ทำเนียบรัฐบาล--31 มี.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (11 มี.ค. 41) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2541 เพื่อพิจารณากลยุทธ์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม สรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรายสาขา ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการปฏิบัติการโครงสร้างอุตสาหกรรมเสนอ รวมทั้งหมด 13 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิกส์และแก้ว ยางและผลิตภัณฑ์ รองเท้าและเครื่องหนัง ยาและเคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และเครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า อาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และยานยนต์และชิ้นส่วน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการลงทุน และนักวิชาการ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2540 - 8 มีนาคม 2541 เพื่อประมวลประเด็นปัญหาและวิสัยทัศน์ รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (Master Plan) ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน 8 แผน ดังนี้ (1) แผนปรับปรุงผลิตภาพ และปรับกระบวนการผลิตให้มีต้นทุนและการส่งมอบสินค้าที่แข่งขันได้ (2) แผนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (3) แผนการยกระดับขีดความสามารถของแรงงานไปสู่แรงงานในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (4) แผนบ่มเพาะและเสริมสร้างความแข็งแรงของอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดเล็ก (5) แผนส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจำหน่ายในตลาดโลก (6) แผนสนับสนุนการกระจายและเคลื่อนย้ายหน่วยผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ภูมิภาคและชนบท (7) แผนชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีในอนาคต และ (8) แผนเคลื่อนย้ายและจัดระบบอุตสาหกรรมที่มีมลพิษและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีลดมลพิษ
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้นำกลยุทธ์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรายสาขา เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนส่งมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ ใช้เป็นกรอบการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องกระบวนการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โดยกำหนดให้มีผู้แทนองก์กรเอกชนหน่วยราชการฝ่ายเศรษฐกิจและฝ่ายสังคม องค์กร/สถาบันวิชาการ องค์กรสนับสนุนการลงทุน และองค์กรอื่น ๆ ร่วมกัน จัดทำแผนดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยกลไกการดำเนินในส่วนของการปฏิบัติ การติดตามประเมินผล และการปรับแผนปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อภาคอุตสาหกรรมไทย
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ไปศึกษาทิศทางอุตสาหกรรมไทยในอีก 22 ปีข้างหน้า หรือปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อเตรียมความพร้อมให้อุตสาหกรรมไทย รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) พิจารณาการใช้กลไกทางกฏหมายภายใต้เงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยด้วย--จบ--
วันนี้ (11 มี.ค. 41) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสุวิทย์ คุณกิตติ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2541 เพื่อพิจารณากลยุทธ์ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม สรุปสาระสำคัญดังนี้
ที่ประชุมเห็นชอบเรื่องวิสัยทัศน์และกลยุทธ์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรายสาขา ตามที่คณะอนุกรรมการจัดทำแผนการปฏิบัติการโครงสร้างอุตสาหกรรมเสนอ รวมทั้งหมด 13 สาขา ได้แก่ ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เซรามิกส์และแก้ว ยางและผลิตภัณฑ์ รองเท้าและเครื่องหนัง ยาและเคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ไม้และเครื่องเรือน ผลิตภัณฑ์พลาสติก ปิโตรเคมี เหล็กและเหล็กกล้า อาหารและอาหารสัตว์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และยานยนต์และชิ้นส่วน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างผู้บริหารระดับสูงของภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยงานที่สนับสนุนด้านการลงทุน และนักวิชาการ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2540 - 8 มีนาคม 2541 เพื่อประมวลประเด็นปัญหาและวิสัยทัศน์ รวมทั้งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม (Master Plan) ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน 8 แผน ดังนี้ (1) แผนปรับปรุงผลิตภาพ และปรับกระบวนการผลิตให้มีต้นทุนและการส่งมอบสินค้าที่แข่งขันได้ (2) แผนปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (3) แผนการยกระดับขีดความสามารถของแรงงานไปสู่แรงงานในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต (4) แผนบ่มเพาะและเสริมสร้างความแข็งแรงของอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดเล็ก (5) แผนส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจำหน่ายในตลาดโลก (6) แผนสนับสนุนการกระจายและเคลื่อนย้ายหน่วยผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นไปสู่ภูมิภาคและชนบท (7) แผนชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีในอนาคต และ (8) แผนเคลื่อนย้ายและจัดระบบอุตสาหกรรมที่มีมลพิษและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีลดมลพิษ
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติให้นำกลยุทธ์การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมรายสาขา เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนส่งมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนั้น ๆ ใช้เป็นกรอบการจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างและพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยที่ประชุมได้เห็นชอบเรื่องกระบวนการเกี่ยวกับการดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เฉพาะอย่างยิ่ง การจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) โดยกำหนดให้มีผู้แทนองก์กรเอกชนหน่วยราชการฝ่ายเศรษฐกิจและฝ่ายสังคม องค์กร/สถาบันวิชาการ องค์กรสนับสนุนการลงทุน และองค์กรอื่น ๆ ร่วมกัน จัดทำแผนดังกล่าว ซึ่งประกอบด้วยกลไกการดำเนินในส่วนของการปฏิบัติ การติดตามประเมินผล และการปรับแผนปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อภาคอุตสาหกรรมไทย
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้ฝ่ายเลขานุการฯ ไปศึกษาทิศทางอุตสาหกรรมไทยในอีก 22 ปีข้างหน้า หรือปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) เพื่อเตรียมความพร้อมให้อุตสาหกรรมไทย รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และคณะกรรมการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) พิจารณาการใช้กลไกทางกฏหมายภายใต้เงื่อนไขการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยด้วย--จบ--