ทำเนียบรัฐบาล--10 มี.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (3 มี.ค. 41) เวลา 16.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เซอร์ เจมส์ วิลเลี่ยม ฮอดจ์ (Sir. James William Hodge) ได้นำนายดีเรก จอห์น แฟทเชทท์ (Derek John Fatchett) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและประธานสหภาพยุโรป เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย และการเตรียมการการประชุมเอเชีย-ยุโรป หรืออาเซม (ASEM) ครั้งที่ 2 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ แจ้งว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่างให้ความสนใจวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคนี้ และปรารถนาที่จะเห็นเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ฟื้นตัวกลับสู่อัตราการเติบโตสูงอีกครั้งหนึ่ง และว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวนี้จะเป็นประเด็นหนึ่งของการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 (ASEM-2) ณ สหราชอาณาจักร พร้อมกันนี้ยังได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามความตกลงที่ได้ทำไว้กับ IMF อย่างเคร่งครัด และเห็นว่า การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของไทยที่ดำเนินการโดยรัฐบาลในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและน่ายินดี
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ปัญหาสำคัญในขณะนี้ คือ ปัญหาหนี้สินของภาคเอกชนไทย ซึ่งประเทศไทยได้พยายามเจรจาเพื่อขอขยายเวลาในการชำระหนี้ดังกล่าวกับสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งร้อยละ 50 เป็นหนี้ของสถาบันการเงินญี่ปุ่น และว่าสถานะล่าสุด หนี้ของภาคเอกชนประมาณร้อยละ 80 ได้รับการขยายเวลาออกไปแล้ว ในส่วนหนี้สินของภาครัฐ เช่น หนี้จากการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหารนั้น รัฐบาลได้เจรจากับประเทศคู่ค้า เพื่อขอขยายเวลาในการชำระหนี้ออกไป ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากบางประเทศ เช่น เยอรมนี โดยตกลงขยายเวลาในการชำระหนี้ให้แก่ประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ได้กล่าวถึงกรณีที่เยอรมนีได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในการขยายเวลาในการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ภาคเอกชนไทยว่า ทางสหราชอาณาจักรเองก็จะพิจารณาดำเนินการขยายเวลาในการชำระหนี้ให้แก่ภาคเอกชนไทยเช่นกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ และแจ้งว่า ในปัจจุบันสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสองรองจากเยอรมนี
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ยังได้สอบถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ในอินโดนีเซีย ซึ่งนายกรัฐมนตรีแจ้งว่า อินโดนีเซียกำลังเผชิญปัญหาสำคัญ คือ ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ในขณะนี้มีชาวอินโนนีเซียประมาณ 200 ล้านคน ประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะประธานาธิบดีซูฮาร์โต และนำข้าวสารจำนวน 5,000 ตันไปมอบให้เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว และว่า หากปัญหาการขาดแคลนอาหารบรรเทาลงแล้ว ปัญหาอื่น ๆ จะบรรเทาลงไปด้วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ยังได้กล่าวถึง ผลการประชุมประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ (G-7) ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องกันในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้ ด้วยการเสนอให้หลักประกันเพื่อการส่งออก (export credit guarantee) เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภูมิภาคนี้ และว่า ทางสหราชอาณาจักรยังได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ASIA-EUROPE Trust Fund ขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ การให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับโครงสร้างของภาคการเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิค รวมทั้ง การจัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและบริการให้คำแนะนำภาคการเงินและการบริหารโครงการของอาเซม
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคนี้ ยังไม่ยุติและสามารถลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นด้วย เพราะประชาชนในภูมิภาคนี้จัดเป็นผู้ซื้อสำคัญของยุโรปและสหรัฐฯ ดังนั้น ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาคนี้ลดลง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าเพื่อกิจการอุตสาหกรรมจากยุโรปและสหรัฐฯ อาทิ เครื่องจักรและยานยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ ส่งสินค้าออกได้ลดลงด้วย นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า หากสหภาพยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันปัญหา เพื่อมิให้ขยายตัวลุกลามออกไป ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และว่า ถ้าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคนี้หมดไป ก็จะทำให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อยุโรปด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ได้ย้ำว่ายุโรปและเอเชียต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้ง ผลกระทบทางสังคมอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และว่า การประชุมอาเซมจัดเป็นเวทีในการเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดระหว่างสองภูมิภาคนี้ต่อไป--จบ--
