ทำเนียบรัฐบาล--24 ก.ค.--บิสนิวส์
วันที่ 23 กรกฎาคม เวลา 11.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นาย มอเดอคาย เลวี (Mr. Mordechay Lewy) เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะเพื่ออำลา พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง
เอกอัครราชทูตอิสราเอลฯ ได้กล่าวขอบคุณในความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทย ตลอดเวลา 3 ปี ที่ตนได้มาดำรงตำแหน่งประจำประเทศไทย ซึ่งตนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จในการโน้มน้าวให้ไทยจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงเทเลวีฟ ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การติดต่อประสานงานระหว่งกันเป็นไปด้วยความสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลแห่งความสัมพันธ์อันดีของประเทศทั้งสอง ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจนั้น เอกอัครราชทูตกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า จนถึงบัดนี้ กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองได้วางรากฐานไว้เป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งตนจะได้กล่าวฝากเอกอัครราชทูตฯ คนใหม่ ให้สานต่อในประเด็นต่างๆต่อไป พร้อมกันนี้ เอกอัครราชทูต ยังได้กล่าวขอให้นายกรัฐมนตรีช่วยเร่งรัดให้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันด้วย
เอกอัครราชทูตอิสราเอลฯ ยังได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบด้วยว่า ในช่วงปลายเดือนกรกฏาคม ศกนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดเกษตรของอิสราเอลก็จะเดินทางมาเยือนประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2541 อิสราเอลจะมีการเฉลิมฉลองประเทศ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ที่ก่อตั้งประเทศ โดยจะให้มีการเฉลิมฉลองในสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลฯทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ใคร่ขอเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการเปิดงานเฉลิมฉลองในโอกาสนั้นต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมในผลงานของเอกอัครราชทูตฯ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะและพยายามเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งรับทราบประเด็นค้างระหว่างกัน ด้วยความเต็มใจและรับว่าจะติดตามในเรื่องนี้ให้ต่อไป รวมทั้งยินดีรับเชิญเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติของอิสราเอลในโอกาสดังกล่าวด้วย
จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสนทนากันในเรื่องสันติภาพตะวันออกกลาง ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ เชื่อว่าฝ่ายอิสราเอลยังคงจะผลักดันให้เรื่องนี้ก้าวหน้าจนบรรลุผลสำเร็จต่อไปในที่สุด พร้อมทั้งได้แสดงความห่วงใยต่อความสับสน วุ่นวายในกัมพูชาในช่วงระยะนี้ว่า คงจะส่งผลต่อประเทศไทยไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในประเด็นที่จะพิจารณาให้กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบด้วยความมั่นใจว่า เพราะไทยเองก็รับทราบและเข้าใจในสถานการณ์ของกัมพูชาด้วยดีมาโดยตลอด
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอวยพรให้เอกอัครราชทูตฯ เดินทางกลับประเทศโดยสวัสดิภาพ และหวังว่า ท่านจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนประเทศไทยต่อไปด้วย
จากนั้น ในเวลา 11.25 น. นายคริสตอฟ ซุมสกี (Mr.Krzysztof Szumski) เอกกัครราชทูตโปแลนด์ประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสพ้นจากตำแหน่งเช่นกัน
ในการนี้ เอกอัครราชทูตโปแลนด์ฯ ได้กล่าวขอบคุณที่รัฐบาลไทยที่ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ช่วงเวลาที่ผ่านมาว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างไทยและโปแลนด์หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จเยือนโปแลนด์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือ การเดินทางเยือนประเทศไทยของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นที่จะต้องให้มีการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยไทยได้เปิดศูนย์พาณิชย์กรรมที่กรุงวอร์ซอร์แล้ว อย่างไรก็ดี เอกอัครราชทูตโปแลนด์ฯ ได้กล่าวว่า ปัญหาที่โปแลนด์ประสบอยู่ในเวลานี้ ก้คือ การที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดสินค้าเหล็กจากโปแลนด์ พร้อมกับแสดงความหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้กันเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้เรื่องบานปลายออกไป จนองค์การค้าโลกต้องเข้ามาแก้ไข ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้กล่าวย้ำว่า จะสามารถแก้ไขโดยความร่วมมืออย่างจริงจังของทั้งสองฝ่าย
จากนั้น เอกอัครราชทูตโปแลนด์ฯ ได้กล่าวถึงการฉลองครบรอบ 100 ปี ของการเสด็จมาเยือนโปแลนด์ของรัชกาลที่ 5 และการฉลองครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-โปแลนด์ ครบ 25 ปี พร้อมกับแสดงความหวังว่านายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนโปแลนด์ในอนาคตอันใกล้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น--จบ
