ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.ค.--บิสนิวส์
ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน (กรอ.) ในวันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2541 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ที่เสนอโดยกระทรวงการคลัง สรุปได้ดังนี้
1) การเกิดภาวะวิกฤตการเงินได้ส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่อัตราเพิ่มสุทธิอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขเป็นการเร่งด่วนเพื่อให้มีแนวทางแก้ไขสินเชื่อที่มีปัญหาให้เป็นสินเชื่อปกติ (NPL Exit Procedure) ในการนี้ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศหลักเกณฑ์ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกัน เมื่อรวมกับการระงับ การรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ การจัดชั้นลูกหนี้ การกันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้จัดชั้น และมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แจ้งให้สถาบันการเงินทราบและถือปฎิบัติแล้ว
2) เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ได้ผลอย่างจริงจัง กระทรวงการคลังจึงได้ประสานงานกับสถาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และมอบหมายให้กรมสรรพากรกำหนดมาตรการทางภาษีส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในวันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2541 มาตรการที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
(1) ตราพระราชกฤษฎีกา ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรายได้ส่วนที่ลูกหนี้ได้รับจากการที่เจ้าหนี้ ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ปลดหนี้ให้กับลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(2) ตราพระราชกฤษฎีกา ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับธุรกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างลูกหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับเจ้าหนี้ ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(3) การออกกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ให้ครอบคลุมถึงกรณีหนี้ที่เจ้าหนี้ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้ปลดให้แก่ลูกหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้เตรียมการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และคำสั่งกำหนดแนวทางปฎิบัติในเรื่องดังกล่าวนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรไปพร้อมกัน ดังต่อไปนี้
1. กรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลดอัตราดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ ให้ถือเป็นกรณีที่เป็นเหตุอันสมควรตามประมวลรัษฎากร
2. กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเจ้าหนี้ได้ตกลงให้ลูกหนี้ชำระเงินต้นก่อนการชำระดอกเบี้ย ให้สามารถกระทำได้โดยถือเป็นกรณีที่เป็นเหตุอันสมควรเช่นกัน
3. กรณีการปรับปรุงรายได้ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สามารถหยุดรับรู้รายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ผิดชำระหนี้ติดต่อกันจากเดิมที่กำหนดไว้ 6 เดือน เป็น 3 เดือนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดและให้ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
4. กรณีภาษีซื้อจากการสร้างอาคารที่ใช้ประกอบกิจการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นภาษีซื้อต้องห้ามในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหากมีการขายหรือนำไปใช้นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น นำไปให้เช่าภายใน 3 ปีนับจากวันที่ก่อสร้างเสร็จโดยจะผ่อนปรนให้ยังคงมีสิทธิ์หักภาษีซอได้ หากเป็นการกระทำเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
สำหรับเงินภาษีที่คาดว่าจะสูญเสียจากมาตรการนี้จะมีไม่มากเพราะหากไม่ฟื้นฟูสภาพธุรกิจแล้ว รายได้จากภาษีอากรก็คงจะไม่มี และเชื่อว่าเมื่อธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้รัฐก็จะมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้น
กล่าวโดยสรุป มาตรการทางภาษีทั้งหมดนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่มีภาระหนี้สินจำนวนมากจนถึงขั้นอาจต้องปิดกิจการ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาวต่อไปในอนาคต
3) การบริหารจัดการให้เกิดการประนอมและปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้มาตรการที่ออกมาสามารถปฎิบัติได้ผล ซึ่งจะแยกออกตามประเภทของลูกหนี้ได้ ดังนี้
