ทำเนียบรัฐบาล--5 ส.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (29 ก.ค. 41) เวลา 13.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอรรคพล สรสุชาติ พร้อมด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จากสหราชอาณาจักร ได้แก่ Mr. Gerry Grimstone รองประธานบริษัท Schroders และ Sir Gavin Laird ผู้มีบทบาทในการเจรจากับสหภาพแรงงานอังกฤษ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ได้มีบทบาทและประสบการณ์ในกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหราชอาณาจักรในสมัยนายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher เมื่อ 15 ปีที่แล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้กล่าวสรุปถึงข้อเสนอแนะจากประสบการณ์ของอังกฤษเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 5 ประการสำคัญ คือ
ประการแรก การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอังกฤษแต่เดิมยังขาดความชัดเจน เนื่องจากเป็นการขายกิจการรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินเข้ากระทรวงการคลังเป็นสำคัญ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการนำเงินไปใช้เพื่อกิจการต่าง ๆ ที่รัฐเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ ซึ่งตรงกับแนวทางที่รัฐบาลไทยเน้นอยู่ในขณะนี้ กล่าวคือ เงินที่ได้ควรนำไปใช้ในการพัฒนารัฐวิสาหกิจเอง และอีกส่วนหนึ่งจะส่งให้กระทรวงการคลัง เพื่อนำไปจัดสรรสำหรับกิจการอื่น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
ประการที่สอง การขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลอังกฤษชักชวนให้มีการซื้อ-ขายกิจการผ่าน Export Credit Agencies ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ราคาหุ้นดีมาก
ประการที่สาม การขายหุ้นในลักษณะผ่อนชำระควบคู่กับการปฏิรูปการทำงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดดีขึ้นและเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ
ประการที่สี่ การกำกับรายสาขากิจการที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องทำให้เป็นผลสำเร็จก่อนการแปรรูป โดยการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขึ้นมาดูแลและวางกรอบแผนงาน การจัดสรรกำลังคนและการแบ่งอำนาจหน้าที่ เป็นต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวจะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงหรือทบวงใด 2) ไม่ควรมีลักษณะเป็นราชการจนเกินไป รวมทั้ง จะต้องลดบทบาทลงไป เมื่อรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น 3) ควรมีบทบาทในการป้องกันการผูกขาดและดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในด้านราคา
ประการที่ห้า ควรมีการกำหนดบทบาทของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน รวมทั้ง จะต้องสร้างความเข้าใจที่แท้จริงให้แก่พนักงานเกี่ยวกับประโยชน์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้และผลกำไรให้แก่กิจการ ตลอดจนโอกาสของพนักงานในการพัฒนาตนเอง ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พนักงานเข้ามามีบทบาทในกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้วย
หลังจากนั้น Mr. Gerry Grimston และ Sir Gavin Laird ได้ให้ความเห็นว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำเป็นจะต้องเน้นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนให้แก่สาธารณชนและพนักงาน โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน ในเรื่องความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลและปฏิรูปกฏระเบียบต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ตลอดจนผู้ที่เข้ามาร่วมถือหุ้น สำหรับ Sir Gavin Laird ได้ให้ความเห็นว่า จำเป็นต้องสร้างความรู้สึกมั่นคงในอาชีพและตำแหน่งให้แก่พนักงานภายหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง ควรเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเข้ามาถือหุ้นในกิจการ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและมีความรู้สึกเป็นหุ้นส่วนในความสำเร็จและความก้าวหน้าของกิจการรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ตลอดจน ควรส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสหภาพแรงงานและผู้บริหารด้วย
