ทำเนียบรัฐบาล--25 พ.ย.--บิสนิวส์
วันนี้ (24 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 23 พ.ย. 2540 (ตามเวลาท้องถิ่น) ที่โรงแรมแวนคูเวอร์ แคนาดา นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงข่าวสรุปผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคว่า ผลการประชุมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าการประชุมจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เนื่องจากประเทศสมาชิกเอเปคหลายประเทศกำลังฟันฝ่ากับอุปสรรคทางเศรษฐกิจและการเมือง อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นที่สำคัญคือ
ประการที่หนึ่ง ความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อตกลง ของที่ประชุมเอเปคที่ซูบิค สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งได้กำหนดให้ประเทศต่าง ๆ มีการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุนตามความสมัครใจ ทั้งนี้ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค เห็นว่า ควรจะมีการประเมินผลเกี่ยวกับแผนการที่ได้เสนอให้มีการเปิดเสรีดังกล่าวด้วย
ประการที่สอง ที่ประชุมได้พิจารณาถึงความคืบหน้าของความตกลงที่จะให้เปิดเสรีการค้า เฉพาะรายภาคที่อยู่นอกเหนือจากกรอบความตกลงขององค์การการค้าโลกตามที่ได้ตกลงที่ซูบิคซึ่งประเทศสมาชิกเอเปค ในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว ดังเช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา และญี่ปุ่น และเห็นว่าแผนการดังกล่าว นับเป็นแผนบุกเบิกและสร้างความคึกคักให้กับกลุ่มเอเปคในการเปิดเสรีอย่างไม่หยุดยั้ง
ในส่วนของประเทศไทย ได้เสนอให้มีการเปิดเสรีรายสาขาในภาคที่จะเป็นประโยชน์ สำหรับประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งที่ประชุมก็ได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีในรายภาคขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยมีรายการสินค้าที่เป็นข้อเสนอของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา อัญมณีและเครื่องประดับ พลังงาน อนึ่งการเปิดเสรีทางการค้าโดยความสมัครใจนี้จะไม่มีการบังคับ แต่หากประเทศสมาชิกฯใด เห็นชอบก็จะดำเนินการให้มีการลดภาษีระหว่างกัน
ในส่วนของการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน นั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาในเรื่องพิธีการทางศุลกากร การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งระหว่างประเทศ และการจัดระเบียบให้เป็นสากลมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) และการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
รองนายกรัฐมนตรีฯ ยังกล่าวอีกว่า ได้ย้ำในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้วยว่า ควรจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเทศเอเปคที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย แม้ว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ก็ตาม แต่ยังจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ในภูมิภาคเอเซียนี้ ประเทศไทยอยากเห็นที่ประชุมเอเปคร่วมมือกันทำงานในด้าน (ECOTECH) มากขึ้น ที่ประชุมจึงควรที่จะมีการประเมินด้วยว่าการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนของเอเปคได้ส่งผลดีและผลเสียต่อภูมิภาคอย่างไร
ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาในเรื่องของวิสัยทัศน์และทิศทางของเอเปคในอนาคต เนื่องจากในการประชุมเอเปคครั้งแรก ณ เมืองซีแอตเติล สหรัฐฯ ในขณะนั้นได้กำหนดว่า เอเปคควรจะพัฒนาไปสู่เขตการค้าเสรีแบบเปิด แต่ประเทศไทยเห็นว่า การเปิดเสรีของเอเปคในขณะนี้ได้ก้าวหน้าไปไกลแล้ว ดังนั้น วิสัยทัศน์ ของเอเปค ควรจะเน้นในเรื่องของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเปค เนื่องจาก จะเป็นภาระหนักต่อไปในอนาคตที่เกิดจากการปรับตัวในระยะยาวจากสาเหตุภาวะการว่างงาน การเคลื่อนย้ายของแรงงาน อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกันได้ ทั้งนี้เอเปคควรจะร่วมมือกันในด้านเทคโนโลยี การพัฒนาทางด้านสังคม โดยเน้นการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนและสตรีด้วย ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวด้วยว่า ในกรอบของการทำงานร่วมกับองค์กรการค้าโลกได้มีการพิจารณาว่า เอเปคควรจะเสนอให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ในปี 2541 ซึ่งจะเป็นช่วงครบรอบ 50 ปี ขององค์การค้าโลกด้วย ทั้งนี้ ควรจะมีการนำหัวข้อเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการเงิน และการเปิดเสรีด้านสินค้าเกษตร ซึ่งยังไม่ได้มีการพิจารณาในการเจรจารอบอุรุกวัย มาเปิดเจรจากันต่อ เพราะที่ผ่านมาทำได้เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
รองนายกรัฐมนตรีฯได้กล่าวในตอนท้ายว่า ข้อตกลงทั้งหมดที่ได้จากการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคนี้ จะถูกหยิบยกขึ้นหารือต่อในที่ประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ในวันที่ 25 พ.ย. ต่อไปโดยคาดว่าที่ประชุมดังกล่าว จะได้มีการพิจารณาในเรื่องความร่วมมือเพื่อการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเซียในประเด็นสำคัญ ที่สืบเนื่องมาจากการประชุมร่วมกันของรัฐมนตรีเอเปคที่กรุงมะนิลา โดยจะยอมรับในข้อเสนอของรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางใน 3 ประเด็น คือ 1) การหาแหล่งเงินเพิ่มเติม นอกเหนือจากไอเอ็มเอฟ เพื่อเป็นมาตรการเสริมของไอเอ็มเอฟ แต่ไม่ใช่เป็นการดำเนินการนอกกรอบของไอเอ็มเอฟ 2) จะเน้นการประสานงานเชื่อมโยงนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเปคได้เสนอว่า ควรให้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปคเร็วขึ้นกว่าที่ได้กำหนดไว้แต่เดิม เนื่องจากจำเป็นจะต้องให้มีการพิจารณาในกรอบความตกลงจากที่ประชุมครั้งนี้โดยเร่งด่วน 3) ควรเร่งปฏิรูปโครงสร้างระบบการควบคุมและตรวจสอบสถาบันทางการเงินให้เข้มงวดและรอบคอบมากขึ้น ซึ่งกรอบดังกล่าวเอเปคเสนอว่า แม้จะมีปัญหาวิกฤติการเงินการคลังการเปิดเสรีด้านการเงินก็ควรเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน
รองนายกรัฐมนตรีฯ ยังได้กล่าวถึงการรับสมัครสมาชิกใหม่ว่า ไทยสนับสนุนประเทศเปรูและเวียดนาม ส่วนการรับรัสเซีย ซึ่งเป็นข้อเสนอของสหรัฐฯ นั้น ประเทศไทยยอมรับได้ อย่างไรก็ตามโดยสรุปแล้ว ทุกประเทศเห็นพ้องกันว่า ไม่ควรขยายจำนวนของสมาชิกเอเปค จนกว่าเราจะได้พูดกันให้ชัดเจนว่าเอเปคควรจะมีสมาชิกจำนวนเท่าไหร่ และมีกรอบที่ชัดเจนในการเปิดรับสมาชิกใหม่ เพราะในขณะนี้ปัญหามีมากอยู่แล้ว การทำความตกลงที่เป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหาก็ยิ่งลำบาก และมีความล่าช้าในการเปิดเสรี อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ 3 ประเทศนี้ จะถูกนำเข้าสู่การหารือในที่ประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปคอีกครั้ง
