ทำเนียบรัฐบาล--10 เม.ย.--บิสนิวส์
วันนี้ (9 เม.ย. 2541) เมื่อเวลา 16.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายวิลเลียม นอร์แมน ฟีสเชอร์ (Mr.William Norman Fisher) เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งในประเทศไทย สรุปสาระสำคัญของการหารือได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับเอกอัครราชทูตออสเตรเลียที่ได้รับแต่งตั้งให้มาปฏิบัติหน้าที่และกล่าวขอบคุณรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่ไทยประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรในยามยากของออสเตรเลียต่อประเทศไทย พร้อมกับได้กล่าวให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลไทยกำลังแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงิน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากวิกฤตการณ์นั้นยังเป็นที่น่าเป็นห่วงอยู่ เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของการว่างงานและปัญหาทางด้านสังคมที่เป็นผลอันเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในการนี้ เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย กล่าวชี้แจงถึง วัตถุประสงค์ในการเข้าเยี่ยมคารวะครั้งนี้ว่า นอกจากการเข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสที่รับตำแหน่งประจำประเทศไทยแล้ว ยังได้รับมอบหมายจากรัฐบาลออสเตรเลียในการนำสารจากนายจอห์น โฮเวิร์ด (Mr.John Howard) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียซึ่งจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย (Working Visit) ระหว่าง วันที่ 23-26 เมษายน 2541 นอกจากนี้ยังกล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียมีความชื่นชมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ของรัฐบาลไทย และเห็นว่ารัฐบาลไทยนั้นได้ดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว พร้อมกับได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ช่วยเหลือเจรจากับกลุ่มกระเหรี่ยงพุทธในสหภาพพม่า เพื่อปล่อยตัวอาสาสมัครชาวออสเตรเลียได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเป็นหน้าที่ของประเทศไทยที่จะต้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งความจริงแล้วรัฐบาลไทยได้พยายามเตือนผู้ที่จะเดินทางไปยังแนวชายแดนเสมอ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ตามแนวชายแดนพม่า ยังไม่อยู่ในความสงบ
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะเดินทางมาประเทศไทยและจะได้มีการพบปะหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศนั้น จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ออสเตรเลียให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งประเด็นหลักในการสนทนานั้นเน้นถึงการหารือเปิดเสรี ด้านการค้า การลงทุน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการที่จะเปิดตลาดการค้าเสรี ทั้งนี้ ในการแข่งขันด้านการค้าประเทศกำลังพัฒนายังต้องการเวลาในการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และในขณะนี้ มีนักเรียนไทยจำนวนมากให้ความสนใจที่จะไปศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบัน ไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงิน จึงใคร่ขอให้รัฐบาลออสเตรเลียให้ความสนับสนุนในการจัดสรรให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยด้วย ในเรื่องนี้เอกอัครราชทูตออสเตรเลียกล่าวยินดีที่จะช่วยประสานงานตามคำขอของรัฐบาลไทยต่อไป พร้อมกล่าวว่าในด้านเศรษฐกิจตนมีความยินดีแจ้งให้ทราบว่า ได้มีธุรกิจและนักลงทุนจากออสเตรเลียให้ความสนใจในการลงทุนในไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียก็จะให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่
ในตอนท้าย เอกอัครราชทูตออสเตรเลียได้กล่าวสอบถามถึง ผลการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 ที่สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียมีความต้องการที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การประชุมนั้นประสบผลสำเร็จด้วยดี และจากการประเมินผลนั้นทางสหภาพยุโรปนั้นได้ให้ความสนใจต่อปัญหาวิกฤตการณ์ในภูมิภาคเอเซียเป็นอย่างมาก และจะช่วยประสานงานในการส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นได้เน้นถึงการร่วมแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเอเชีย เนื่องจากเป็นปัญหาเร่งด่วน จึงมิได้ทำการหารือลงมติในเรื่องการรับสมาชิกเพิ่ม ซึ่งได้มี 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ที่ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตาม สมาชิกของกลุ่มเอเชีย-ยุโรป ได้ตกลงที่จะหารือในเรื่องนี้ในการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งต่อไปที่ประเทศเกาหลีใต้ ในอีกสองปีข้างหน้า แม้ว่าจะไม่มีการลงมติเป็นเอกฉันท์ในการรับสมาชิกภาพเพิ่ม ในส่วนของประเทศไทยนั้นยินดีจะให้ความสนับสนุนออสเตรเลียอย่างแน่นอน--จบ--
