ทำเนียบรัฐบาล--31 มี.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (25 มี.ค.) ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงการเตรียมการของฝ่ายไทยในการเดินทางไปร่วมการประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การประชุม ASEM ครั้งที่ 2 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 โดยจะมีผู้นำหรือผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ กลุ่มอาเซียน 7 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี (รวม 10 ประเทศ) และประเทศในสหภาพยุโรป 15 ประเทศ (สหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ลักเซมเบอร์ก ไอร์แลนด์ สวีเดน สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก กรีซ ออสเตรีย และฟินแลนด์) และคณะกรรมาธิการยุโรป สำหรับประเทศไทย ในฐานะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2539 จะมีบทบาทในสองสถานะ คือ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายเอเซียร่วมกับญี่ปุ่นและเป็นผู้นำในการประชุมเพื่อการประสานท่าทีระหว่างประเทศในเอเซีย 10 ประเทศ ก่อนที่จะมีการประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ในวันที่ 3-4 เมษายน 2541 นอกจากนี้ ในวันสุดท้ายของการประชุม นายโทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ พร้อมด้วย นายกรัฐมนตรีไทย นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป จะร่วมกันแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นพิธีปิดการประชุมฯ
ประเด็นที่ที่ประชุม ASEM ครั้งที่ 2 จะหารือร่วมกันประกอบด้วยประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงิน การเมืองระหว่างประเทศทั้งในยุโรปและเอเซีย ตลอดจนโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมจะมีการรับรองเอกสาร Asia-Europe Co-operation Framework เพื่อกำหนดความสำคัญของความร่วมมืออาเซมและทิศทางในอนาคต ตลอดจน การประกาศจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเซีย-ยุโรป ด้วย
การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญด้วยจะเป็นการสานต่อการประชุม ASEM ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพฯและเป็นการยืนยันว่า ความร่วมมือระหว่างเอเซียและยุโรป จะยังคงอยู่อย่างมีความหมายและมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของประเทศไทยนั้น การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อย้ำในจุดยืนของไทยที่ต้องการให้ที่ประชุม ASEM ให้ความสำคัญกับการหารือเรื่องความร่วมมือทางการเงินรวมทั้งการโน้มน้าวให้ประเทศยุโรปแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่าจะเข้ามามีบทบาทและร่วมแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่ประเทศในเอเซียกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เร่งผลักดันให้มีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ด้วยการออกแผนปฏิบัติการต่าง ๆ อาทิ แผนปฎิบัติการส่งเสริมการลงทุนและ แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า ตลอดจน การผลักดันให้มีการปฏิบัติตามผลการประชุมสภาธุรกิจเอเซีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 อันได้แก่ การขยายการค้าและการลงทุน และการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กระหว่างสองภูมิภาค สำหรับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ที่ประเทศไทยจะได้รับคือ การผลักดันให้มีการเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเซีย-ยุโรป ที่จังหวัดปทุมธานี และระดมความสนับสนุนทางการเงินเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกเพื่อนำมาใช้ในโครงการดังกล่าว ที้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้พิจารณาสนับสนุนเป็นวงเงิน 10 ล้านบาท
สำหรับประเด็นใหม่ที่ประเทศไทยอาจจะหยิบยกในที่ประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ที่สำคัญ คือแผนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเอเซีย-ยุโรป เวทีการประชุมความร่วมมือด้านการเกษตร เอเซีย-ยุโรป และเวทีการประชุมผู้ว่าราชการ/นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่เอเซีย-ยุโรป (Asia-Europe Forum of Governors of Cities / AEFGC) เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างเมืองใหญ่ (Megacities) และแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาให้เป็นแบบยั่งยืน
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ คาดว่าที่ประชุมฯ จะมีการหารือในประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ 1) การจัดตั้ง ASEM Trust Fund เพื่อให้ความช่วยเหลือคนยากจนที่ได้ผลกระทบเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและเพื่อช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างภาคการเงิน ซึ่งทางรัฐบาลอังกฤษกำลังพิจารณาให้เงินสมทบในเบื้องต้นแก่กองทุนนี้ จำนวน 5 ล้านปอนด์ 2) การจัดสร้างเครือข่ายของผู้ปฏิบัติและบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับด้านการเงินการธนาคาร เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการปรับโครงสร้างภาคการเงิน (Financial Restructuring Capacity Network) และ 3) การรับสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดียและปากีสถาน
สำหรับกำหนดการสำคัญ ๆ ของนายกรัฐมนตรีในการเดินทางไปร่วมประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน มีดังนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะกำหนดเดินทางออกจากประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2541 เวลา 01.00 น. โดยเที่ยวบินที่ TG-910 และเดินทางถึงกรุงลอนดอนในเวลา 07.05 น.ของวันเดียวกัน อนึ่งในระหว่างการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดการที่จะพบปะหารือระดับทวิภาคี กับผู้นำจากประเทศต่าง ๆ และเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 และพระราชสวามี ณ พระราชวัง บัคกิ้งแฮม พาเลซ (Buckingham Palace) ด้วย--จบ--