ต่อจากนั้น ได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศได้ซักถามปัญหา ซึ่งมีคำถามที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ความห่วงใยในเรื่องของความแตกต่างในเรื่องสังคม การเมืองและวัฒนธรรม ระหว่างไทยและอังกฤษ ในการที่จะนำเอารูปแบบและประสบการณ์ของอังกฤษมาใช้ และรวมถึงความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในการนี้ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวชี้แจงว่า การหารือกับผู้เชี่ยวชาญการแปรรูปของอังกฤษในวันนี้ เป็นเพียงการรับฟังประสบการณ์และข้อคิดเห็น และรัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งที่จะดูแลงานด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้มีอำนาจทางกฎหมาย โดยจะเป็นคณะกรรมการถาวรที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดจะเข้ามาบริหารประเทศ นโยบายในเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็จะต้องดำเนินต่อไป นอกจากนี้ ยังจะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่จะกำกับดูแลการแปรรูปรายสาขา เช่น ประปา ไฟฟ้า พลังงาน โทรคมนาคม เป็นต้น โดยจะทำหน้าที่คอยตรวจสอบควบคุม (Regulatory Body) เพื่อให้เป็นหลักประกันแก่ประชาชนว่า กิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานดังกล่าว จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมีราคาที่สมเหตุสมผล
ประเด็นที่สอง ความห่วงใยในเรื่องของการเข้ามาเป็นเจ้าของโดยคนต่างชาติ (foreign ownership) โดยเฉพาะความรู้สึกของพนักงานของรัฐวิสาหกิจว่ารัฐบาลไทยกำลังจะขายทรัพย์สินของประเทศ และในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งบรรยากาศของตลาดทุนไม่ได้เอื้ออำนวย รัฐบาลจะสามารถแสวงหาพันธมิตรในการลงทุน (strategic partner) ได้อย่างไร ซึ่ง นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ชี้แจงว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของอังกฤษในตอนเริ่มต้น ก็ได้รับแรงต่อต้านจากพนักงานและสหภาพของอังกฤษ แต่สิ่งที่มีความจำเป็น และต้องทำความเข้าใจกับพนักงานก็คือว่า การเปิดโอกาสให้นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติสามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และการที่ต่างชาติสามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วนได้ จะส่งผลให้ราคาของหุ้นและสินทรัพย์ดีขึ้น และเกิดแรงจูงใจในการเข้ามาลงทุน สร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นในภายหลัง อันจะทำให้รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ สามารถกระจายหุ้นต่อไปยังในตลาดทุนของไทย ทั้งนี้ ในโลกยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (globalization) ประเทศไทยไม่อาจที่จะมีข้อขัดขวางการเข้ามาลงทุนของต่างชาติได้ และปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่อยู่ภายใต้การแปรรูป ได้เปิดโอกาสแก่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ในการเข้ามาซื้อหุ้น และบางแห่งเปิดโอกาสให้คนไทยก่อนในการเข้ามาซื้อหุ้น
ประเด็นที่สาม มีความห่วงใยว่า ในรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เช่น บางจากปิโตรเลียม ซึ่งการต่อต้านในการแปรรูปฯ ไม่ได้มาจากสหภาพแรงงาน แต่มาจากผู้บริหารระดับสูง รัฐบาลจะมีวิธีการในการทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูงอย่างไร ในการนี้ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวตอบว่า กรณีของบางจากอาจเป็นกรณียกเว้น ซึ่งตนเองก็ได้มีการชี้แจงให้กับคณะผู้เชี่ยวชาญของอังกฤษทราบว่า ในบางเรื่องเช่น วัฒนธรรมของไทยอาจมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่น ๆ แต่ประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลได้มีการทำความเข้าใจกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าวแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องการจะเห็นคือ การบริหารงานในลักษณะที่เป็นหมู่คณะ (collective management) ของบางจาก และดำเนินไปในแนวทางเดียวกับรัฐบาล และรัฐบาลไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าบางจากจะต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์การ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการเห็นคือ ความโปร่งใสในเรื่องของบัญชีการเงิน (transparency of account) ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ขอให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งดำเนินการ รวมถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน--จบ--
