ทำเนียบรัฐบาล--25 พ.ย.--บิสนิวส์
วันนี้ (24 พ.ย. 40) เวลา 9.30 น. ณ ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี นายฮาเวีย ทราวิโน คานตู (Javier Trevino Cantu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเกี่ยวกับความร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างไทย-เม็กซิโก และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของไทย มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ได้กล่าวแสดงความยินดีที่การเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้จะเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความร่วมมือระหว่างไทย-เม็กซิโกให้เพิ่มพูนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองฝ่ายได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมเจรจาและจัดทำความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างไทย-เม็กซิโก ซึ่งจะมีการลงนามในวันนี้ (24 พฤศจิกายน 2540) และว่าเมื่อประเทศทั้งสองมีการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงดังกล่าวแล้ว ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศทั้งสองเป็นอย่างมาก
ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายยังกล่าวถึงการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจเอเปค ณ นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยจะเป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกระชับความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ยังได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอรับสถานะเป็นประเทศคู่เจรจาโดยตรงกับกลุ่มอาเซียน ด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ได้ให้ความมั่นใจว่าแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ แต่ความร่วมมือต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศได้ทำร่วมกันไว้ จะยังคงดำเนินต่อไป รวมทั้งยินดีที่จะให้ความสนับสนุนในภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างต่อเนื่องด้วย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ยังได้ขอรับทราบประสบการณ์และคำแนะนำจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโกในเรื่องการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในเม็กซิโกระหว่างปี 2537-2538 ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก กล่าวว่า ประสบการณ์ที่ประสบในเม็กซิโกเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากของไทย และเป็นสิ่งที่ได้สร้างโอกาสที่ท้าทายให้แก่เม็กซิโก จนส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 6.5 และสามารถสร้างงานให้แก่ประชาชนถึง 1 ล้านคน ในขณะเดียวกัน เม็กซิโกยังมีความผสมผสานกลมกลืนกันอย่างดี ระหว่างด้านการเมืองและเศรษฐกิจ มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และมีการสร้างวินัยทางการเงินการคลัง เป็นต้น การขอรับความช่วยเหลือจากกลุ่ม NAFTA และกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ส่งผลให้เม็กซิโกสามารถกลายเป็นประเทศที่มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจในกลุ่มความร่วมมือภูมิภาคลาตินอเมริกาและอเมริกาใต้ และดำเนินนโยบายส่งเสริมระบบการค้าเสรีตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) จนทำให้ในปัจจุบัน เม็กซิโกมีการมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีศักยภาพในการนำเข้าและส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง ยังมีการขาดดุลในจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้ เม็กซิโกยังได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร โทรคมนาคม การท่าอากาศยาน ด้านพลังงานและไฟฟ้า ฯลฯ ตลอดจน มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาสังคมคิดเป็นร้อยละ 50 พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ยังให้ความเห็นว่าโลกในยุคที่เทคโนโลยีและข่าวสารต่าง ๆ มีการส่งต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะข้อมูลด้านเศรษฐกิจและการเงิน จะช่วยเอื้ออำนวยให้การ ตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยในขณะนี้ สืบเนื่องมาจากความรุ่งเรืองของไทยที่ดำเนินติดต่อกันมาระยะหนึ่ง และเมื่อถึงจุดที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมดุล (imbalance) จึงเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้พยายามที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบ และเชื่อว่า การที่ประเทศยึดมั่นที่จะปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินตามที่ได้ทำความตกลงไว้กับ IMF อย่างเคร่งครัด นั้น จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถฟื้นฟูสถานะทางเศรษฐกิจกลับคืนมาได้เป็นผลสำเร็จ และว่า ในขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ต่างกำลังประสบกับปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะหากภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งประสบสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงแล้ว ในที่สุด ก็อาจจะก่อให้เกิดสภาวะวิกฤตต่อโลกโดยรวมได้--จบ--
