ทำเนียบรัฐบาล--14 ส.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 อาคารรัฐสภา นายเบนจามิน เอ.กิลแมน (Benjamin A. Gilman) ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ พร้อมด้วยคณะได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับนายกรัฐมนตรีในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในกัมพูชาและพม่า การดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลไทย การช่วยเหลือผู้อพยพตามแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา และไทย-พม่า ผลการเจรจาขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมมิตรภาพและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและยาวนานระหว่างประเทศไทยและสหรัฐฯ พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณสหรัฐฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยด้วยดีมาโดยตลอดและว่าในโอกาสที่ได้พบปะกับนาย Solarz ผู้แทนพิเศษประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ได้แจ้งว่าประเทศไทยต้องการเห็นสหรัฐฯ ยังคงดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับประเทศสืบต่อไป เพราะตราบใดที่มีการดำเนินนโยบายที่แตกต่างออกไปแล้วย่อมจะไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองจะไม่เปลี่ยนแปลง
ในการนี้ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศฯ ยังได้สอบถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์ในกัมพูชาและพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าประสงค์ที่จะเห็นสถานการณ์ในกัมพูชากลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง และได้ยืนยันว่าต้องการที่จะเห็นการเดินทางกลับกัมพูชาของเจ้ารณฤทธิ์ เพื่อเข้าร่วมเจรจากับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 พร้อมกับยืนยันว่าประเทศไทยเน้นการร่วมปรึกษาหารือกับสมาชิกอาเซียนในเรื่องนี้ และจะยึดมั่นในมติของกลุ่มอาเซียน สำหรับสถานการณ์ในพม่านั้น นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า รัฐบาลไทยได้พยายามกระตุ้นให้พม่าคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่ามากขึ้น พร้อมทั้งได้แจ้งให้รัฐบาลพม่าทราบถึงความห่วงใยในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่าว่า ควรจะเร่งให้มีความคืบหน้าโดยเร็วเพราะเป็นที่สนใจของชาวโลก อย่างไรก็ดี ภายหลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าจะสามารถโน้มน้าวให้พม่าปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่สอดคล้องกับอาเซียนมากขึ้น
สำหรับปัญหาผู้อพยพตามแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองนั้น ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศฯ กล่าวแสดงความพอใจรัฐบาลไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพกลุ่มต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้อพยพสามารถรอดชีวิตจากภัยการสู้รบภายในประเทศได้ ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งว่าประเทศไทยยึดในหลักสิทธิมนุษยชน และได้สั่งการให้หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ ทั้งในด้านเครื่องอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ด้วย
ในปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสหรัฐฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยในการปราบปรามยาเสพติดมาเป็นเวลานานแล้วและว่าประเทศไทยได้ดำเนินการปราบปรามปัญหาลักลอบขนยาเสพติดอย่างจริงจัง รวมทั้งยังได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า จีน เป็นต้น ในการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษ เพื่อร่วมมือกันปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด และในเร็วนี้ รัฐสภาของไทยก็จะพิจารณาเห็นชอบกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินด้วย
ในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานั้น ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งว่า ขณะนี้ ประเทศไทยยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองในเรื่องนี้ จึงประสงค์ที่จะเห็น ความคืบหน้าในการดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้แสดงความกังวลในปัญหาด้านมาตรการทางสังคมของไทย เช่น การคุ้มครองความปลอดภัย การใช้แรงงานเด็ก และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในการนี้นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า รัฐบาลไทยได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่แล้ว และในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญานั้น ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาเห็นชอบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แจ้งให้ทราบถึงผลการเจรจาขอกู้เงินกับ IMF ว่า เป็นผลสำเร็จที่น่าพอใจ และประเทศไทยยินดียอมรับแผนการปฏิรูปทางการเงินและสถาบันการเงินของ IMF ทั้งนี้ ในบ่ายวันนี้ ก็ได้มีการลงนามในความตกลงที่ทำกับ IMF จากนั้นจะถูกเสนอให้คณะกรรมาธิการบริหารของ IMF พิจารณาต่อไป--จบ--