วันนี้ (25 มี.ค.) ณ ศูนย์แถลงข่าว ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายอรรคพล สรสุชาติ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงการเตรียมการของฝ่ายไทยในการเดินทางไปร่วมการประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การประชุม ASEM ครั้งที่ 2 จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 โดยจะมีผู้นำหรือผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ กลุ่มอาเซียน 7 ประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี (รวม 10 ประเทศ) และประเทศในสหภาพยุโรป 15 ประเทศ (สหราชอาณาจักร เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี เบลเยี่ยม เนเธอแลนด์ ลักเซมเบอร์ก ไอร์แลนด์ สวีเดน สเปน โปรตุเกส เดนมาร์ก กรีซ ออสเตรีย และฟินแลนด์) และคณะกรรมาธิการยุโรป สำหรับประเทศไทย ในฐานะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี 2539 จะมีบทบาทในสองสถานะ คือ เป็นผู้ประสานงานฝ่ายเอเซียร่วมกับญี่ปุ่นและเป็นผู้นำในการประชุมเพื่อการประสานท่าทีระหว่างประเทศในเอเซีย 10 ประเทศ ก่อนที่จะมีการประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ในวันที่ 3-4 เมษายน 2541 นอกจากนี้ ในวันสุดท้ายของการประชุม นายโทนี่ แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ พร้อมด้วย นายกรัฐมนตรีไทย นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และประธานคณะกรรมาธิการยุโรป จะร่วมกันแถลงข่าวภายหลังเสร็จสิ้นพิธีปิดการประชุมฯ
ประเด็นที่ที่ประชุม ASEM ครั้งที่ 2 จะหารือร่วมกันประกอบด้วยประเด็นเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงิน การเมืองระหว่างประเทศทั้งในยุโรปและเอเซีย ตลอดจนโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ ที่ประชุมจะมีการรับรองเอกสาร Asia-Europe Co-operation Framework เพื่อกำหนดความสำคัญของความร่วมมืออาเซมและทิศทางในอนาคต ตลอดจน การประกาศจัดตั้งกลุ่มวิสัยทัศน์เอเซีย-ยุโรป ด้วย
การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญด้วยจะเป็นการสานต่อการประชุม ASEM ครั้งที่ 1 ณ กรุงเทพฯและเป็นการยืนยันว่า ความร่วมมือระหว่างเอเซียและยุโรป จะยังคงอยู่อย่างมีความหมายและมีความโดดเด่นมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในส่วนของประเทศไทยนั้น การเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อย้ำในจุดยืนของไทยที่ต้องการให้ที่ประชุม ASEM ให้ความสำคัญกับการหารือเรื่องความร่วมมือทางการเงินรวมทั้งการโน้มน้าวให้ประเทศยุโรปแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนว่าจะเข้ามามีบทบาทและร่วมแก้ไขวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินที่ประเทศในเอเซียกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ เร่งผลักดันให้มีการขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกันมากขึ้น ด้วยการออกแผนปฏิบัติการต่าง ๆ อาทิ แผนปฎิบัติการส่งเสริมการลงทุนและ แผนปฏิบัติการอำนวยความสะดวกทางการค้า ตลอดจน การผลักดันให้มีการปฏิบัติตามผลการประชุมสภาธุรกิจเอเซีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 อันได้แก่ การขยายการค้าและการลงทุน และการพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กระหว่างสองภูมิภาค สำหรับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมอื่น ๆ ที่ประเทศไทยจะได้รับคือ การผลักดันให้มีการเห็นชอบร่วมกันในการจัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเอเซีย-ยุโรป ที่จังหวัดปทุมธานี และระดมความสนับสนุนทางการเงินเครื่องมือและผู้เชี่ยวชาญจากประเทศสมาชิกเพื่อนำมาใช้ในโครงการดังกล่าว ที้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้พิจารณาสนับสนุนเป็นวงเงิน 10 ล้านบาท
สำหรับประเด็นใหม่ที่ประเทศไทยอาจจะหยิบยกในที่ประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ที่สำคัญ คือแผนงานเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคมเอเซีย-ยุโรป เวทีการประชุมความร่วมมือด้านการเกษตร เอเซีย-ยุโรป และเวทีการประชุมผู้ว่าราชการ/นายกเทศมนตรีเมืองใหญ่เอเซีย-ยุโรป (Asia-Europe Forum of Governors of Cities / AEFGC) เพื่อขยายความร่วมมือระหว่างเมืองใหญ่ (Megacities) และแก้ไขปัญหาด้านการพัฒนาให้เป็นแบบยั่งยืน
อนึ่ง ในการประชุมครั้งนี้ คาดว่าที่ประชุมฯ จะมีการหารือในประเด็นหลัก ๆ ได้แก่ 1) การจัดตั้ง ASEM Trust Fund เพื่อให้ความช่วยเหลือคนยากจนที่ได้ผลกระทบเนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจและเพื่อช่วยเหลือด้านการปรับโครงสร้างภาคการเงิน ซึ่งทางรัฐบาลอังกฤษกำลังพิจารณาให้เงินสมทบในเบื้องต้นแก่กองทุนนี้ จำนวน 5 ล้านปอนด์ 2) การจัดสร้างเครือข่ายของผู้ปฏิบัติและบริษัทที่ปรึกษาเกี่ยวกับด้านการเงินการธนาคาร เพื่อให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการปรับโครงสร้างภาคการเงิน (Financial Restructuring Capacity Network) และ 3) การรับสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดียและปากีสถาน
สำหรับกำหนดการสำคัญ ๆ ของนายกรัฐมนตรีในการเดินทางไปร่วมประชุม ASEM ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน มีดังนี้ นายกรัฐมนตรีและคณะกำหนดเดินทางออกจากประเทศไทย ณ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2541 เวลา 01.00 น. โดยเที่ยวบินที่ TG-910 และเดินทางถึงกรุงลอนดอนในเวลา 07.05 น.ของวันเดียวกัน อนึ่งในระหว่างการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังมีกำหนดการที่จะพบปะหารือระดับทวิภาคี กับผู้นำจากประเทศต่าง ๆ และเข้าเฝ้าสมเด็จพระราชินีอลิซาเบ็ธที่ 2 และพระราชสวามี ณ พระราชวัง บัคกิ้งแฮม พาเลซ (Buckingham Palace) ด้วย--จบ--