ทำเนียบรัฐบาล--24 เม.ย.--บิสนิวส์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมแก่ประเทศไทย และญี่ปุ่นประกาศให้เงินกู้เพิ่มแก่ไทยอีก 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วันนี้ (5 มี.ค.41) ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่านายโรเบิร์ต รูบิน (Robert Robin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้กล่าวยินดีต่อการประกาศของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2541 ซึ่งได้อนุมติเงินกู้งวดที่ 3 ให้แก่ไทยเป็นจำนวน 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับย้ำว่าการอนุมัติเงินกู้งวดใหม่ดังกล่าว เป็นผลจากการที่ประเทศไทยได้แสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยมีความก้าวหน้าไปอย่างน่าชื่นขม ภายใต้กรอบข้อตกลงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงมาตการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยได้นำมาปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ในหนังสือแจ้งความจำนง ฉบับที่ 3 ทั้งนี้ นายรูบิน กล่าวว่า " จากการที่เรามีความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่องในความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทย (as a sign of our continued confidence in the commitment ofthe Thai government to reform) ในการที่จะปฏิรูป สหรัฐฯ จึงพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมทางด้านการเงินแก่ประเทศไทย (the United States would be prepared, if circumstances warrant,to support additional IMF financing ผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในรูปของ ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (the IMF"s Supplemental Reserve Facility) หากมีความจำเป็นเกิดขึ้น" ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการพัฒนาที่มีแนวโน้มในทางที่ดีในประเทศไทย (to reinforce the positive developments in Thailand) และเพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนว่าประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม หากมีความจำเป็น
ในการนี้ นายรูบิน ยังกล่าวว่า ประเทศไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างเพียงพอ และยังได้รับความสนับสนุนด้านการเงินอย่างเป็นทางการจากนานาประเทศด้วยในโอกาสเดียวกันนี้ นายฮิคารุ มัทซึนากา (Hikaru Matsunaga) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้กล่าวที่กรุงโตเกียวว่า ญี่ปุ่นจะให้เงินกู้เพิ่มเติมแก่ไทยอีกจำนวน 600 ล้านเรียญสหรัฐฯ โดยผ่านสถาบันการเงินของญี่ปุ่นได้แก่ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของญีปุ่น (Export-Import Bank of Japan) และธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่น เพื่อเสริมสภาพคล่องของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ยังกล่าวย้ำให้ความมั่นใจด้วยว่า หากมีความจำเป็น ญี่ปุ่นพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางด้านการเงินเพิ่มเติมแก่ประเทศไทยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศในรูปของ ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (the IMF"s Supplemental Reserve Facility) เช่นกัน ทั้งนี้ ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นต่างก็เป็นประเทศสมาชิกหลักที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งการประกาศให้ความมั่นใจแก่ประเทศไทยของประเทศทั้งสอง ในการที่จะใช้มาตรการทางการเงินในรูป IMF"s Supplemental Reserve Facility ดังกล่าวน่าจะเป็นมาตรการที่เพียงพอสำหรับการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติโดยทั่วไป นอกจากนี้แล้ว นายมัทซึ-นากา ยังกล่าวด้วยว่า ญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่ประเทศไทย (strong support to Thailand) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งของเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย--จบ--
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ กล่าวว่าสหรัฐฯ พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติมแก่ประเทศไทย และญี่ปุ่นประกาศให้เงินกู้เพิ่มแก่ไทยอีก 600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
วันนี้ (5 มี.ค.41) ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่านายโรเบิร์ต รูบิน (Robert Robin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของสหรัฐฯ ได้กล่าวยินดีต่อการประกาศของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2541 ซึ่งได้อนุมติเงินกู้งวดที่ 3 ให้แก่ไทยเป็นจำนวน 270 ล้านเหรียญสหรัฐฯ พร้อมกับย้ำว่าการอนุมัติเงินกู้งวดใหม่ดังกล่าว เป็นผลจากการที่ประเทศไทยได้แสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นว่า การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของไทยมีความก้าวหน้าไปอย่างน่าชื่นขม ภายใต้กรอบข้อตกลงของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รวมถึงมาตการต่างๆ ที่รัฐบาลไทยได้นำมาปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้ในหนังสือแจ้งความจำนง ฉบับที่ 3 ทั้งนี้ นายรูบิน กล่าวว่า " จากการที่เรามีความเชื่อมั่นอย่างต่อเนื่องในความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทย (as a sign of our continued confidence in the commitment ofthe Thai government to reform) ในการที่จะปฏิรูป สหรัฐฯ จึงพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมทางด้านการเงินแก่ประเทศไทย (the United States would be prepared, if circumstances warrant,to support additional IMF financing ผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ในรูปของ ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (the IMF"s Supplemental Reserve Facility) หากมีความจำเป็นเกิดขึ้น" ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวถูกนำมาใช้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการพัฒนาที่มีแนวโน้มในทางที่ดีในประเทศไทย (to reinforce the positive developments in Thailand) และเพื่อเป็นการสร้างความชัดเจนว่าประเทศไทยจะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติม หากมีความจำเป็น
ในการนี้ นายรูบิน ยังกล่าวว่า ประเทศไทยมีเงินสำรองระหว่างประเทศอย่างเพียงพอ และยังได้รับความสนับสนุนด้านการเงินอย่างเป็นทางการจากนานาประเทศด้วยในโอกาสเดียวกันนี้ นายฮิคารุ มัทซึนากา (Hikaru Matsunaga) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นได้กล่าวที่กรุงโตเกียวว่า ญี่ปุ่นจะให้เงินกู้เพิ่มเติมแก่ไทยอีกจำนวน 600 ล้านเรียญสหรัฐฯ โดยผ่านสถาบันการเงินของญี่ปุ่นได้แก่ ธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของญีปุ่น (Export-Import Bank of Japan) และธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่น เพื่อเสริมสภาพคล่องของอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก นอกจากนี้ยังกล่าวย้ำให้ความมั่นใจด้วยว่า หากมีความจำเป็น ญี่ปุ่นพร้อมที่จะให้การสนับสนุนทางด้านการเงินเพิ่มเติมแก่ประเทศไทยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศในรูปของ ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (the IMF"s Supplemental Reserve Facility) เช่นกัน ทั้งนี้ ทั้งสหรัฐฯ และญี่ปุ่นต่างก็เป็นประเทศสมาชิกหลักที่สำคัญของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งการประกาศให้ความมั่นใจแก่ประเทศไทยของประเทศทั้งสอง ในการที่จะใช้มาตรการทางการเงินในรูป IMF"s Supplemental Reserve Facility ดังกล่าวน่าจะเป็นมาตรการที่เพียงพอสำหรับการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติโดยทั่วไป นอกจากนี้แล้ว นายมัทซึ-นากา ยังกล่าวด้วยว่า ญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่แก่ประเทศไทย (strong support to Thailand) เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงแข็งแกร่งของเงินสำรองระหว่างประเทศของไทย--จบ--