วันนี้ เวลา 14.00 น. ณ ห้องรับรอง 1 อาคารรัฐสภา นายเบนจามิน เอ.กิลแมน (Benjamin A. Gilman) ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ พร้อมด้วยคณะได้เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทย และได้ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับนายกรัฐมนตรีในประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในกัมพูชาและพม่า การดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลไทย การช่วยเหลือผู้อพยพตามแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา และไทย-พม่า ผลการเจรจาขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนความร่วมมือระหว่างไทยและสหรัฐฯ ในด้านต่าง ๆ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้กล่าวแสดงความชื่นชมมิตรภาพและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและยาวนานระหว่างประเทศไทยและสหรัฐฯ พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณสหรัฐฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยด้วยดีมาโดยตลอดและว่าในโอกาสที่ได้พบปะกับนาย Solarz ผู้แทนพิเศษประธานาธิบดีสหรัฐฯ ก็ได้แจ้งว่าประเทศไทยต้องการเห็นสหรัฐฯ ยังคงดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรกับประเทศสืบต่อไป เพราะตราบใดที่มีการดำเนินนโยบายที่แตกต่างออกไปแล้วย่อมจะไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองจะไม่เปลี่ยนแปลง
ในการนี้ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศฯ ยังได้สอบถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับสถานการณ์ในกัมพูชาและพม่า ซึ่งนายกรัฐมนตรี แจ้งว่าประสงค์ที่จะเห็นสถานการณ์ในกัมพูชากลับคืนสู่สภาพเดิมอีกครั้ง และได้ยืนยันว่าต้องการที่จะเห็นการเดินทางกลับกัมพูชาของเจ้ารณฤทธิ์ เพื่อเข้าร่วมเจรจากับนายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 พร้อมกับยืนยันว่าประเทศไทยเน้นการร่วมปรึกษาหารือกับสมาชิกอาเซียนในเรื่องนี้ และจะยึดมั่นในมติของกลุ่มอาเซียน สำหรับสถานการณ์ในพม่านั้น นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า รัฐบาลไทยได้พยายามกระตุ้นให้พม่าคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่ามากขึ้น พร้อมทั้งได้แจ้งให้รัฐบาลพม่าทราบถึงความห่วงใยในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของพม่าว่า ควรจะเร่งให้มีความคืบหน้าโดยเร็วเพราะเป็นที่สนใจของชาวโลก อย่างไรก็ดี ภายหลังจากพม่าเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนแล้ว นายกรัฐมนตรีมั่นใจว่าจะสามารถโน้มน้าวให้พม่าปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่สอดคล้องกับอาเซียนมากขึ้น
สำหรับปัญหาผู้อพยพตามแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งสองนั้น ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศฯ กล่าวแสดงความพอใจรัฐบาลไทยที่ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพกลุ่มต่าง ๆ ในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้อพยพสามารถรอดชีวิตจากภัยการสู้รบภายในประเทศได้ ในการนี้ นายกรัฐมนตรี ได้แจ้งว่าประเทศไทยยึดในหลักสิทธิมนุษยชน และได้สั่งการให้หน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องดูแลและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพ ทั้งในด้านเครื่องอุปโภคบริโภคและเวชภัณฑ์ด้วย
ในปัญหาการลักลอบขนยาเสพติดในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านนั้น นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณสหรัฐฯ ที่ได้ให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยในการปราบปรามยาเสพติดมาเป็นเวลานานแล้วและว่าประเทศไทยได้ดำเนินการปราบปรามปัญหาลักลอบขนยาเสพติดอย่างจริงจัง รวมทั้งยังได้ร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว พม่า จีน เป็นต้น ในการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษ เพื่อร่วมมือกันปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด และในเร็วนี้ รัฐสภาของไทยก็จะพิจารณาเห็นชอบกฎหมายต่อต้านการฟอกเงินด้วย
ในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญานั้น ฝ่ายสหรัฐฯ แจ้งว่า ขณะนี้ ประเทศไทยยังถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ถูกจับตามองในเรื่องนี้ จึงประสงค์ที่จะเห็น ความคืบหน้าในการดำเนินการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังมากขึ้น นอกจากนี้ยังได้แสดงความกังวลในปัญหาด้านมาตรการทางสังคมของไทย เช่น การคุ้มครองความปลอดภัย การใช้แรงงานเด็ก และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในการนี้นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า รัฐบาลไทยได้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอยู่แล้ว และในเรื่องการคุ้มครองทรัพย์ทางปัญญานั้น ประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาเห็นชอบกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่นกัน พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้แจ้งให้ทราบถึงผลการเจรจาขอกู้เงินกับ IMF ว่า เป็นผลสำเร็จที่น่าพอใจ และประเทศไทยยินดียอมรับแผนการปฏิรูปทางการเงินและสถาบันการเงินของ IMF ทั้งนี้ ในบ่ายวันนี้ ก็ได้มีการลงนามในความตกลงที่ทำกับ IMF จากนั้นจะถูกเสนอให้คณะกรรมาธิการบริหารของ IMF พิจารณาต่อไป--จบ--