วันนี้ (3 มี.ค. 41) เวลา 16.00 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เซอร์ เจมส์ วิลเลี่ยม ฮอดจ์ (Sir. James William Hodge) ได้นำนายดีเรก จอห์น แฟทเชทท์ (Derek John Fatchett) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหราชอาณาจักร เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้แทนพิเศษของนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและประธานสหภาพยุโรป เพื่อร่วมหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย และการเตรียมการการประชุมเอเชีย-ยุโรป หรืออาเซม (ASEM) ครั้งที่ 2 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ แจ้งว่า ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปต่างให้ความสนใจวิกฤตการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคนี้ และปรารถนาที่จะเห็นเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ฟื้นตัวกลับสู่อัตราการเติบโตสูงอีกครั้งหนึ่ง และว่าวิกฤตการณ์ดังกล่าวนี้จะเป็นประเด็นหนึ่งของการประชุมสุดยอดเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 (ASEM-2) ณ สหราชอาณาจักร พร้อมกันนี้ยังได้แสดงความชื่นชมประเทศไทยที่ยึดมั่นและปฏิบัติตามความตกลงที่ได้ทำไว้กับ IMF อย่างเคร่งครัด และเห็นว่า การแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของไทยที่ดำเนินการโดยรัฐบาลในขณะนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและน่ายินดี
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ปัญหาสำคัญในขณะนี้ คือ ปัญหาหนี้สินของภาคเอกชนไทย ซึ่งประเทศไทยได้พยายามเจรจาเพื่อขอขยายเวลาในการชำระหนี้ดังกล่าวกับสถาบันการเงินต่างประเทศซึ่งร้อยละ 50 เป็นหนี้ของสถาบันการเงินญี่ปุ่น และว่าสถานะล่าสุด หนี้ของภาคเอกชนประมาณร้อยละ 80 ได้รับการขยายเวลาออกไปแล้ว ในส่วนหนี้สินของภาครัฐ เช่น หนี้จากการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหารนั้น รัฐบาลได้เจรจากับประเทศคู่ค้า เพื่อขอขยายเวลาในการชำระหนี้ออกไป ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากบางประเทศ เช่น เยอรมนี โดยตกลงขยายเวลาในการชำระหนี้ให้แก่ประเทศไทยเป็นเวลา 2 ปี โดยไม่คิดดอกเบี้ย ในเรื่องนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ได้กล่าวถึงกรณีที่เยอรมนีได้ให้ความช่วยเหลือประเทศไทยในการขยายเวลาในการชำระหนี้ให้แก่ลูกหนี้ภาคเอกชนไทยว่า ทางสหราชอาณาจักรเองก็จะพิจารณาดำเนินการขยายเวลาในการชำระหนี้ให้แก่ภาคเอกชนไทยเช่นกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณ และแจ้งว่า ในปัจจุบันสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีการลงทุนในประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่ง เมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่น ๆ และเป็นประเทศคู่ค้าอันดับสองรองจากเยอรมนี
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ยังได้สอบถามนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ในอินโดนีเซีย ซึ่งนายกรัฐมนตรีแจ้งว่า อินโดนีเซียกำลังเผชิญปัญหาสำคัญ คือ ปัญหาการขาดแคลนอาหาร ในขณะนี้มีชาวอินโนนีเซียประมาณ 200 ล้านคน ประสบปัญหาดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปพบปะประธานาธิบดีซูฮาร์โต และนำข้าวสารจำนวน 5,000 ตันไปมอบให้เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาดังกล่าว และว่า หากปัญหาการขาดแคลนอาหารบรรเทาลงแล้ว ปัญหาอื่น ๆ จะบรรเทาลงไปด้วย
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ยังได้กล่าวถึง ผลการประชุมประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ (G-7) ว่า ที่ประชุมเห็นพ้องกันในการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในภูมิภาคเอเชียที่กำลังประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในขณะนี้ ด้วยการเสนอให้หลักประกันเพื่อการส่งออก (export credit guarantee) เพื่อเป็นการส่งเสริมการค้าและฟื้นฟูความเชื่อมั่นในภูมิภาคนี้ และว่า ทางสหราชอาณาจักรยังได้เสนอให้มีการจัดตั้ง ASIA-EUROPE Trust Fund ขึ้น เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจและสังคมอันเนื่องมาจากผลกระทบทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ การให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับโครงสร้างของภาคการเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิค รวมทั้ง การจัดตั้งเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญและบริการให้คำแนะนำภาคการเงินและการบริหารโครงการของอาเซม
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในภูมิภาคนี้ ยังไม่ยุติและสามารถลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นด้วย เพราะประชาชนในภูมิภาคนี้จัดเป็นผู้ซื้อสำคัญของยุโรปและสหรัฐฯ ดังนั้น ผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้กำลังซื้อของประชาชนในภูมิภาคนี้ลดลง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าเพื่อกิจการอุตสาหกรรมจากยุโรปและสหรัฐฯ อาทิ เครื่องจักรและยานยนต์ ซึ่งจะส่งผลให้ประเทศในยุโรปและสหรัฐฯ ส่งสินค้าออกได้ลดลงด้วย นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า หากสหภาพยุโรปเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันปัญหา เพื่อมิให้ขยายตัวลุกลามออกไป ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก และว่า ถ้าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคนี้หมดไป ก็จะทำให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น ซึ่งจะเป็นผลดีต่อยุโรปด้วย ในการนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฯ ได้ย้ำว่ายุโรปและเอเชียต่างมีผลประโยชน์ร่วมกัน จึงควรร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการเงิน รวมทั้ง ผลกระทบทางสังคมอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ และว่า การประชุมอาเซมจัดเป็นเวทีในการเพิ่มพูนความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดระหว่างสองภูมิภาคนี้ต่อไป--จบ--