วันที่ 23 กรกฎาคม เวลา 11.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นาย มอเดอคาย เลวี (Mr. Mordechay Lewy) เอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะเพื่ออำลา พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสพ้นจากตำแหน่ง
เอกอัครราชทูตอิสราเอลฯ ได้กล่าวขอบคุณในความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลไทย ตลอดเวลา 3 ปี ที่ตนได้มาดำรงตำแหน่งประจำประเทศไทย ซึ่งตนมีความภาคภูมิใจที่ได้มีส่วนทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเจริญก้าวหน้าขึ้นไปอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จในการโน้มน้าวให้ไทยจัดตั้งสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงเทเลวีฟ ประเทศอิสราเอล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้การติดต่อประสานงานระหว่งกันเป็นไปด้วยความสะดวกและคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลแห่งความสัมพันธ์อันดีของประเทศทั้งสอง ในด้านต่างๆไม่ว่าจะเป็นในด้านการเมืองเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจนั้น เอกอัครราชทูตกล่าวด้วยความเชื่อมั่นว่า จนถึงบัดนี้ กิจกรรมทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศทั้งสองได้วางรากฐานไว้เป็นอย่างดีแล้ว ซึ่งตนจะได้กล่าวฝากเอกอัครราชทูตฯ คนใหม่ ให้สานต่อในประเด็นต่างๆต่อไป พร้อมกันนี้ เอกอัครราชทูต ยังได้กล่าวขอให้นายกรัฐมนตรีช่วยเร่งรัดให้มีการลงนามในความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันด้วย
เอกอัครราชทูตอิสราเอลฯ ยังได้แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบด้วยว่า ในช่วงปลายเดือนกรกฏาคม ศกนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดเกษตรของอิสราเอลก็จะเดินทางมาเยือนประเทศไทย และในปี พ.ศ. 2541 อิสราเอลจะมีการเฉลิมฉลองประเทศ เนื่องในโอกาสครบรอบ 50 ปี ที่ก่อตั้งประเทศ โดยจะให้มีการเฉลิมฉลองในสถานเอกอัครราชทูตอิสราเอลฯทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย ซึ่งทางสถานเอกอัครราชทูตฯ ใคร่ขอเรียนเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการเปิดงานเฉลิมฉลองในโอกาสนั้นต่อไป
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวชื่นชมในผลงานของเอกอัครราชทูตฯ ต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอุตสาหะและพยายามเป็นอย่างยิ่ง พร้อมทั้งรับทราบประเด็นค้างระหว่างกัน ด้วยความเต็มใจและรับว่าจะติดตามในเรื่องนี้ให้ต่อไป รวมทั้งยินดีรับเชิญเข้าร่วมงานเฉลิมฉลองวันชาติของอิสราเอลในโอกาสดังกล่าวด้วย
จากนั้นทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนสนทนากันในเรื่องสันติภาพตะวันออกกลาง ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ เชื่อว่าฝ่ายอิสราเอลยังคงจะผลักดันให้เรื่องนี้ก้าวหน้าจนบรรลุผลสำเร็จต่อไปในที่สุด พร้อมทั้งได้แสดงความห่วงใยต่อความสับสน วุ่นวายในกัมพูชาในช่วงระยะนี้ว่า คงจะส่งผลต่อประเทศไทยไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะในประเด็นที่จะพิจารณาให้กัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ตอบด้วยความมั่นใจว่า เพราะไทยเองก็รับทราบและเข้าใจในสถานการณ์ของกัมพูชาด้วยดีมาโดยตลอด
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวอวยพรให้เอกอัครราชทูตฯ เดินทางกลับประเทศโดยสวัสดิภาพ และหวังว่า ท่านจะให้ความร่วมมือและสนับสนุนประเทศไทยต่อไปด้วย
จากนั้น ในเวลา 11.25 น. นายคริสตอฟ ซุมสกี (Mr.Krzysztof Szumski) เอกกัครราชทูตโปแลนด์ประจำประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสพ้นจากตำแหน่งเช่นกัน
ในการนี้ เอกอัครราชทูตโปแลนด์ฯ ได้กล่าวขอบคุณที่รัฐบาลไทยที่ได้ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่เป็นอย่างดี ซึ่งเป็นที่น่ายินดีที่ช่วงเวลาที่ผ่านมาว่า ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงระหว่างไทยและโปแลนด์หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการเสด็จเยือนโปแลนด์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ หรือ การเดินทางเยือนประเทศไทยของนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศโปแลนด์ ซึ่งช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้เห็นพ้องต้องกันถึงความจำเป็นที่จะต้องให้มีการส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยไทยได้เปิดศูนย์พาณิชย์กรรมที่กรุงวอร์ซอร์แล้ว อย่างไรก็ดี เอกอัครราชทูตโปแลนด์ฯ ได้กล่าวว่า ปัญหาที่โปแลนด์ประสบอยู่ในเวลานี้ ก้คือ การที่กระทรวงพาณิชย์ของไทยเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดสินค้าเหล็กจากโปแลนด์ พร้อมกับแสดงความหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้กันเอง โดยไม่จำเป็นต้องให้เรื่องบานปลายออกไป จนองค์การค้าโลกต้องเข้ามาแก้ไข ซึ่งนายกรัฐมนตรีก็ได้กล่าวย้ำว่า จะสามารถแก้ไขโดยความร่วมมืออย่างจริงจังของทั้งสองฝ่าย
จากนั้น เอกอัครราชทูตโปแลนด์ฯ ได้กล่าวถึงการฉลองครบรอบ 100 ปี ของการเสด็จมาเยือนโปแลนด์ของรัชกาลที่ 5 และการฉลองครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-โปแลนด์ ครบ 25 ปี พร้อมกับแสดงความหวังว่านายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปเยือนโปแลนด์ในอนาคตอันใกล้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น--จบ