ทำเนียบรัฐบาล--28 ม.ค.--บิสนิวส์
เมื่อวานนี้ (21 มกราคม 2541) ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำนายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี โดยมีบุคคลระดับสูงเข้าร่วมการสนทนาด้วย ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นายสาวิตต์ โพธิวิหค และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ สาระสำคัญของการสนทนาสรุปได้ดังนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า โดยที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับนับถือระดับระหว่างประเทศ คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทย และของภูมิภาคโดยรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางมาเยือนไทยของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ครั้งนี้ จะช่วยยืนยันว่า สหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญต่อประเทศไทย และการย้ำถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ใกล้ชิดในฐานะที่เป็นพันธมิตรต่อกันมายาวนาน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองซึ่งทั้งสองประเทศได้เคยทำงานร่วมกันมาในอดีต โดยเฉพาะในช่วงของสงครามเวียดนาม และด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ประชาชนคนไทยยังมีความทรงจำและไม่เคยลืมเรื่องราวในอดีตและประวัติศาสตร์ของตัวเอง
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า ตนไม่เคยลืมประสบการณ์ในอดีต ในช่วงที่ได้ร่วมทำงานกับประเทศไทย ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้วนั้น การที่สหรัฐฯ ไม่ได้เข้าช่วยเหลือไทยในทันทีนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับไทย แต่มีเหตุผลสำคัญ คือ อำนาจในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร และของสภาคองเกรส ทั้งนี้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวยอมรับว่า เป็นความจริงที่ว่า วุฒิสมาชิกหลายคนยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในเอเชียมากนัก ทั้งนี้ เพราะประสบการณ์และทัศนะที่ไม่ได้เปิดกว้างไปสู่โลกภายนอก นอกจากนี้ เป็นความจริงว่าในช่วงที่ผ่านมา คนสหรัฐฯ ให้ความสนใจเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ (foreign policy) น้อยกว่าเรื่องภายในประเทศ (domestic policy) แต่โดยทัศนะส่วนตนเห็นว่า ประเทศไทยยังมีความสำคัญต่อสหรัฐฯ ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ สิ่งที่ตนเป็นห่วงคือ เรื่องของความรู้สึก และข้อสรุป (conclusion) ของประเทศเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งจะต้องหาทางป้องกันมิให้มีเหตุการณ์ดังเช่นปัจจุบันเกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตนเห็นว่า ปัจจัยเรื่องทางการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญที่สุด นอกจากนี้ หลายประเทศในเอเชียอาจตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมประเทศจีนจึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ทั้งนี้ ก็เนื่องจากเงินหยวนของจีนไม่สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดกาเงินระหว่างประเทศได้ (can not convert) แต่ก็ได้แสดงความเห็นว่า แม้ผู้นำจีนจะประกาศว่า จะไม่ลดค่าเงินหยวน แต่โดยส่วนตัวคิดว่า จีนจะสามารถต้านทานวิกฤตการณ์ในเอเชียปัจจุบันได้ประมาณ 1 ปี ดังนั้นสำหรับสหรัฐฯ แล้ว จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่จะต้องเข้ามาเพื่อช่วยเหลือวิกฤตการณ์ในเอเชีย ในการนี้ เห็นว่า กลุ่ม G-7 ควรจะได้มีการเรียกประชุมและหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้หารือถึงแนวทางความช่วยเหลือที่จะขอให้สถาบันการเงินของสหรัฐฯ ช่วยผ่อนผันระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก่ภาคเอกชนไทยด้วย ซึ่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รับที่จะช่วยเจรจากับสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ให้ และพร้อมที่จะอธิบายถึงความสำคัญของไทยและข้อเท็จจิรงเกี่ยวกับความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงของรัฐบาลไทยในการปฏิบัติตามนโยบายของ IMF ด้วยทั้งนี้ นายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ แสดงความประทับใจกับความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลไทยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ตนเห็นว่า "ทำมากกว่าพูด" (do a little more than say) ตนจึงพร้อมที่จะช่วยประเทศไทยอย่างดีที่สุด แม้จะเป็นการช่วยทางอ้อมก็ตามนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณในเจตนา และความตั้งใจจริงของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็ได้พยายามที่จะอธิบายให้ประชาชนไทยได้เข้าใจถึงข้อจำกัดของรัฐบาลสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ต้องการให้เกิดความสับสนเกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจเสรีว่า เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบและเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ และต้องการจะหลีกเลี่ยงระบบการค้าเปิดเสรี--จบ--