นอกจากนี้รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวถึงความสัมพันธ์การค้าไทย - สหรัฐฯว่า จากการที่ได้มีโอกาสพบกับนายชาลิน บาเชฟสกี ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) มีแนวโน้มที่ดีว่า สหรัฐฯ จะต่ออายุสิทธิพิเศษทางการค้าหรือ จีเอสพี ให้กับไทยในปีหน้าต่อไปอีก 1 ปี รวมถึงสินค้าอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL-Pricrity Watch List) โดยฝ่ายไทยได้เสนอไปว่าควรจะได้มีการเร่งแก้ไขร่วมกันโดยอาจจะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ก็ได้ตอบตกลงและได้สั่งการไปแล้ว
สำหรับเรื่องสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ WL นั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯตั้งโปรแกรมว่า ประเทศไทยควรจะต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินการให้มีการถอนรายชื่อสินค้าไทยออกมาจากบัญชี WL เช่น การปรับปรุงด้านตัวบทกฎหมาย สิทธิบัตรยา ซึ่งถ้าไทยทำได้ก็จะส่งผลดีต่อความคล่องตัวในการค้าขายระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในสินค้าประเภทอื่น ๆ ด้วย
ส่วนในเรื่องความช่วยเหลืออื่น ๆ นั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ย้ำว่าปัญหาเศรษฐกิจของเอเซียรวมถึงประเทศไทย ครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ซึ่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ก็ได้ให้คำยืนยันว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังถือว่าภูมิภาคเอเซียเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญ และอยากให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเซียรวมถึงไทย แต่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสด้วย--จบ--
วันนี้ (24 พ.ย.) เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 23 พ.ย. 2540 (ตามเวลาท้องถิ่น) ที่โรงแรมแวนคูเวอร์ แคนาดา นายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แถลงข่าวสรุปผลการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคว่า ผลการประชุมอยู่ในระดับที่น่าพอใจ แม้ว่าการประชุมจะเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ยากลำบาก เนื่องจากประเทศสมาชิกเอเปคหลายประเทศกำลังฟันฝ่ากับอุปสรรคทางเศรษฐกิจและการเมือง อย่างไรก็ดี ที่ประชุมได้มีการหารือในประเด็นที่สำคัญคือ
ประการที่หนึ่ง ความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อตกลง ของที่ประชุมเอเปคที่ซูบิค สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ซึ่งได้กำหนดให้ประเทศต่าง ๆ มีการเปิดเสรีทางด้านการค้าและการลงทุนตามความสมัครใจ ทั้งนี้ ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปค เห็นว่า ควรจะมีการประเมินผลเกี่ยวกับแผนการที่ได้เสนอให้มีการเปิดเสรีดังกล่าวด้วย
ประการที่สอง ที่ประชุมได้พิจารณาถึงความคืบหน้าของความตกลงที่จะให้เปิดเสรีการค้า เฉพาะรายภาคที่อยู่นอกเหนือจากกรอบความตกลงขององค์การการค้าโลกตามที่ได้ตกลงที่ซูบิคซึ่งประเทศสมาชิกเอเปค ในกลุ่มที่พัฒนาแล้ว ดังเช่น สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา และญี่ปุ่น และเห็นว่าแผนการดังกล่าว นับเป็นแผนบุกเบิกและสร้างความคึกคักให้กับกลุ่มเอเปคในการเปิดเสรีอย่างไม่หยุดยั้ง