วันนี้ (29 ก.ค. 41) เวลา 13.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอรรคพล สรสุชาติ พร้อมด้วย คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จากสหราชอาณาจักร ได้แก่ Mr. Gerry Grimstone รองประธานบริษัท Schroders และ Sir Gavin Laird ผู้มีบทบาทในการเจรจากับสหภาพแรงงานอังกฤษ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ได้มีบทบาทและประสบการณ์ในกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจของสหราชอาณาจักรในสมัยนายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher เมื่อ 15 ปีที่แล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
รองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ได้กล่าวสรุปถึงข้อเสนอแนะจากประสบการณ์ของอังกฤษเกี่ยวกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 5 ประการสำคัญ คือ
ประการแรก การแปรรูปรัฐวิสาหกิจในอังกฤษแต่เดิมยังขาดความชัดเจน เนื่องจากเป็นการขายกิจการรัฐวิสาหกิจเพื่อนำเงินเข้ากระทรวงการคลังเป็นสำคัญ ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการนำเงินไปใช้เพื่อกิจการต่าง ๆ ที่รัฐเล็งเห็นว่าเป็นประโยชน์ ซึ่งตรงกับแนวทางที่รัฐบาลไทยเน้นอยู่ในขณะนี้ กล่าวคือ เงินที่ได้ควรนำไปใช้ในการพัฒนารัฐวิสาหกิจเอง และอีกส่วนหนึ่งจะส่งให้กระทรวงการคลัง เพื่อนำไปจัดสรรสำหรับกิจการอื่น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป
ประการที่สอง การขายหุ้นให้แก่นักลงทุนต่างชาติ รัฐบาลอังกฤษชักชวนให้มีการซื้อ-ขายกิจการผ่าน Export Credit Agencies ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งออก ส่งผลให้ราคาหุ้นดีมาก
ประการที่สาม การขายหุ้นในลักษณะผ่อนชำระควบคู่กับการปฏิรูปการทำงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ได้รับผลตอบแทนจากการดำเนินการ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาหุ้นในตลาดดีขึ้นและเป็นที่สนใจของนักลงทุนต่างชาติ
ประการที่สี่ การกำกับรายสาขากิจการที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำเป็นต้องทำให้เป็นผลสำเร็จก่อนการแปรรูป โดยการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขึ้นมาดูแลและวางกรอบแผนงาน การจัดสรรกำลังคนและการแบ่งอำนาจหน้าที่ เป็นต้น ทั้งนี้ คณะกรรมการดังกล่าวจะต้องมีลักษณะดังนี้ 1) เป็นอิสระไม่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงหรือทบวงใด 2) ไม่ควรมีลักษณะเป็นราชการจนเกินไป รวมทั้ง จะต้องลดบทบาทลงไป เมื่อรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ มีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น 3) ควรมีบทบาทในการป้องกันการผูกขาดและดูแลผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยเฉพาะในด้านราคา
ประการที่ห้า ควรมีการกำหนดบทบาทของพนักงานรัฐวิสาหกิจให้ชัดเจน รวมทั้ง จะต้องสร้างความเข้าใจที่แท้จริงให้แก่พนักงานเกี่ยวกับประโยชน์ของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้และผลกำไรให้แก่กิจการ ตลอดจนโอกาสของพนักงานในการพัฒนาตนเอง ทั้งนี้ จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้พนักงานเข้ามามีบทบาทในกระบวนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้วย
หลังจากนั้น Mr. Gerry Grimston และ Sir Gavin Laird ได้ให้ความเห็นว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำเป็นจะต้องเน้นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจนให้แก่สาธารณชนและพนักงาน โดยเฉพาะสหภาพแรงงาน ในเรื่องความจำเป็นและประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง รัฐบาลจะต้องเข้ามามีบทบาทในการดูแลและปฏิรูปกฏระเบียบต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างโปร่งใสและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน ตลอดจนผู้ที่เข้ามาร่วมถือหุ้น สำหรับ Sir Gavin Laird ได้ให้ความเห็นว่า จำเป็นต้องสร้างความรู้สึกมั่นคงในอาชีพและตำแหน่งให้แก่พนักงานภายหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้ง ควรเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถเข้ามาถือหุ้นในกิจการ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดและมีความรู้สึกเป็นหุ้นส่วนในความสำเร็จและความก้าวหน้าของกิจการรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ ตลอดจน ควรส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างสหภาพแรงงานและผู้บริหารด้วย