3.1) ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลและลูกหนี้ธุรกิจรายย่อย ในเรื่องลูกหนี้บุคคลกระทรวงการคลังได้มีการประชุมกับสมาคมธนาคารไทยแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2541 ขอให้ธนาคารพิจารณาผ่อนปรนหนี้ให้แก่ลูกค้าที่กู้เงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีและได้เริ่มดำเนินการแล้ว นอกจากนั้นกระทรวงการคลังก็ได้ขอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ผ่อนปรนให้ลูกค้าในลักษณะเดียวกัน
สำหรับธุรกิจรายย่อยนั้น ก็ได้ขอให้ธนาคารนำมาตรการส่งเสริมการประนอมหนี้และมาตรการลดหย่อนภาษีที่จะออกมาไปเร่งรัดใช้ต่อไป
3.2) สำหรับลูกหนี้รายใหญ่ นั้น เห็นว่าเพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สัมฤทธิผลอย่างจริงจัง ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้มีมติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานและมีผู้แทนจากองค์กรภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุนและสมาคมธนาคารต่างประเทศ เป็นกรรมการ โดยจะได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นกลาง และเป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของภาครัฐและภาคเอกชน เป็นรองประธาน ซึ่งจะทำงานเต็มเวลา คณะกรรมการชุดนี้จะเป็นคณะที่กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการเงินเกิดผลโดยเร็ว รวมทั้งติดตามความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ รองประธานของคณะกรรมการจะเป็นประธานของคณะอนุกรรมการระดับปฎิบัติการ ซึ่งจะประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ภาคเอกชน ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อประสานงานและสรุปข้อเท็จจริงเสนอให้ประธานของคณะอนุกรรมการผลักดันการปรับโครงสร้างหนี้ในระดับปฎิบัติการ และเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาหากมีประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้นับเป็นมาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวได้เร็วขึ้น อันจะส่งผลให้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินลดลง--จบ--
ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน (กรอ.) ในวันจันทร์ที่ 22 มิถุนายน 2541 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ที่เสนอโดยกระทรวงการคลัง สรุปได้ดังนี้
1) การเกิดภาวะวิกฤตการเงินได้ส่งผลให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของสถาบันการเงินที่อัตราเพิ่มสุทธิอย่างรวดเร็ว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการแก้ไขเป็นการเร่งด่วนเพื่อให้มีแนวทางแก้ไขสินเชื่อที่มีปัญหาให้เป็นสินเชื่อปกติ (NPL Exit Procedure) ในการนี้ เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2541 ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ประกาศหลักเกณฑ์ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และหลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกัน เมื่อรวมกับการระงับ การรับรู้ดอกเบี้ยค้างรับเป็นรายได้ การจัดชั้นลูกหนี้ การกันเงินสำรองสำหรับลูกหนี้จัดชั้น และมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แจ้งให้สถาบันการเงินทราบและถือปฎิบัติแล้ว
2) เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้ได้ผลอย่างจริงจัง กระทรวงการคลังจึงได้ประสานงานกับสถาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และมอบหมายให้กรมสรรพากรกำหนดมาตรการทางภาษีส่งเสริมให้มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาในวันอังคารที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2541 มาตรการที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้
(1) ตราพระราชกฤษฎีกา ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรายได้ส่วนที่ลูกหนี้ได้รับจากการที่เจ้าหนี้ ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ปลดหนี้ให้กับลูกหนี้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(2) ตราพระราชกฤษฎีกา ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับธุรกรรมการโอนทรัพย์สินระหว่างลูกหนี้ ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับเจ้าหนี้ ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
(3) การออกกฎกระทรวงแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับที่ 186 (พ.ศ. 2534) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ให้ครอบคลุมถึงกรณีหนี้ที่เจ้าหนี้ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ได้ปลดให้แก่ลูกหนี้ ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