ในส่วนของประเทศไทย ได้เสนอให้มีการเปิดเสรีรายสาขาในภาคที่จะเป็นประโยชน์ สำหรับประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งที่ประชุมก็ได้กำหนดให้มีการเปิดเสรีในรายภาคขึ้นมาชุดหนึ่ง โดยมีรายการสินค้าที่เป็นข้อเสนอของประเทศไทยรวมอยู่ด้วย ได้แก่ ปลาและผลิตภัณฑ์ปลา อัญมณีและเครื่องประดับ พลังงาน อนึ่งการเปิดเสรีทางการค้าโดยความสมัครใจนี้จะไม่มีการบังคับ แต่หากประเทศสมาชิกฯใด เห็นชอบก็จะดำเนินการให้มีการลดภาษีระหว่างกัน
ในส่วนของการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน นั้น ที่ประชุมได้มีการพิจารณาในเรื่องพิธีการทางศุลกากร การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งระหว่างประเทศ และการจัดระเบียบให้เป็นสากลมากขึ้น นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการ (ECOTECH) ซึ่งเป็นความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) และการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
รองนายกรัฐมนตรีฯ ยังกล่าวอีกว่า ได้ย้ำในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้วยว่า ควรจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเทศเอเปคที่กำลังพัฒนารวมถึงประเทศไทย แม้ว่าเราจะสามารถแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้ก็ตาม แต่ยังจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์ในภูมิภาคเอเซียนี้ ประเทศไทยอยากเห็นที่ประชุมเอเปคร่วมมือกันทำงานในด้าน (ECOTECH) มากขึ้น ที่ประชุมจึงควรที่จะมีการประเมินด้วยว่าการเปิดเสรีทางการค้า และการลงทุนของเอเปคได้ส่งผลดีและผลเสียต่อภูมิภาคอย่างไร
ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาในเรื่องของวิสัยทัศน์และทิศทางของเอเปคในอนาคต เนื่องจากในการประชุมเอเปคครั้งแรก ณ เมืองซีแอตเติล สหรัฐฯ ในขณะนั้นได้กำหนดว่า เอเปคควรจะพัฒนาไปสู่เขตการค้าเสรีแบบเปิด แต่ประเทศไทยเห็นว่า การเปิดเสรีของเอเปคในขณะนี้ได้ก้าวหน้าไปไกลแล้ว ดังนั้น วิสัยทัศน์ ของเอเปค ควรจะเน้นในเรื่องของการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของเอเปค เนื่องจาก จะเป็นภาระหนักต่อไปในอนาคตที่เกิดจากการปรับตัวในระยะยาวจากสาเหตุภาวะการว่างงาน การเคลื่อนย้ายของแรงงาน อันจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกันได้ ทั้งนี้เอเปคควรจะร่วมมือกันในด้านเทคโนโลยี การพัฒนาทางด้านสังคม โดยเน้นการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนและสตรีด้วย ซึ่งประเทศไทยให้ความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก
รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวด้วยว่า ในกรอบของการทำงานร่วมกับองค์กรการค้าโลกได้มีการพิจารณาว่า เอเปคควรจะเสนอให้มีการเจรจาการค้ารอบใหม่ในปี 2541 ซึ่งจะเป็นช่วงครบรอบ 50 ปี ขององค์การค้าโลกด้วย ทั้งนี้ ควรจะมีการนำหัวข้อเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการเงิน และการเปิดเสรีด้านสินค้าเกษตร ซึ่งยังไม่ได้มีการพิจารณาในการเจรจารอบอุรุกวัย มาเปิดเจรจากันต่อ เพราะที่ผ่านมาทำได้เพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
รองนายกรัฐมนตรีฯได้กล่าวในตอนท้ายว่า ข้อตกลงทั้งหมดที่ได้จากการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคนี้ จะถูกหยิบยกขึ้นหารือต่อในที่ประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปค ในวันที่ 25 พ.