้รับการแก้ไข--จบ--
เรื่อง การปรับปรุงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีรับทราบ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า ได้เชิญผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการคลัง และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีมาร่วมหารือเกี่ยวกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 เรื่อง รับทราบมาตรการระยะสั้นในการปรับปรุงระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ และให้กระทรวงการคลังรับไปดำเนินการต่อไปได้นั้น ได้ข้อสรุปซึ่งควรซักซ้อมความเข้าใจไปยังผู้เกี่ยวข้องดังนี้
1. ในการเบิกค่ายา ข้าราชการยังคงเบิกได้ตามปกติ แต่ในกรณีที่สถานพยาบาลใช้ยานอกบัญชีที่ได้จัดทำไว้เป็นบัญชียาหลักแห่งชาติ ข้าราชการผู้ป่วยไม่มีสิทธิเบิกค่ายานอกบัญชียาหลักแห่งชาติดังกล่าว ยกเว้นคณะกรรมการการแพทย์ของสถานพยาบาลแต่ละแห่งจะวินิจฉัยว่าเป็นกรณีจำเป็นต้องใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
อนึ่ง บัญชียาหลักแห่งชาติได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยไม่เกี่ยวกับการที่ยานั้นผลิตขึ้น ภายในหรือนอกประเทศ ทั้งนี้ เป็นที่รับรองแล้วว่า โดยปกติแล้วยาหลักแห่งชาติจะครอบคลุมยาที่ใช้ในการรักษาพยาบาลตามปกติเกือบทุกขนาน ดังนั้นข้าราชการผู้ป่วยควรสอบถามแพทย์ผู้สั่งยาว่า ยานั้น ๆ อยู่ในบัญชีหรือไม่ อีกนัยหนึ่งคือ จะสามารถนำไปเบิกได้หรือไม่ หากไม่อาจเบิกได้ แต่ยังประสงค์จะใช้ยาดังกล่าว ก็เป็นสิทธิของข้าราชการผู้ป่วย และถ้ามีแพทย์อื่น นอกจากแพทย์เจ้าของไข้ร่วมเป็นกรรมการแพทย์รับรองว่าจำเป็นต้องใช้ยานั้น ข้าราชการผู้นั้นก็ยังมีสิทธินำไปเบิกได้อยู่นั่นเอง
2. ข้าราชการที่ใช้บริการคลีนิกสถานพยาบาลของรัฐ ซึ่งเปิดทำการนอกเวลาราชการไม่มีสิทธินำใบเสร็จค่าธรรมเนียมแพทย์สำหรับคลีนิกนอกเวลาไปเบิก แต่ค่ายาและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ยังสามารถเบิกได้ตามปกติ ส่วนแพทย์ที่ให้บริการนอกเวลาก็ยังมีสิทธิเบิกค่าทำการจากสถานพยาบาลนั้น ๆ ตามสิทธิเดิมของตน
3. ข้าราชการผู้ป่วยที่ใช้ห้องพิเศษ จะเบิกค่าห้องพิเศษ และค่าอาหารได้ตามอัตราและจำนวนวันที่กระทรวงการคลังจะมีประกาศกำหนดต่อไป โดยคำนึงถึงสภาพความจำเป็นของผู้ป่วยแต่คนไข้ที่ใช้ห้องธรรมดา ยังมีสิทธิเบิกค่าห้องธรรมดาและค่าอาหารได้ตามสิทธิเดิมทุกประการ
มาตรการดังกล่าวข้างต้นนี้ จะเริ่มมีผลใช้บังคับ ต่อเมื่อกระทรวงการคลังได้ออกหนังสือเวียนแจ้งให้สถานพยาบาล และผู้เกี่ยวข้องทราบโดยกำหนดวันบังคับใช้ให้ทราบล่วงหน้านานพอสมควร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มมีผลใช้บังคับได้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2541 เป็นต้นไป ดังนั้น ในระหว่างนี้ ข้าราชการยังมีสิทธิเบิกตามสิทธิเดิมทุกประการ
อนึ่ง ในการตรวจสุขภาพประจำปีดังที่ข้าราชการเคยมีสิทธิเบิกค่าตรวจสุขภาพมาโดยตลอดนั้น ทางราชการยังให้สิทธิในการเบิกได้ตามปกติ แต่ต้องเป็นการตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของรัฐ สำหรับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลเอกชน ก็ให้ยกเลิกสิทธิในการเบิกค่ารักษาพยาบาลทุกประเภทไปก่อน ยกเว้นมีกรณีจำเป็นหรือฉุกเฉิน เช่น ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น แต่โดยที่มาตรการในข้อนี้เป็นเรื่องที่เคยกำหนดไว้ในพระราชกฤษฏีกา ดังนั้นการปรับปรุงแก้ไขจึงต้องกระทำโดยการออกพระราชกฤษฏีกาฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจึงยังไม่มีผลจนกว่าพระราชกฤษฏีกาจะบังคับใช้ โดยจะได้ออกคำชี้แจงให้ทราบล่วงหน้าต่อไปว่าเริ่มมีผลใช้บังคับในวันใด
ทางราชการเชื่อว่า มาตรการที่กล่าวมาข้างต้นจะมีส่วนช่วยควบคุมการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้เป็นไปโดยรัดกุม ประหยัด มีประสิทธิภาพ โดยให้กระทบสิทธิเดิมของข้าราชการน้อยที่สุด มิฉะนั้นก็ต้องมีทางเลือกอื่นทดแทน เช่น ต้องหันมาใช้ยาตามบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งก็ครอบคลุมกว้างขวางเพียงพออยู่แล้ว ต้องงดการเบิกค่าธรรมเนียมแพทย์ สำหรับคลีนิกนอกเวลา แต่ก็ยังคงเบิกค่ายาและอื่น ๆ ได้ตามปกติ ต้องงดการเบิกค่าห้องพิเศษและค่าอาหารห้องพิเศษที่เกินจำนวนวันอันได้กำหนดไว้ แต่ก็ยังเบิกค่าห้องและค่าอาหารธรรมดาได้ ส่วนการตรวจสุขภาพต้องงดการเบิกในกรณีเข้าตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลเอกชน แต่ก็เบิกค่าตรวจสุขภาพในสถานพยาบาลของรัฐได้ ในระยะยาวเมื่อรัฐนำระบบกองทุนประกันสุขภาพมาใช้สิทธิประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาลของข้าราชการก็จะดีขึ้น