เมื่อวานนี้ (21 มกราคม 2541) ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำนายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี โดยมีบุคคลระดับสูงเข้าร่วมการสนทนาด้วย ได้แก่ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี นายสาวิตต์ โพธิวิหค และ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ สาระสำคัญของการสนทนาสรุปได้ดังนี้นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า โดยที่อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นบุคคลที่มีประสบการณ์มีความรู้ความสามารถเป็นที่ยอมรับนับถือระดับระหว่างประเทศ คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆ จะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และการดำเนินนโยบายของรัฐบาลไทย และของภูมิภาคโดยรวมโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเดินทางมาเยือนไทยของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ครั้งนี้ จะช่วยยืนยันว่า สหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญต่อประเทศไทย และการย้ำถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือที่ใกล้ชิดในฐานะที่เป็นพันธมิตรต่อกันมายาวนาน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองซึ่งทั้งสองประเทศได้เคยทำงานร่วมกันมาในอดีต โดยเฉพาะในช่วงของสงครามเวียดนาม และด้วยเหตุดังกล่าว ทำให้ประชาชนคนไทยยังมีความทรงจำและไม่เคยลืมเรื่องราวในอดีตและประวัติศาสตร์ของตัวเอง
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ กล่าวว่า ตนไม่เคยลืมประสบการณ์ในอดีต ในช่วงที่ได้ร่วมทำงานกับประเทศไทย ทั้งนี้ ในช่วงที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจขึ้นในประเทศไทย นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคมปีที่แล้วนั้น การที่สหรัฐฯ ไม่ได้เข้าช่วยเหลือไทยในทันทีนั้น ไม่ใช่เป็นเพราะรัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับไทย แต่มีเหตุผลสำคัญ คือ อำนาจในการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร และของสภาคองเกรส ทั้งนี้ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้กล่าวยอมรับว่า เป็นความจริงที่ว่า วุฒิสมาชิกหลายคนยังมีความไม่เข้าใจเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในเอเชียมากนัก ทั้งนี้ เพราะประสบการณ์และทัศนะที่ไม่ได้เปิดกว้างไปสู่โลกภายนอก นอกจากนี้ เป็นความจริงว่าในช่วงที่ผ่านมา คนสหรัฐฯ ให้ความสนใจเกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศ (foreign policy) น้อยกว่าเรื่องภายในประเทศ (domestic policy) แต่โดยทัศนะส่วนตนเห็นว่า ประเทศไทยยังมีความสำคัญต่อสหรัฐฯ ทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ สิ่งที่ตนเป็นห่วงคือ เรื่องของความรู้สึก และข้อสรุป (conclusion) ของประเทศเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ ซึ่งจะต้องหาทางป้องกันมิให้มีเหตุการณ์ดังเช่นปัจจุบันเกิดขึ้นอีก ทั้งนี้ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคตตนเห็นว่า ปัจจัยเรื่องทางการเมืองจะเป็นประเด็นสำคัญที่สุด นอกจากนี้ หลายประเทศในเอเชียอาจตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมประเทศจีนจึงไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ทั้งนี้ ก็เนื่องจากเงินหยวนของจีนไม่สามารถแลกเปลี่ยนในตลาดกาเงินระหว่างประเทศได้ (can not convert) แต่ก็ได้แสดงความเห็นว่า แม้ผู้นำจีนจะประกาศว่า จะไม่ลดค่าเงินหยวน แต่โดยส่วนตัวคิดว่า จีนจะสามารถต้านทานวิกฤตการณ์ในเอเชียปัจจุบันได้ประมาณ 1 ปี ดังนั้นสำหรับสหรัฐฯ แล้ว จึงเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากที่จะต้องเข้ามาเพื่อช่วยเหลือวิกฤตการณ์ในเอเชีย ในการนี้ เห็นว่า กลุ่ม G-7 ควรจะได้มีการเรียกประชุมและหารือในเรื่องดังกล่าวด้วย
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยังได้หารือถึงแนวทางความช่วยเหลือที่จะขอให้สถาบันการเงินของสหรัฐฯ ช่วยผ่อนผันระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก่ภาคเอกชนไทยด้วย ซึ่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ รับที่จะช่วยเจรจากับสถาบันการเงินของสหรัฐฯ ให้ และพร้อมที่จะอธิบายถึงความสำคัญของไทยและข้อเท็จจิรงเกี่ยวกับความมุ่งมั่นและตั้งใจจริงของรัฐบาลไทยในการปฏิบัติตามนโยบายของ IMF ด้วยทั้งนี้ นายเฮนรี่ คิสซิงเจอร์ แสดงความประทับใจกับความก้าวหน้าในการแก้ไขปัญหาของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลไทยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ตนเห็นว่า "ทำมากกว่าพูด" (do a little more than say) ตนจึงพร้อมที่จะช่วยประเทศไทยอย่างดีที่สุด แม้จะเป็นการช่วยทางอ้อมก็ตามนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณในเจตนา และความตั้งใจจริงของอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ทั้งนี้ รัฐบาลไทยก็ได้พยายามที่จะอธิบายให้ประชาชนไทยได้เข้าใจถึงข้อจำกัดของรัฐบาลสหรัฐฯ แต่ก็ไม่ต้องการให้เกิดความสับสนเกิดขึ้นเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจเสรีว่า เป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดผลกระทบและเป็นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งนี้ และต้องการจะหลีกเลี่ยงระบบการค้าเปิดเสรี--จบ--