ทำเนียบรัฐบาล--10 เม.ย.--บิสนิวส์
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 เวลา 16.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงแรม Royal Garden นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมหารือกับนายจาร์ค ชีรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 หลังจากนั้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลการหารือ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้หารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทย และให้ความเห็นว่า สถานการณ์ในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมาตรการที่รัฐบาลใช้ในการแก้ไขปัญหา มีความเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้แสดงความยินดีที่การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความคืบหน้าไปด้วยดี
ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยังได้แจ้งถึงผลการหารือร่วมกันระหว่างประธานาธิบดีฝรั่งเศสกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และผู้นำประเทศยุโรปอื่น ๆ เกี่ยวกับจุดยืนของยุโรป ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ทางยุโรปจะสนับสนุนให้มีการหยิบยกวิกฤตการณ์ในเอเชียมาเป็นประเด็นของที่ประชุมฯ และจะมีการออกแถลงการณ์ถึงจุดยืนร่วมกันของเอเชียและยุโรป เพื่อสะท้อนมุมมองของปัญหาและแนวทางในทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ได้ให้ข้อคิดเห็นและให้กำลังใจในการแก้ไขปัญหาต่อไป พร้อมกับกล่าวว่า ในขณะนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่รัฐบาลยังจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาต่อไป โดยเฉพาะปัญหาคนว่างงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในการนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กล่าวเสริมว่า ฝรั่งเศสก็เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทยมาก่อน วิถีทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้นั้น รัฐบาลจะต้องมีความเข้มแข็งในการแก้ปัญหา และเห็นว่ามาตรการในกรอบของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จัดว่าดีที่สุดและช่วยแก้ปัญหาให้แก่ประเทศต่าง ๆ ที่มีปัญหาได้ทุกครั้ง
สำหรับท่าทีของไทยเกี่ยวกับการออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุม โดยแยกเป็นสองฉบับนั้นนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยได้เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น และคิดว่าจะเป็นการแสดงจุดยืนที่ดี และเป็นการแสดงสัญญาณที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของเอเชีย พร้อมกับได้กล่าวย้ำว่า พื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชียยังอยู่ในสภาพที่ดีและยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต
อนึ่ง ในการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 2 นี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า ฝรั่งเศสต้องการให้มีผลในการสานต่อแผนการต่าง ๆ ที่ได้มีการเสนอในคราวการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ และได้แสดงถึงจุดยืนที่กลุ่มประเทศต้องการเห็น ได้แก่ การสร้างความมั่นใจในศักยภาพของเอเชียให้บังเกิดขึ้น การสร้างความเป็นปึกแผ่นของ ASEM ในการทำงานร่วมกันในอนาคต สำหรับในแง่ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคึระหว่างไทยและฝรั่งเศสนั้น แบ่งความสำคัญได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ในด้านเศรษฐกิจ ฝรั่งเศสจะสนับสนุนให้นักธุรกิจของตนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้มีนักธุรกิจฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าและด้านอื่น ๆ แล้ว 2) ในด้านการเมือง ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในฐานะสมาชิก ASEM ประกอบกับความสัมพันธ์อันยาวนาน จะทำให้มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น และแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้เข้ามาช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาในกัมพูชา และสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ในเดือนเมษายนนี้ สำหรับประการที่ 3) เป็นด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนการแสดงสินค้าระหว่างกัน
ในตอนท้าย ผู้นำทั้งสองต่างกล่าวเชิญให้มีการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน ทั้งนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ตอบรับว่า การเยือนของตนอาจจะมีขึ้นในปีหน้า ซึ่งตรงกับโอกาสเฉลิมฉลอง 72 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในส่วนของนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ยินดีจะเดินทางไปเยือนฝรั่งเศสในเวลาที่เหมาะสมต่อไป
ต่อมาในเวลา 17.16 น. ของวันเดียวกัน นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธาน และกล่าวเปิดการประชุมผู้นำฝ่ายเอเชีย (Asian Caucus) ณ โรงแรม Dorchester โดยการประชุมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่จะมีการหยิบยกขึ้นมาหารือ อาทิ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในเอเชียและจุดยืนยันของเอเชียต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว การรับสมาชิกใหม่ของ ASEM โดยในที่ประชุมได้ตกลงแบ่งภารกิจดังนี้
1) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะเป็นผู้กล่าวนำในหัวข้อวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย จากนั้นผู้นำของประเทศต่าง ๆ จะร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อแสดงจุดยืนของเอเชีย และแสดงความเป็นเอกภาพ
