ทำเนียบรัฐบาล--2 ก.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ ครั้งที่ กศร.2/2540 สรุปสาระสำคัญไดัดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความเหมาะสมที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้คณะผู้ศึกษานำไปพิจารณาประกอบการคัดเลือกพื้นที่ตั้งที่เหมาะสม โดยแบ่งหลักเกณฑ์ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มด้านสังคม และกลุ่มด้านเศรษฐกิจ ซึ่งให้มีการเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม รวมทั้งเห็นชอบในหลักการเรื่องร่างข้อกำหนดการศึกษาความเหมาะสมที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 5 บริเวณ คือ 1) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) พื้นที่ฉะเชิงเทราตะวันตก 3) อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 4) บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก และ 5) พื้นที่ท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจะศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ราชการใหม่ ตลอดจนศึกษาข้อเสนอแนะระบบโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายคมนาคมขนส่งหลักทั้งภายในพื้นที่และการเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคในระยะเวลา 5 เดือน โดยกำหนดให้จัดทำ conceptual report เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาก่อนจัดทำ final report เพื่อเป็นการวางกรอบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการเรื่องแผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐในเมืองศูนย์กลางความเจริญภาคใต้ที่จังหวัดพังงา ตามที่คณะกรรมการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยงานราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลักเสนอให้พัฒนาพื้นที่บริเวณตำบลถ้ำน้ำผุด ห่างจากตัวเมือง 4 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 299 ไร่ ให้เป็นศูนย์ราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด เพื่อรองรับหน่วยราชการบริหาร จำนวน 34 หน่วยงาน ให้มีความสอดคล้องกับแนวโน้มการขยายตัวของเมือง เพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด--จบ
วันนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดระบบศูนย์ราชการ ครั้งที่ กศร.2/2540 สรุปสาระสำคัญไดัดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการเรื่องกำหนดหลักเกณฑ์การเปรียบเทียบความเหมาะสมที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้คณะผู้ศึกษานำไปพิจารณาประกอบการคัดเลือกพื้นที่ตั้งที่เหมาะสม โดยแบ่งหลักเกณฑ์ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน กลุ่มด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มด้านสังคม และกลุ่มด้านเศรษฐกิจ ซึ่งให้มีการเปรียบเทียบภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม รวมทั้งเห็นชอบในหลักการเรื่องร่างข้อกำหนดการศึกษาความเหมาะสมที่ตั้งศูนย์ราชการของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวม 5 บริเวณ คือ 1) อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม 2) พื้นที่ฉะเชิงเทราตะวันตก 3) อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา 4) บริเวณเขาชะโงก จังหวัดนครนายก และ 5) พื้นที่ท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยจะศึกษาเปรียบเทียบศักยภาพของพื้นที่ที่มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ในการจัดตั้งศูนย์ราชการใหม่ ตลอดจนศึกษาข้อเสนอแนะระบบโครงสร้างพื้นฐาน โครงข่ายคมนาคมขนส่งหลักทั้งภายในพื้นที่และการเชื่อมโยงไปสู่ภูมิภาคในระยะเวลา 5 เดือน โดยกำหนดให้จัดทำ conceptual report เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาก่อนจัดทำ final report เพื่อเป็นการวางกรอบการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบในหลักการเรื่องแผนการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐในเมืองศูนย์กลางความเจริญภาคใต้ที่จังหวัดพังงา ตามที่คณะกรรมการพิจารณาสถานที่ทำงานของหน่วยงานราชการในเขตกรุงเทพมหานครและเมืองหลักเสนอให้พัฒนาพื้นที่บริเวณตำบลถ้ำน้ำผุด ห่างจากตัวเมือง 4 กม. มีเนื้อที่ประมาณ 299 ไร่ ให้เป็นศูนย์ราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด เพื่อรองรับหน่วยราชการบริหาร จำนวน 34 หน่วยงาน ให้มีความสอดคล้องกับแนวโน้มการขยายตัวของเมือง เพื่อให้ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด--จบ