ย. ต่อไปโดยคาดว่าที่ประชุมดังกล่าว จะได้มีการพิจารณาในเรื่องความร่วมมือเพื่อการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเซียในประเด็นสำคัญ ที่สืบเนื่องมาจากการประชุมร่วมกันของรัฐมนตรีเอเปคที่กรุงมะนิลา โดยจะยอมรับในข้อเสนอของรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการคลังและรองผู้ว่าการธนาคารกลางใน 3 ประเด็น คือ 1) การหาแหล่งเงินเพิ่มเติม นอกเหนือจากไอเอ็มเอฟ เพื่อเป็นมาตรการเสริมของไอเอ็มเอฟ แต่ไม่ใช่เป็นการดำเนินการนอกกรอบของไอเอ็มเอฟ 2) จะเน้นการประสานงานเชื่อมโยงนโยบายเศรษฐกิจส่วนรวมมากขึ้น ซึ่งรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเปคได้เสนอว่า ควรให้มีการจัดประชุมรัฐมนตรีคลังเอเปคเร็วขึ้นกว่าที่ได้กำหนดไว้แต่เดิม เนื่องจากจำเป็นจะต้องให้มีการพิจารณาในกรอบความตกลงจากที่ประชุมครั้งนี้โดยเร่งด่วน 3) ควรเร่งปฏิรูปโครงสร้างระบบการควบคุมและตรวจสอบสถาบันทางการเงินให้เข้มงวดและรอบคอบมากขึ้น ซึ่งกรอบดังกล่าวเอเปคเสนอว่า แม้จะมีปัญหาวิกฤติการเงินการคลังการเปิดเสรีด้านการเงินก็ควรเป็นแนวทางที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน
รองนายกรัฐมนตรีฯ ยังได้กล่าวถึงการรับสมัครสมาชิกใหม่ว่า ไทยสนับสนุนประเทศเปรูและเวียดนาม ส่วนการรับรัสเซีย ซึ่งเป็นข้อเสนอของสหรัฐฯ นั้น ประเทศไทยยอมรับได้ อย่างไรก็ตามโดยสรุปแล้ว ทุกประเทศเห็นพ้องกันว่า ไม่ควรขยายจำนวนของสมาชิกเอเปค จนกว่าเราจะได้พูดกันให้ชัดเจนว่าเอเปคควรจะมีสมาชิกจำนวนเท่าไหร่ และมีกรอบที่ชัดเจนในการเปิดรับสมาชิกใหม่ เพราะในขณะนี้ปัญหามีมากอยู่แล้ว การทำความตกลงที่เป็นเอกภาพในการแก้ไขปัญหาก็ยิ่งลำบาก และมีความล่าช้าในการเปิดเสรี อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอเกี่ยวกับการรับสมาชิกใหม่ 3 ประเทศนี้ จะถูกนำเข้าสู่การหารือในที่ประชุมระดับผู้นำเศรษฐกิจเอเปคอีกครั้ง
นอกจากนี้รองนายกรัฐมนตรีฯ กล่าวถึงความสัมพันธ์การค้าไทย - สหรัฐฯว่า จากการที่ได้มีโอกาสพบกับนายชาลิน บาเชฟสกี ผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) มีแนวโน้มที่ดีว่า สหรัฐฯ จะต่ออายุสิทธิพิเศษทางการค้าหรือ จีเอสพี ให้กับไทยในปีหน้าต่อไปอีก 1 ปี รวมถึงสินค้าอื่น ๆ ที่อยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าที่ถูกจับตามองเป็นพิเศษ (PWL-Pricrity Watch List) โดยฝ่ายไทยได้เสนอไปว่าควรจะได้มีการเร่งแก้ไขร่วมกันโดยอาจจะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ซึ่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ก็ได้ตอบตกลงและได้สั่งการไปแล้ว
สำหรับเรื่องสินค้าที่อยู่ในบัญชีรายชื่อ WL นั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ขอให้ฝ่ายสหรัฐฯตั้งโปรแกรมว่า ประเทศไทยควรจะต้องดำเนินการอย่างไรจึงจะสามารถดำเนินการให้มีการถอนรายชื่อสินค้าไทยออกมาจากบัญชี WL เช่น การปรับปรุงด้านตัวบทกฎหมาย สิทธิบัตรยา ซึ่งถ้าไทยทำได้ก็จะส่งผลดีต่อความคล่องตัวในการค้าขายระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ในสินค้าประเภทอื่น ๆ ด้วย
ส่วนในเรื่องความช่วยเหลืออื่น ๆ นั้น รองนายกรัฐมนตรีฯ ได้ย้ำว่าปัญหาเศรษฐกิจของเอเซียรวมถึงประเทศไทย ครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ใหญ่มาก จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากทุกฝ่าย ซึ่งผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ก็ได้ให้คำยืนยันว่าประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังถือว่าภูมิภาคเอเซียเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญ และอยากให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศในเอเซียรวมถึงไทย แต่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาคองเกรสด้วย--จบ--