วันนี้ (24 พ.ย. 40) เวลา 9.30 น. ณ ห้องสีเหลือง ตึกสันติไมตรี นายฮาเวีย ทราวิโน คานตู (Javier Trevino Cantu) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายไชยยศ สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยอย่างเป็นทางการ และได้สนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเกี่ยวกับความร่วมมือแบบทวิภาคีระหว่างไทย-เม็กซิโก และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของไทย มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ได้กล่าวแสดงความยินดีที่การเดินทางมาเยือนประเทศไทยครั้งนี้จะเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความร่วมมือระหว่างไทย-เม็กซิโกให้เพิ่มพูนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองฝ่ายได้มีบทบาทสำคัญในการร่วมเจรจาและจัดทำความตกลงพื้นฐานว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการและวิทยาศาสตร์ระหว่างไทย-เม็กซิโก ซึ่งจะมีการลงนามในวันนี้ (24 พฤศจิกายน 2540) และว่าเมื่อประเทศทั้งสองมีการดำเนินการในโครงการต่าง ๆ ภายใต้ความตกลงดังกล่าวแล้ว ย่อมจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศทั้งสองเป็นอย่างมาก
ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายยังกล่าวถึงการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจเอเปค ณ นครแวนคูเวอร์ แคนาดา ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยจะเป็นเวทีสำหรับประเทศสมาชิกได้มีโอกาสร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และกระชับความร่วมมือระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากขึ้น พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ยังได้แจ้งความประสงค์ที่จะขอรับสถานะเป็นประเทศคู่เจรจาโดยตรงกับกลุ่มอาเซียน ด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ได้ให้ความมั่นใจว่าแม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลชุดใหม่ แต่ความร่วมมือต่าง ๆ ที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทั้งสองประเทศได้ทำร่วมกันไว้ จะยังคงดำเนินต่อไป รวมทั้งยินดีที่จะให้ความสนับสนุนในภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของตนอย่างต่อเนื่องด้วย
นอกจากนี้ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ยังได้ขอรับทราบประสบการณ์และคำแนะนำจากรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโกในเรื่องการแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในเม็กซิโกระหว่างปี 2537-2538 ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก กล่าวว่า ประสบการณ์ที่ประสบในเม็กซิโกเป็นสิ่งที่แตกต่างออกไปจากของไทย และเป็นสิ่งที่ได้สร้างโอกาสที่ท้าทายให้แก่เม็กซิโก จนส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 6.5 และสามารถสร้างงานให้แก่ประชาชนถึง 1 ล้านคน ในขณะเดียวกัน เม็กซิโกยังมีความผสมผสานกลมกลืนกันอย่างดี ระหว่างด้านการเมืองและเศรษฐกิจ มีการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และมีการสร้างวินัยทางการเงินการคลัง เป็นต้น การขอรับความช่วยเหลือจากกลุ่ม NAFTA และกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ส่งผลให้เม็กซิโกสามารถกลายเป็นประเทศที่มีบทบาทนำทางเศรษฐกิจในกลุ่มความร่วมมือภูมิภาคลาตินอเมริกาและอเมริกาใต้ และดำเนินนโยบายส่งเสริมระบบการค้าเสรีตามข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) จนทำให้ในปัจจุบัน เม็กซิโกมีการมูลค่าการค้ารวมทั้งสิ้น 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ และมีศักยภาพในการนำเข้าและส่งออกเพิ่มมากขึ้น รวมทั้ง ยังมีการขาดดุลในจำนวนไม่มากนัก นอกจากนี้ เม็กซิโกยังได้ดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร โทรคมนาคม การท่าอากาศยาน ด้านพลังงานและไฟฟ้า ฯลฯ ตลอดจน มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาสังคมคิดเป็นร้อยละ 50 พร้อมกันนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศเม็กซิโก ยังให้ความเห็นว่าโลกในยุคที่เทคโนโลยีและข่าวสารต่าง ๆ มีการส่งต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะข้อมูลด้านเศรษฐกิจและการเงิน จะช่วยเอื้ออำนวยให้การ ตัดสินใจเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในไทยในขณะนี้ สืบเนื่องมาจากความรุ่งเรืองของไทยที่ดำเนินติดต่อกันมาระยะหนึ่ง และเมื่อถึงจุดที่สะท้อนให้เห็นถึงความไม่สมดุล (imbalance) จึงเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้พยายามที่จะเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนได้รับทราบ และเชื่อว่า การที่ประเทศยึดมั่นที่จะปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและการเงินตามที่ได้ทำความตกลงไว้กับ IMF อย่างเคร่งครัด นั้น จะช่วยให้ประเทศไทยสามารถฟื้นฟูสถานะทางเศรษฐกิจกลับคืนมาได้เป็นผลสำเร็จ และว่า ในขณะนี้ ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ต่างกำลังประสบกับปัญหาความตกต่ำทางเศรษฐกิจในลักษณะเดียวกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว เพราะหากภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่งประสบสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรงแล้ว ในที่สุด ก็อาจจะก่อให้เกิดสภาวะวิกฤตต่อโลกโดยรวมได้--จบ--