วันนี้ (9 เม.ย. 2541) เมื่อเวลา 16.30 น. ณ ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายวิลเลียม นอร์แมน ฟีสเชอร์ (Mr.William Norman Fisher) เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ในโอกาสเข้ารับตำแหน่งในประเทศไทย สรุปสาระสำคัญของการหารือได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีต้อนรับเอกอัครราชทูตออสเตรเลียที่ได้รับแต่งตั้งให้มาปฏิบัติหน้าที่และกล่าวขอบคุณรัฐบาลออสเตรเลียที่ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศไทยผ่านกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ขณะที่ไทยประสบกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นมิตรในยามยากของออสเตรเลียต่อประเทศไทย พร้อมกับได้กล่าวให้ความมั่นใจว่า รัฐบาลไทยกำลังแก้ไขวิกฤตการณ์ทางการเงิน โดยปฏิบัติตามเงื่อนไขกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศอย่างเคร่งครัด ซึ่งสถานการณ์ในขณะนี้ได้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากวิกฤตการณ์นั้นยังเป็นที่น่าเป็นห่วงอยู่ เช่น ปัญหาการเพิ่มขึ้นของการว่างงานและปัญหาทางด้านสังคมที่เป็นผลอันเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในการนี้ เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย กล่าวชี้แจงถึง วัตถุประสงค์ในการเข้าเยี่ยมคารวะครั้งนี้ว่า นอกจากการเข้าเยี่ยมคารวะในโอกาสที่รับตำแหน่งประจำประเทศไทยแล้ว ยังได้รับมอบหมายจากรัฐบาลออสเตรเลียในการนำสารจากนายจอห์น โฮเวิร์ด (Mr.John Howard) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียซึ่งจะเดินทางมาเยือนประเทศไทย (Working Visit) ระหว่าง วันที่ 23-26 เมษายน 2541 นอกจากนี้ยังกล่าวว่า รัฐบาลออสเตรเลียมีความชื่นชมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ของรัฐบาลไทย และเห็นว่ารัฐบาลไทยนั้นได้ดำเนินการในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว พร้อมกับได้กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้ช่วยเหลือเจรจากับกลุ่มกระเหรี่ยงพุทธในสหภาพพม่า เพื่อปล่อยตัวอาสาสมัครชาวออสเตรเลียได้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเป็นหน้าที่ของประเทศไทยที่จะต้องดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ซึ่งความจริงแล้วรัฐบาลไทยได้พยายามเตือนผู้ที่จะเดินทางไปยังแนวชายแดนเสมอ ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์ตามแนวชายแดนพม่า ยังไม่อยู่ในความสงบ
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีกล่าวด้วยว่า ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียจะเดินทางมาประเทศไทยและจะได้มีการพบปะหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศนั้น จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ออสเตรเลียให้มีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งประเด็นหลักในการสนทนานั้นเน้นถึงการหารือเปิดเสรี ด้านการค้า การลงทุน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ย้ำว่า ประเทศไทยมีความมุ่งมั่นในการที่จะเปิดตลาดการค้าเสรี ทั้งนี้ ในการแข่งขันด้านการค้าประเทศกำลังพัฒนายังต้องการเวลาในการพัฒนาเพื่อให้ทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว นอกจากนี้การพัฒนาด้านทรัพยากรมนุษย์มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และในขณะนี้ มีนักเรียนไทยจำนวนมากให้ความสนใจที่จะไปศึกษาต่อในประเทศออสเตรเลีย แต่ปัจจุบัน ไทยได้ประสบปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเงิน จึงใคร่ขอให้รัฐบาลออสเตรเลียให้ความสนับสนุนในการจัดสรรให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนไทยด้วย ในเรื่องนี้เอกอัครราชทูตออสเตรเลียกล่าวยินดีที่จะช่วยประสานงานตามคำขอของรัฐบาลไทยต่อไป พร้อมกล่าวว่าในด้านเศรษฐกิจตนมีความยินดีแจ้งให้ทราบว่า ได้มีธุรกิจและนักลงทุนจากออสเตรเลียให้ความสนใจในการลงทุนในไทยเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียก็จะให้การสนับสนุนในเรื่องนี้อย่างเต็มที่
ในตอนท้าย เอกอัครราชทูตออสเตรเลียได้กล่าวสอบถามถึง ผลการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 ที่สหราชอาณาจักร และออสเตรเลียมีความต้องการที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวว่า การประชุมนั้นประสบผลสำเร็จด้วยดี และจากการประเมินผลนั้นทางสหภาพยุโรปนั้นได้ให้ความสนใจต่อปัญหาวิกฤตการณ์ในภูมิภาคเอเซียเป็นอย่างมาก และจะช่วยประสานงานในการส่งเสริมด้านการค้าและการลงทุน โดยเนื้อหาส่วนใหญ่นั้นได้เน้นถึงการร่วมแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางเอเชีย เนื่องจากเป็นปัญหาเร่งด่วน จึงมิได้ทำการหารือลงมติในเรื่องการรับสมาชิกเพิ่ม ซึ่งได้มี 4 ประเทศ ได้แก่ อินเดีย ปากีสถาน นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ที่ได้แสดงความจำนงขอเข้าร่วมเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตาม สมาชิกของกลุ่มเอเชีย-ยุโรป ได้ตกลงที่จะหารือในเรื่องนี้ในการประชุมเอเชีย-ยุโรป ครั้งต่อไปที่ประเทศเกาหลีใต้ ในอีกสองปีข้างหน้า แม้ว่าจะไม่มีการลงมติเป็นเอกฉันท์ในการรับสมาชิกภาพเพิ่ม ในส่วนของประเทศไทยนั้นยินดีจะให้ความสนับสนุนออสเตรเลียอย่างแน่นอน--จบ--