ทำเนียบรัฐบาล--25 ก.ค.--บิสนิวส์
วันที่ 24 กรกฎาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราเทพ รัตนากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการดำเนินการจัดทำโครงการที่สำคัญในภาคเหนือ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานให้ทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2 จะมีขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม 2540 ว่า
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนงานและโครงการพัฒนาที่สำคัญในภาคเหนือจำนวน 27 โครงการ 1 แผนงาน ในจำนวนโครงการต่างๆ มี 3 โครงการที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ โครงการเร่งรัดป้องกัน-ควบคุมและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ส่วน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โครงการพัฒนารูปแบบการปรึกษาเรื่องเอดส์สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ เนื่องจากทั้งปัญหาโรคเอดส์และปัญหาการขาดสารไอโอดีนนั้นมีผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง จากรายงานสถานการณ์โรคเอดส์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2540 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์ถึง 63,578 ราย และผู้ติดเชื้อที่มีอาการ 26,378 รายในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 44 และ 46 อยู่ในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบนได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ซึ่งกลุ่มที่มีการแพร่ระบาดของเอดส์มากที่สุดคือ กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศทั้งโดยตรงและแอบแฝง ถึงร้อยละ 40 และจังหวัดที่พบว่ามีอาการติดเชื้อสูง คือจังหวัดลำปาง น่าน และแพร่
การดำเนินงานที่ผ่านมาทางกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นการให้ความรู้ จัดหาอาสาสมัครคอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา รวมทั้งการปรับกระบวนการบริหารจัดการ ส่งผลให้ประชนเกือบทั้งประเทศมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ดีขึ้น ทำให้อัตราการติดเชื้อกามโรคลดลงจาก 10.9 ต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2530 เหลือ 0.2 คือ ประชากร 1,000 คนในปี 2539 จากจำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่เพิ่มขึ้นได้มีการเตรียมพร้อมในการฝึกอบรมอาสาสมัคร ญาติและบุคคลใกล้ชิด ช่วยดูแลผู้ป่วยด้วย สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดบริการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีความเข้าใจและสามารถอยู่ในสังคมและเปิดเผยตนเองได้มากขึ้น
สำหรับโครงการรณรงค์ควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนซึ่งพบมากที่สุดในทุกจังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนนำนั้น ขณะนี้ได้มีความก้าวหน้าและพัฒนามาถึงจุดสำคัญ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์และมีพระมหากรุณาธิคุณต่อโครงการนี้อย่างมากที่สุด ในส่วนของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและได้มีความตื่นตัวในส่วนราชการต่างๆ ที่รับผิดชอบมากขึ้น รวมทั้งประชาชนและสื่อมวลชนต่างให้ความสนใจ จึงคาดว่าการเพิ่มปริมาณและควบคุมคุณภาพเกลือไอโอดีนจะช่วยให้โครงการนั้นประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาลที่จะกำจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดสิ้นภายในปี 2543--จบ
วันที่ 24 กรกฎาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราเทพ รัตนากร โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการดำเนินการจัดทำโครงการที่สำคัญในภาคเหนือ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้รายงานให้ทราบเพื่อใช้เป็นข้อมูลประชาสัมพันธ์ก่อนการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 2 จะมีขึ้นที่ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ในวันอังคารที่ 29 กรกฎาคม 2540 ว่า
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนงานและโครงการพัฒนาที่สำคัญในภาคเหนือจำนวน 27 โครงการ 1 แผนงาน ในจำนวนโครงการต่างๆ มี 3 โครงการที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญเป็นพิเศษ คือ โครงการเร่งรัดป้องกัน-ควบคุมและแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ส่วน 6 จังหวัดภาคเหนือตอนบน โครงการพัฒนารูปแบบการปรึกษาเรื่องเอดส์สำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และโครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ เนื่องจากทั้งปัญหาโรคเอดส์และปัญหาการขาดสารไอโอดีนนั้นมีผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง จากรายงานสถานการณ์โรคเอดส์เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2540 พบว่ามีผู้ป่วยโรคเอดส์ถึง 63,578 ราย และผู้ติดเชื้อที่มีอาการ 26,378 รายในจำนวนนี้พบว่าร้อยละ 44 และ 46 อยู่ในเขตภาคเหนือ โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือตอนบนได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน ซึ่งกลุ่มที่มีการแพร่ระบาดของเอดส์มากที่สุดคือ กลุ่มหญิงขายบริการทางเพศทั้งโดยตรงและแอบแฝง ถึงร้อยละ 40 และจังหวัดที่พบว่ามีอาการติดเชื้อสูง คือจังหวัดลำปาง น่าน และแพร่
การดำเนินงานที่ผ่านมาทางกระทรวงสาธารณสุขได้เน้นการให้ความรู้ จัดหาอาสาสมัครคอยให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบปัญหา รวมทั้งการปรับกระบวนการบริหารจัดการ ส่งผลให้ประชนเกือบทั้งประเทศมีความรู้เรื่องโรคเอดส์ดีขึ้น ทำให้อัตราการติดเชื้อกามโรคลดลงจาก 10.9 ต่อประชากร 1,000 คน ในปี 2530 เหลือ 0.2 คือ ประชากร 1,000 คนในปี 2539 จากจำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่เพิ่มขึ้นได้มีการเตรียมพร้อมในการฝึกอบรมอาสาสมัคร ญาติและบุคคลใกล้ชิด ช่วยดูแลผู้ป่วยด้วย สำหรับผู้ติดเชื้อเอดส์หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดบริการให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ติดเชื้อมีความเข้าใจและสามารถอยู่ในสังคมและเปิดเผยตนเองได้มากขึ้น
สำหรับโครงการรณรงค์ควบคุมโรคขาดสารไอโอดีนซึ่งพบมากที่สุดในทุกจังหวัดของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนนำนั้น ขณะนี้ได้มีความก้าวหน้าและพัฒนามาถึงจุดสำคัญ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพรัตนสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงให้ความอุปถัมภ์และมีพระมหากรุณาธิคุณต่อโครงการนี้อย่างมากที่สุด ในส่วนของรัฐบาลได้ให้ความสำคัญและได้มีความตื่นตัวในส่วนราชการต่างๆ ที่รับผิดชอบมากขึ้น รวมทั้งประชาชนและสื่อมวลชนต่างให้ความสนใจ จึงคาดว่าการเพิ่มปริมาณและควบคุมคุณภาพเกลือไอโอดีนจะช่วยให้โครงการนั้นประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาลที่จะกำจัดโรคขาดสารไอโอดีนให้หมดสิ้นภายในปี 2543--จบ