ทำเนียบรัฐบาล--22 เม.ย.--บิสนิวส์
วันนี้ (22 เมษายน 2541) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล นายชวนหลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ โครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็กและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (Memorandum of Understanding for Cooperation in Small Multi-Mission Satellite (SMMS) Project and Related Activities) พร้อมด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และมีผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว รวม 7 ประเทศ ได้แก่
1. นายซาอิด ยูซูพ ฮัสซาอิน ปลัดกระทรวงกลาโหมบังคลาเทศ
(H.E.Mr. Syed Yusuf Hussain Secretary of Ministry of Defense)
2. นายไบ ไบเออร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงด้านการบริหารอวกาศแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน
(H.E. Mr.Bai Baier, Vice Minister of China National Space Administration (CNSA))
3. ดร.เมห์ดี ทาเบชีอัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์โทรเลขและโทรศัพท์ (ด้านกิจการต่างประเทศ) อิหร่าน
(Lt.E. Dr.Mehdi Tabeshian, Deputy Minister for international Affairs, Islamic Republic of Iran)
4. ดร.แซ็ท บัทจากัล อธิบดีสำนักงานตรวจสอบด้านอุตุนิยมวิทยา พลังงานน้ำ และ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มองโกเลีย
(H.E. Dr. Z.Batjargal, Directer General, National Agency for Meteorology, Hydrology & Environment Monitering, Ministry of Nature and the Environment, Mougolis)
5. ดร.อับดุล มาจิด ประธานคณะกรรมการวิจัยด้านชั้นบรรยากาศเบื้องบนของอวกาศแห่งปากีสถาน
(Dr.Abdul Majid, Chairman of Pahistan Space upper Atmosphere Research Commission, Pahistan)
6. นายจอง คี ฮอง ที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย
(Mr.Jong-ki Hong, Counsellor, Embassy of Republic of Korea in Thailand)
7. นายมหิดล จันทรางกูร ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนประเทศไทย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการให้ประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมเข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจด้วยความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ในทางสันติ (Mou) โครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก (SMMS) และต่อมากระทรวงคมนาคมได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อวันที่ 2-5 กันยายน 2540 โดยมีผู้แทนจากประเทศจีน เกาหลี อิหร่าน อินโดนีเซีย และไทย และได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
อนึ่ง บันทึกความเข้าใจ (Mou) ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อร่วมกันศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก การศึกษาถึงพัฒนาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรมบุคลากรในโครงการดาวเทียมดังกล่าว
ในโอกาสนี้ ภายหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดี (Remark) สรุปสาระสำคัญว่า ในยุคปัจจุบันซึ่งระบบโทรคมนาคมได้ก้าวหน้าไปอย่างมากนั้นโลกจึงเล็กลงเรื่อย ๆ และประเทศต่าง ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น พัฒนาการต่างๆ เหล่านี้ จึงได้ทำให้กิจการเทคโนโลยีด้านอวกาศมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งของศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเป็นเจ้าภาพในการจัดการพิธีลงนามดังกล่าว และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อการส่งเสริมและการพัฒนากิจการในด้านเทคโนโลยีอวกาศขึ้นภายในภูมิภาคนี้ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังกล่าวแสดงความหวังว่า โครงการดังกล่าว จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าและพัฒนาการใหม่ ๆ ในด้านกิจการอวกาศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยรวมด้วย--จบ--
วันนี้ (22 เมษายน 2541) เวลา 10.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล นายชวนหลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ โครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็กและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (Memorandum of Understanding for Cooperation in Small Multi-Mission Satellite (SMMS) Project and Related Activities) พร้อมด้วยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และมีผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าว รวม 7 ประเทศ ได้แก่
1. นายซาอิด ยูซูพ ฮัสซาอิน ปลัดกระทรวงกลาโหมบังคลาเทศ
(H.E.Mr. Syed Yusuf Hussain Secretary of Ministry of Defense)
2. นายไบ ไบเออร์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงด้านการบริหารอวกาศแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน
(H.E. Mr.Bai Baier, Vice Minister of China National Space Administration (CNSA))
3. ดร.เมห์ดี ทาเบชีอัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงไปรษณีย์โทรเลขและโทรศัพท์ (ด้านกิจการต่างประเทศ) อิหร่าน
(Lt.E. Dr.Mehdi Tabeshian, Deputy Minister for international Affairs, Islamic Republic of Iran)
4. ดร.แซ็ท บัทจากัล อธิบดีสำนักงานตรวจสอบด้านอุตุนิยมวิทยา พลังงานน้ำ และ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ กระทรวงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มองโกเลีย
(H.E. Dr. Z.Batjargal, Directer General, National Agency for Meteorology, Hydrology & Environment Monitering, Ministry of Nature and the Environment, Mougolis)
5. ดร.อับดุล มาจิด ประธานคณะกรรมการวิจัยด้านชั้นบรรยากาศเบื้องบนของอวกาศแห่งปากีสถาน
(Dr.Abdul Majid, Chairman of Pahistan Space upper Atmosphere Research Commission, Pahistan)
6. นายจอง คี ฮอง ที่ปรึกษาประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทศไทย
(Mr.Jong-ki Hong, Counsellor, Embassy of Republic of Korea in Thailand)
7. นายมหิดล จันทรางกูร ปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนประเทศไทย
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการให้ประเทศไทย โดยกระทรวงคมนาคมเข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจด้วยความร่วมมือในการนำเทคโนโลยีอวกาศมาใช้ประโยชน์ในทางสันติ (Mou) โครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก (SMMS) และต่อมากระทรวงคมนาคมได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม เมื่อวันที่ 2-5 กันยายน 2540 โดยมีผู้แทนจากประเทศจีน เกาหลี อิหร่าน อินโดนีเซีย และไทย และได้มีมติเห็นชอบร่วมกันในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
อนึ่ง บันทึกความเข้าใจ (Mou) ดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อร่วมกันศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก การศึกษาถึงพัฒนาการเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและภาคพื้นดินที่เกี่ยวข้องกับโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก รวมถึงการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ การฝึกอบรมบุคลากรในโครงการดาวเทียมดังกล่าว
ในโอกาสนี้ ภายหลังการลงนามในบันทึกความเข้าใจ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดี (Remark) สรุปสาระสำคัญว่า ในยุคปัจจุบันซึ่งระบบโทรคมนาคมได้ก้าวหน้าไปอย่างมากนั้นโลกจึงเล็กลงเรื่อย ๆ และประเทศต่าง ๆ มีการติดต่อสัมพันธ์กันมากยิ่งขึ้น พัฒนาการต่างๆ เหล่านี้ จึงได้ทำให้กิจการเทคโนโลยีด้านอวกาศมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะที่เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งของศตวรรษที่ 21 ประเทศไทยมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการเป็นเจ้าภาพในการจัดการพิธีลงนามดังกล่าว และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับประเทศต่าง ๆ เพื่อการส่งเสริมและการพัฒนากิจการในด้านเทคโนโลยีอวกาศขึ้นภายในภูมิภาคนี้ ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรียังกล่าวแสดงความหวังว่า โครงการดังกล่าว จะมีส่วนช่วยผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าและพัฒนาการใหม่ ๆ ในด้านกิจการอวกาศในภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก โดยรวมด้วย--จบ--