ต่อจากนั้น ได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้สื่อข่าวไทยและต่างประเทศได้ซักถามปัญหา ซึ่งมีคำถามที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ ประการที่หนึ่ง ความห่วงใยในเรื่องของความแตกต่างในเรื่องสังคม การเมืองและวัฒนธรรม ระหว่างไทยและอังกฤษ ในการที่จะนำเอารูปแบบและประสบการณ์ของอังกฤษมาใช้ และรวมถึงความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในการนี้ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวชี้แจงว่า การหารือกับผู้เชี่ยวชาญการแปรรูปของอังกฤษในวันนี้ เป็นเพียงการรับฟังประสบการณ์และข้อคิดเห็น และรัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นอย่างชัดเจนในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลจึงได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งที่จะดูแลงานด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และให้มีอำนาจทางกฎหมาย โดยจะเป็นคณะกรรมการถาวรที่จะทำงานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง ดังนั้น ไม่ว่ารัฐบาลชุดใดจะเข้ามาบริหารประเทศ นโยบายในเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจก็จะต้องดำเนินต่อไป นอกจากนี้ ยังจะได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการที่จะกำกับดูแลการแปรรูปรายสาขา เช่น ประปา ไฟฟ้า พลังงาน โทรคมนาคม เป็นต้น โดยจะทำหน้าที่คอยตรวจสอบควบคุม (Regulatory Body) เพื่อให้เป็นหลักประกันแก่ประชาชนว่า กิจการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานดังกล่าว จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง รวมถึงจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ และมีราคาที่สมเหตุสมผล
ประเด็นที่สอง ความห่วงใยในเรื่องของการเข้ามาเป็นเจ้าของโดยคนต่างชาติ (foreign ownership) โดยเฉพาะความรู้สึกของพนักงานของรัฐวิสาหกิจว่ารัฐบาลไทยกำลังจะขายทรัพย์สินของประเทศ และในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ซึ่งบรรยากาศของตลาดทุนไม่ได้เอื้ออำนวย รัฐบาลจะสามารถแสวงหาพันธมิตรในการลงทุน (strategic partner) ได้อย่างไร ซึ่ง นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ชี้แจงว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ของอังกฤษในตอนเริ่มต้น ก็ได้รับแรงต่อต้านจากพนักงานและสหภาพของอังกฤษ แต่สิ่งที่มีความจำเป็น และต้องทำความเข้าใจกับพนักงานก็คือว่า การเปิดโอกาสให้นักลงทุนทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติสามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วน และการที่ต่างชาติสามารถเข้ามาเป็นหุ้นส่วนได้ จะส่งผลให้ราคาของหุ้นและสินทรัพย์ดีขึ้น และเกิดแรงจูงใจในการเข้ามาลงทุน สร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นในภายหลัง อันจะทำให้รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ สามารถกระจายหุ้นต่อไปยังในตลาดทุนของไทย ทั้งนี้ ในโลกยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ (globalization) ประเทศไทยไม่อาจที่จะมีข้อขัดขวางการเข้ามาลงทุนของต่างชาติได้ และปัจจุบัน รัฐวิสาหกิจหลายแห่งที่อยู่ภายใต้การแปรรูป ได้เปิดโอกาสแก่ทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือต่างชาติ ในการเข้ามาซื้อหุ้น และบางแห่งเปิดโอกาสให้คนไทยก่อนในการเข้ามาซื้อหุ้น
ประเด็นที่สาม มีความห่วงใยว่า ในรัฐวิสาหกิจบางแห่ง เช่น บางจากปิโตรเลียม ซึ่งการต่อต้านในการแปรรูปฯ ไม่ได้มาจากสหภาพแรงงาน แต่มาจากผู้บริหารระดับสูง รัฐบาลจะมีวิธีการในการทำความเข้าใจกับผู้บริหารระดับสูงอย่างไร ในการนี้ นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้กล่าวตอบว่า กรณีของบางจากอาจเป็นกรณียกเว้น ซึ่งตนเองก็ได้มีการชี้แจงให้กับคณะผู้เชี่ยวชาญของอังกฤษทราบว่า ในบางเรื่องเช่น วัฒนธรรมของไทยอาจมีความแตกต่างไปจากประเทศอื่น ๆ แต่ประเด็นสำคัญคือ รัฐบาลได้มีการทำความเข้าใจกับรัฐวิสาหกิจดังกล่าวแล้วว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องการจะเห็นคือ การบริหารงานในลักษณะที่เป็นหมู่คณะ (collective management) ของบางจาก และดำเนินไปในแนวทางเดียวกับรัฐบาล และรัฐบาลไม่ได้ตั้งเงื่อนไขว่าบางจากจะต้องเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมภายในองค์การ แต่สิ่งที่รัฐบาลต้องการเห็นคือ ความโปร่งใสในเรื่องของบัญชีการเงิน (transparency of account) ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลได้ขอให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งดำเนินการ รวมถึงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน--จบ--