ทำเนียบรัฐบาล--21 ม.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (12 มกราคม 2541) เมื่อเวลา 16.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโยชิอะคิ มูรามัตซึ (Yoshiaki Muramatsu) ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสนทนาฝ่ายไทยระดับสูง ได้แก่ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า รัฐบาลมีความเข้าใจดีว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งชะลอตัวและกำลังอยู่ในภาวะที่ถดถอยด้วยนั้น ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์เช่นเดียวกัน กับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงส่งผลกระทบต่อแผนการส่งออกรถยนต์ไปยังต่างประเทศด้วย ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความขอบคุณบริษัทโตโยต้าที่ได้พยายามรักษาสถานภาพของลูกจ้างของโตโยต้าไว้ และกล่าวว่าสภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะเป็นสถานการณ์เพียงชั่วคราวเท่านั้น และรัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐฏิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังคงมีความเข้มแข็ง และประชาชนบางส่วนที่มีรายได้จากภาคเกษตรกรรมยังคงมีงานทำและมีกำลังซื้ออยู่ระดับหนึ่ง
ประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยกล่าวว่า บริษัทโตโยต้ายังคงมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน และยังคงที่จะดำเนินการธุรกิจในประเทศไทยต่อไปและไม่คิดที่จะย้ายฐานการผลิตไปที่ใด ทั้งนี้ บริษัทมีแผนการที่จะส่งเสริมการส่งออกในปี 2541 โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ (CBU-Completely Built Unit) และชิ้นส่วนรถยนต์ (Completely Knocked Down-CKD) ดังนั้น บริษัทจึงได้ตัดสินใจที่จะเปิดสายการผลิตอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2541 โดยจะมีกำลังการผลิตประมาณเดือนละ 1,000 - 1,500 คันต่อเดือน โดยส่วนหนึ่งจะเป็นการส่งออกไปยังสิงคโปร์และบรูไน สำหรับรุ่นโซลูนา และรุ่นไฮลักซ์ จะส่งไปยังฟิลิปปินส์ และภายหลังเดือนสิงหาคม จะเพิ่มการผลิตอีกเพื่อการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศโอเซียเนีย โดยคาดว่าจะส่งออกประมาณ 2 หมื่นคันต่อปี
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพิเศษสำหรับเขตการลงทุนเพื่อการส่งเสริมการส่งออกในโซนต่าง ๆ รวมถึงทางด้านภาษีรถยนต์ ซึ่งประธานโตโยต้า แสดงความเห็นว่าหากจะมีการขึ้นภาษีเกี่ยวกับรถยนต์ อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และจะส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจรวมถึงการจ้างงานด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากเมื่อเที่ยบกับประเทศเพื่อนบ้าน รัฐจึงควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของไทยด้านยานยนต์ซึ่งมีความสามารถอยู่มาก--จบ--
วันนี้ (12 มกราคม 2541) เมื่อเวลา 16.30 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายโยชิอะคิ มูรามัตซึ (Yoshiaki Muramatsu) ประธานบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทย ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมสนทนาฝ่ายไทยระดับสูง ได้แก่ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรี นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า รัฐบาลมีความเข้าใจดีว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในประเทศไทย ซึ่งชะลอตัวและกำลังอยู่ในภาวะที่ถดถอยด้วยนั้น ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์เช่นเดียวกัน กับภาคอุตสาหกรรมอื่น ๆ รวมถึงส่งผลกระทบต่อแผนการส่งออกรถยนต์ไปยังต่างประเทศด้วย ในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรียังได้แสดงความขอบคุณบริษัทโตโยต้าที่ได้พยายามรักษาสถานภาพของลูกจ้างของโตโยต้าไว้ และกล่าวว่าสภาพทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ จะเป็นสถานการณ์เพียงชั่วคราวเท่านั้น และรัฐบาลมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐฏิจไทยจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยยังคงมีความเข้มแข็ง และประชาชนบางส่วนที่มีรายได้จากภาคเกษตรกรรมยังคงมีงานทำและมีกำลังซื้ออยู่ระดับหนึ่ง
ประธานโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยกล่าวว่า บริษัทโตโยต้ายังคงมีความเชื่อมั่นในพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยเช่นกัน และยังคงที่จะดำเนินการธุรกิจในประเทศไทยต่อไปและไม่คิดที่จะย้ายฐานการผลิตไปที่ใด ทั้งนี้ บริษัทมีแผนการที่จะส่งเสริมการส่งออกในปี 2541 โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ (CBU-Completely Built Unit) และชิ้นส่วนรถยนต์ (Completely Knocked Down-CKD) ดังนั้น บริษัทจึงได้ตัดสินใจที่จะเปิดสายการผลิตอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2541 โดยจะมีกำลังการผลิตประมาณเดือนละ 1,000 - 1,500 คันต่อเดือน โดยส่วนหนึ่งจะเป็นการส่งออกไปยังสิงคโปร์และบรูไน สำหรับรุ่นโซลูนา และรุ่นไฮลักซ์ จะส่งไปยังฟิลิปปินส์ และภายหลังเดือนสิงหาคม จะเพิ่มการผลิตอีกเพื่อการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศโอเซียเนีย โดยคาดว่าจะส่งออกประมาณ 2 หมื่นคันต่อปี
นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิทธิพิเศษสำหรับเขตการลงทุนเพื่อการส่งเสริมการส่งออกในโซนต่าง ๆ รวมถึงทางด้านภาษีรถยนต์ ซึ่งประธานโตโยต้า แสดงความเห็นว่าหากจะมีการขึ้นภาษีเกี่ยวกับรถยนต์ อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน และจะส่งผลกระทบต่อความอยู่รอดของธุรกิจรวมถึงการจ้างงานด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากอุตสาหกรรมรถยนต์ในไทยปัจจุบันมีความเข้มแข็งมากเมื่อเที่ยบกับประเทศเพื่อนบ้าน รัฐจึงควรให้การสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมรถยนต์และบุคลากรผู้เชี่ยวชาญของไทยด้านยานยนต์ซึ่งมีความสามารถอยู่มาก--จบ--