?พลเอก ฉัตรชัยฯ ระบุว่า การบริหารจัดการน้ำเป็นวาระที่ คสช. ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องเร่งบริหารจัดการในทุกมิติ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำที่ใช้ในทางอุปโภคบริโภค และน้ำที่ใช้เพื่อการเกษตร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการคิดวางแผน เพื่อจัดทำแนวทางการบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบ เป็นรูปธรรม และยั่งยืน โดยคณะกรรมการชุดนี้จะร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ ทั้งระยะสั้น ระยะยาวครอบคลุมในหลายด้าน อาทิ ความสมดุลของปริมาณน้ำของประเทศทั้งน้ำเกินน้ำขาด คุณภาพน้ำ ระบบการบริหารจัดการ มาตรการจัดการน้ำด้วยการใช้สิ่งก่อสร้างและไม่ใช้สิ่งก่อสร้าง การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานราชการ ระบบรวบรวมและฐานข้อมูลด้านน้ำ รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลและสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ เป็นต้น และเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ขั้นต้น ที่ประชุมได้เห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมา ๕ กลุ่ม เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำในภาพรวมประกอบด้วย
?กลุ่มที่ ๑ รับผิดชอบลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก
กลุ่มที่ ๒ รับผิดชอบลุ่มน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
กลุ่มที่ ๓ รับผิดชอบระบบฐานข้อมูล
กลุ่มที่ ๔ รับผิดชอบการจัดองค์กร ข้อกำหนด กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มที่ ๕ รับผิดชอบด้านการสร้างการรับรู้และความเข้าใจต่อประชาชน
?ในที่ประชุมมอบให้อนุกรรมการแต่ละกลุ่ม ไปจัดทำแผนงานโครงการพร้อมจัดลำดับความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกำหนดนโยบายและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำพิจารณา โดยมีเป้าหมายว่าจะจัดทำแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่สมบูรณ์ให้แล้วเสร็จในระยะเวลา ๓ เดือน ทั้งนี้ พลเอกฉัตรชัยฯ ได้ให้ทุกกลุ่มงานนำแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องน้ำ มาเป็นหลักในการจัดทำแผนงานโครงการด้วย
กลุ่มยุทธศาสตร์และแผนการประชาสัมพันธ์ สำนักโฆษก
ที่มา: http://www.thaigov.go.th