เรื่อง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. กรมธนารักษ์ได้ขออนุมัติโอนเงินงบประมาณเหลือจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2540 ของแผนงานส่งเสริมกีฬา และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจโครงการก่อสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 17,300,000 บาท มาเป็นค่าออกแบบโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งสำนักงบประมาณขอระงับการขอโอนงบประมาณดังกล่าวไว้ก่อน โดยขอให้กรมธนารักษ์ดำเนินการในเรื่องการขอคืนสถานที่และการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เรียบร้อยก่อน แล้วให้ขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในเรื่องเงินต่อไป
2. กรมธนารักษ์ได้เชิญหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการส่งออก สำนักงบประมาณ และจังหวัดเชียงใหม่ ประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งที่ประชุมมีมติ ดังนี้
2.1 กรมปศุสัตว์ไม่ขัดข้องที่จะส่งคืนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียน ชม. 40 อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้จัดทำโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ และที่ประชุมเห็นว่าที่ดินดังกล่าวมีศักยภาพและเหมาะสมที่จะจัดทำโครงการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่
2.2 มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับไปดำเนินการจัดทำการศึกษาถึงความเป็นไปได้ และจัดทำร่างข้อกำหนดโครงการ โดยขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากกรมส่งเสริมการส่งออก และหลังจากที่ศึกษาความเป็นไปได้ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ใหนกรมธนารักษ์ ขอรับการสนับสนุนเงินค่าออกแบบจากกองทุนการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออกต่อไป และมอบหมายให้กรมธนารักษ์ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้ดำเนินการศึกษามาแล้ว ในกรณีให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนในการก่อสร้างศูนย์ประชุมแห่งชาติ จังหวัดเชียงใหม่ ด้วย
อนึ่ง กระทรวงการคลังจะได้รายงานความคืบหน้าในเรื่องดังกล่าวให้ทราบต่อไป
เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 27 มกราคม 2541 คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติแนวทางการแก้ไขปัญหา การชุมนุมเรียกร้องของผู้ใช้แรงงาน เป็นแนวปฏิบัติ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ ดังนี้
1. ในสถานการณ์ด้านแรงงานซึ่งเกิดจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มจำนวนและทวีความรุนแรงมากขึ้นให้กระทรวงแรงงานฯ จัดประชุมผู้นำองค์กรนายจ้าง/ลูกจ้าง ร่วมกับหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจถึงปัญหา และร่วมกันหาแนวทาง/มาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้องมิให้สถานการณ์ลุกลาม หรือมีการนำวิธีการที่รุนแรง ผิดกฏหมายมาใช้เป็นเครื่องมือในการต่อรอง หรือกดดันคู่กรณีและรัฐบาล
2. ให้กระทรวงแรงงานฯ ประชาสัมพันธ์ชี้แจงข้อเท็จจริงการดำเนินการของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องในการป้องกันแก้ไขปัญหาการชุมนุมเรียกร้อง โดยเน้นประเด็นถึงบทบาทของรัฐบาลที่มีความเข้าใจถึงปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ และมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยขอความร่วมมือให้ใช้การเจรจาโดยสันติวิธีเป็นแนวทางในการแก้ไข รวมทั้งขอให้ผู้เกี่ยวข้องได้แจ้งข้อมูลข่าวสารให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้รับทราบปัญหาในโอกาสแรก เพื่อให้การแก้ไขคลี่คลายสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
3. ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมดำเนินการปรับปรุงแนวปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการแรงงานสัมพันธ์ในประเทศไทย อันเป็นแนวปฏิบัติที่กำหนดหลักการและแนวทางการดำเนินการด้านแรงงานสัมพันธ์ เพื่อป้องกันและระงับข้อขัดแย้ง ข้อพิพาทแรงงาน ซึ่งผ่านความเห็นชอบโดยระบบไตรภาคี และใช้มาตั้งแต่ปี 2524 ปรับปรุงเมื่อปี 2539 โดยให้พิจารณาปรับปรุงให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในภาวะวิกฤตปัจจุบัน
4. กรณีปัญหาข้อขัดแย้ง ข้อพิพาท ที่มีการชุมนุมประท้วงเรียกร้องด้านแรงงาน ซึ่งในบางสถานการณ์เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า หรือมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จำเป็นต้องมีการวินิจฉัยสั่งการอย่างทันที ให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับปัญหาแรงงานและความสงบเรียบร้อย ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (นายบรรจง กันตวิรุฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (พล.ต.อ.ชุมพล อัตถศาสตร์) และอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นผู้ใช้ดุลพินิจตัดสินใจสั่งการหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ดำเนินการคลี่คลายสถานการณ์ให้เป็นไปโดยความสงบเรียบร้อย
5. กรณีเกิดปัญหาการชุมนุมประท้วง/เรียกร้องของราษฏร หรือกลุ่มพลังต่าง ๆ ต่อรัฐบาลให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมจัดเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการเจรจาไกล่เกลี่ย เข้าไปเสริมส่วนราชการเจ้าของเรื่องในการดำเนินการเจรจาคลี่คลายปัญหาระหว่างคู่กรณี เมื่อได้รับการประสานขอความร่วมมือ
เรื่อง มาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักการและมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) เสนอ เพื่อกำหนดให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดต่อไป ดังนี้
หลักการ
1. ควบคุมระดับค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐไม่ให้เพิ่มขึ้น
2. เพิ่มความเข้มงวดในการดูแลค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้เป็นไปอย่างประหยัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
3. สร้างจิตสำนึกความเสียสละและความสามัคคีในหมู่ข้าราชการเพื่อร่วมกับคนในชาติฟันฝ่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจด้วยกัน
มาตรการ
1. ให้ชะลอการพิจารณาคำขอตามข้อเสนอของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรงงสาธารณสุข ไปก่อนจนกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเอื้ออำนวย
2. ให้ทุกส่วนราชการระงับข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง สวัสดิการ หรือค่าตอบแทนอื่นใดสำหรับตำแหน่งที่กำหนดขึ้นใหม่ รวมทั้งให้ชะลอการพิจารณาเรื่องค้างพิจารณาของ กงช. กระทรวงการคลัง หรือคณะรัฐมนตรี ที่จะส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายด้านบุคคลภาครัฐทั้งในปีงบประมาณ 2541 และ 2542
3. ในปีงบประมาณ 2541 และ 2542 ให้ส่วนราชการระงับการขอจัดตั้งหน่วยงานใหม่ หรือขยายหน่วยงานในกรมหรือภายในหน่วยงานเทียบเท่ากรมขึ้นไป ยกเว้นการจัดตั้งส่วนราชการและการโอนหรือรวมส่วนราชการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญหรือการดำเนินการที่เป็นผลจากแผน Administrative Renewal ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่รัฐบาลจะดำเนินการตามข้อตกลงกับ IMF
4. ให้ทุกส่วนราชการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลให้อยู่ในกรอบของงบประมาณปี 2541 โดยส่วนราชการจะต้องจัดทำแผนการตัดลดภารกิจรอง แผนการเพิ่มประสิทธิภาพ และแผนลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
5. ให้คงงบประมาณเงินประจำตำแหน่งในปีงบประมาณ 2541 ไว้ตามที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 4,600 ล้านบาท (ซึ่งน้อยกว่าจากยอดเงินงบประมาณที่ปรับลดลง 500 ล้านบาท)
6. ให้ กงช. ชะลอการพิจารณาคำขอกำหนดตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งของส่วนราชการไว้ก่อนจนกว่าส่วนราชการจะแสดงให้เห็นว่าการกำหนดให้ตำแหน่งดังกล่าวไม่มีผลให้งบประมาณหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำปี ของส่วนราชการนั้นเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการนำเงินในหมวดเงินเดือนค่าจ้างประจำมาเกลี่ยมาใช้เป็นเงินประจำตำแหน่งได้
สำหรับส่วนราชการใดที่มีความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงมิได้ที่จะต้องกำหนดตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจำตำแหน่งเพิ่มขึ้น และมีงบประมาณในหมวดเงินเดือนค่าจ้างประจำไม่เพียงพอที่จะนำมาเกลี่ย ให้เสนอเหตุผลความจำเป็นพร้อมแผนการตัดลดภารกิจรอง แผนการเพิ่มประสิทธิภาพ และแผนลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ เพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณก่อนเสนอ กงช. พิจารณา
7. ให้พิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายด้านบุคคลที่ไม่มีผลกระทบกับคนส่วนใหญ่ เช่น รายจ่ายค่าเช่าบ้านข้าราชการเป็นต้น โดยมอบให้กระทรวงการคลังรับไปพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วต่อไป
เรื่อง การจัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจ ช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2541
ในการประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 27 มกราคม 2541
คณะรัฐมนตรีรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ปี พ.ศ. 2541 และคณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี พ.ศ. 2541 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า จากสภาพฝนในปี 2540 เฉลี่ยทั่วประเทศต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยประมาณร้อยละ 8 ทำให้ปริมาณน้ำใช้การได้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ในภาคต่าง ๆ อยู่ในเกณฑ์ต่ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และการอุปโภคบริโภค ทั้งในเขตชลประทาน และนอกชลประทาน ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้จัดตั้งศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง ปี 2541 โดยมีหน้าที่และการจัดการ ดังนี้
1. พิจารณาวางแผน สั่งการ ตรวจสอบ ติดตาม และแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งให้การช่วยเหลือแก่ราษฏรทั่วประเทศ
2. พิจารณาอนุมัติการปิด-เปิด อาคารชลประทานต่าง ๆ รวมทั้งสั่งการสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามสถานีสูบต่าง ๆ ได้ในกรณีที่จำเป็น
3. สั่งการหรืออนุมัติการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำทุกประเภท เพื่อปฏิบัติการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง
4. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขสภาวะภัยแล้งให้สื่อมวลชนหรือราษฏรทราบเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการและคณะทำงาน ดังนี้
- คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี พ.ศ. 2541
- คณะทำงานศูนย์เฉพาะกิจช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้งปี 2541
เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่...) พ.ศ. ...
ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ซึ่งได้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฏรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฏรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โดยแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 9, 10, 11, 68, 109 และ 117 เพื่อปรับปรุงแก้ไขกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายให้มีความเหมาะสมและรวดเร็วยิ่งขึ้นในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1. แก้ไขจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคน จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ห้าหมื่นบาทเป็นไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท
2. แก้ไขจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคน จากเดิมซึ่งกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท เป็นไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
3. แก้ไขจำนวนเงินที่โจทย์ต้องวางเงินประกันค่าใช้จ่ายไว้ต่อศาล จากเดิมซึ่งกำหนดไว้หนึ่งพันบาทเป็นห้าพันบาท นอกจากนี้ยังได้บัญญัติเปิดโอกาสให้ศาลเรียกให้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์วางเงินประกันค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้
4. แก้ไขจำนวนเงินที่บุคคลล้มละลายกรณีขอปลดจากล้มละลายต้องนำเงินมาไว้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จากเดิม ซึ่งกำหนดว่าตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเห็นสมควรไม่เกินห้าร้อยบาท เป็นตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเห็นสมควร
5. แก้ไขคำว่า "ภริยาของลูกหนี้" เป็น "คู่สมรสของลูกหนี้" เพื่อให้มีความหมายครอบคลุมมากขึ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากกฏหมายที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันได้กำหนดเกี่ยวกับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิจะฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลายได้ต่อเมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาเป็นหนี้เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์คนเดียว หรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท หรือลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลเป็นหนี้เจ้าหนี้ ผู้เป็นโจทย์คนเดียวหรือหลายคนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าห้าแสนบาท นอกจากนี้ บทบัญญัติบางมาตรา ของพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ในส่วนที่เกี่ยวกับการวางเงินประกันค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมในขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับมาตรการที่จะใช้แก่ภริยาผู้ล้มละลายยังไม่เหมาะสมจึงสมควรได้รับการแก้ไข--จบ--