นอกจากนี้ กรมสรรพากรยังได้เตรียมการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร และคำสั่งกำหนดแนวทางปฎิบัติในเรื่องดังกล่าวนี้ ซึ่งเป็นเรื่องที่อยู่ในอำนาจของอธิบดีกรมสรรพากรไปพร้อมกัน ดังต่อไปนี้
1. กรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลดอัตราดอกเบี้ยให้ลูกหนี้ ให้ถือเป็นกรณีที่เป็นเหตุอันสมควรตามประมวลรัษฎากร
2. กรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยเจ้าหนี้ได้ตกลงให้ลูกหนี้ชำระเงินต้นก่อนการชำระดอกเบี้ย ให้สามารถกระทำได้โดยถือเป็นกรณีที่เป็นเหตุอันสมควรเช่นกัน
3. กรณีการปรับปรุงรายได้ของธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้สามารถหยุดรับรู้รายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ผิดชำระหนี้ติดต่อกันจากเดิมที่กำหนดไว้ 6 เดือน เป็น 3 เดือนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดและให้ใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวในการคำนวณรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย
4. กรณีภาษีซื้อจากการสร้างอาคารที่ใช้ประกอบกิจการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกฎหมายกำหนดให้เป็นภาษีซื้อต้องห้ามในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มหากมีการขายหรือนำไปใช้นอกระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น นำไปให้เช่าภายใน 3 ปีนับจากวันที่ก่อสร้างเสร็จโดยจะผ่อนปรนให้ยังคงมีสิทธิ์หักภาษีซอได้ หากเป็นการกระทำเนื่องจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด
สำหรับเงินภาษีที่คาดว่าจะสูญเสียจากมาตรการนี้จะมีไม่มากเพราะหากไม่ฟื้นฟูสภาพธุรกิจแล้ว รายได้จากภาษีอากรก็คงจะไม่มี และเชื่อว่าเมื่อธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้รัฐก็จะมีรายได้ภาษีเพิ่มขึ้น
กล่าวโดยสรุป มาตรการทางภาษีทั้งหมดนี้จะมีผลทำให้ผู้ประกอบการหลายรายที่มีภาระหนี้สินจำนวนมากจนถึงขั้นอาจต้องปิดกิจการ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาการว่างงานและเศรษฐกิจตกต่ำสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ อันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมในระยะยาวต่อไปในอนาคต
3) การบริหารจัดการให้เกิดการประนอมและปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่จะทำให้มาตรการที่ออกมาสามารถปฎิบัติได้ผล ซึ่งจะแยกออกตามประเภทของลูกหนี้ได้ ดังนี้
3.1) ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลและลูกหนี้ธุรกิจรายย่อย ในเรื่องลูกหนี้บุคคลกระทรวงการคลังได้มีการประชุมกับสมาคมธนาคารไทยแล้วเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2541 ขอให้ธนาคารพิจารณาผ่อนปรนหนี้ให้แก่ลูกค้าที่กู้เงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งธนาคารส่วนใหญ่ได้ให้ความร่วมมืออย่างดีและได้เริ่มดำเนินการแล้ว นอกจากนั้นกระทรวงการคลังก็ได้ขอให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ผ่อนปรนให้ลูกค้าในลักษณะเดียวกัน
สำหรับธุรกิจรายย่อยนั้น ก็ได้ขอให้ธนาคารนำมาตรการส่งเสริมการประนอมหนี้และมาตรการลดหย่อนภาษีที่จะออกมาไปเร่งรัดใช้ต่อไป
3.2) สำหรับลูกหนี้รายใหญ่ นั้น เห็นว่าเพื่อให้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้สัมฤทธิผลอย่างจริงจัง ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ได้มีมติให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเรียกว่า "คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ "ประกอบด้วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธานและมีผู้แทนจากองค์กรภาคธุรกิจเอกชน ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมบริษัทเงินทุนและสมาคมธนาคารต่างประเทศ เป็นกรรมการ โดยจะได้มีการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นกลาง และเป็นบุคคลที่เป็นที่ยอมรับของภาครัฐและภาคเอกชน เป็นรองประธาน ซึ่งจะทำงานเต็มเวลา คณะกรรมการชุดนี้จะเป็นคณะที่กำหนดนโยบายเพื่อส่งเสริมให้การเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการเงินเกิดผลโดยเร็ว รวมทั้งติดตามความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ทั้งนี้ รองประธานของคณะกรรมการจะเป็นประธานของคณะอนุกรรมการระดับปฎิบัติการ ซึ่งจะประกอบไปด้วย เจ้าหน้าที่ภาคเอกชน ทำหน้าที่เป็นผู้ติดต่อประสานงานและสรุปข้อเท็จจริงเสนอให้ประธานของคณะอนุกรรมการผลักดันการปรับโครงสร้างหนี้ในระดับปฎิบัติการ และเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาหากมีประเด็นนโยบายที่เกี่ยวข้อง การปรับปรุงโครงสร้างหนี้นับเป็นมาตรการที่สำคัญมาตรการหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นให้ระบบเศรษฐกิจมีการปรับตัวได้เร็วขึ้น อันจะส่งผลให้สินทรัพย์ด้อยคุณภาพในระบบสถาบันการเงินลดลง--จบ--