2) ประธานาธิบดีคิม แด จุง จะเป็นผู้กล่าวนำเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี
3) นายกรัฐมนตรีไทยจะเป็นผู้กล่าวนำในปัญหากัมพูชา
สำหรับท่าทีของเอเชียต่อวิกฤตการณ์ทางการเงินนั้น ผู้นำฝ่ายเอเชียต่างเห็นพ้องว่า ต้องการให้ยุโรปมองพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงในเอเชียในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะศักยภาพของพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังดีอยู่ และมีโอกาสที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในโลก ฉะนั้น ทัศนะการมองเอเชียของยุโรปไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังควรแสดงให้เห็นว่า เอเชียยึดมั่นในระบบการเปิดเสรีทางการค้า ดังที่ได้มีการตกลงกันในคราวการประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพฯ แม้ว่าเอเชียกำลังประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจก็ตาม
ในประเด็นว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่นั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า โดยที่การหารือในประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ ฉะนั้น หากเป็นไปได้ก็ขอให้พยายามทำให้การประชุมครั้งนี้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยวางรากฐานให้แก่การประชุมในเกาหลีในครั้งต่อไป และเห็นว่า เจ้าหน้าที่อาวุโส และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมกันพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องการรับสมาชิกใหม่ต่อไป
ในส่วนของประธานาธิบดีซูฮาร์โตของอินโดนีเซีย ซึ่งมิได้เดินทางมาร่วมการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 2 ด้วยตนเองในครั้งนี้ และได้มอบหมายให้รองประธานาธิบดีฮาบิบี มาแทนนั้น ได้แจ้งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นผ่านทางโทรศัพท์ก่อนเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปว่า ขณะนี้อินโดนีเซียได้บรรลุผลสำเร็จในการทำความตกลงกับ IMF ในอีกระดับหนึ่งและเห็นว่าการเจรจาเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา จะมีความคืบหน้ามากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับอินโดนีเซียในเรื่องนี้ด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ร่วมหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เกี่ยวกับพิธีลงนามว่าด้วยการขุดเจาะแก๊สธรรมชาติร่วมกันระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และบริษัท Petronas ของมาเลเซีย และบริษัท Triton Oil โดยนายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองจะร่วมเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวงเงินลงทุนประมาณ 1 พัน 5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะก่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านพลังงานในบริเวณรอยต่อทางพรมแดนของไทย-มาเลเซีย
สำหรับกรณีที่มีนิตยสารบางฉบับลงบทสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งพูดถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เนื่องจากนิตยสารดังกล่าวได้ลงข้อความในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ว่า นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวในเชิงห่วงใยสถานการณ์ในมาเลเซีย ซึ่งในการสัมภาษณ์นั้น ผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงสถานการณ์ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ได้ตอบไปว่า สถานการณ์ในอินโดนีเซียได้เกิดขึ้นแล้ว และกำลังแก้ไขส่วนสถานการณ์ในมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าประเทศไทย ดังนั้น หากมาเลเซียมีปัญหาประการใด ประเทศไทยคงได้รับผลกระทบด้วยนั้น แต่ทางสื่อมวลชนได้อ้างคำพูดแต่เพียงว่า หากมาเลเซียมีปัญหาประการใด ประเทศไทยก็คงได้รับผลกระทบด้วย อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ให้ความเห็นว่า นายกรัฐมนตรีไทยคงจะไม่ได้มีการพูดในลักษณะไม่ดีต่อตน แต่อาจเป็นไปได้ว่าสื่อมวลชนมีการลงข่าวที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับความเห็นของนายกรัฐมนตรีไทยดังกล่าว--จบ--
เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2541 เวลา 16.30 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) ณ โรงแรม Royal Garden นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมหารือกับนายจาร์ค ชีรัค ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในโอกาสเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 2 ณ กรุงลอนดอน ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2541 หลังจากนั้น โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้แถลงผลการหารือ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้หารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทย และให้ความเห็นว่า สถานการณ์ในประเทศไทยเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น และมาตรการที่รัฐบาลใช้ในการแก้ไขปัญหา มีความเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งได้แสดงความยินดีที่การแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมีความคืบหน้าไปด้วยดี
ในโอกาสนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยังได้แจ้งถึงผลการหารือร่วมกันระหว่างประธานาธิบดีฝรั่งเศสกับนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และผู้นำประเทศยุโรปอื่น ๆ เกี่ยวกับจุดยืนของยุโรป ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ทางยุโรปจะสนับสนุนให้มีการหยิบยกวิกฤตการณ์ในเอเชียมาเป็นประเด็นของที่ประชุมฯ และจะมีการออกแถลงการณ์ถึงจุดยืนร่วมกันของเอเชียและยุโรป เพื่อสะท้อนมุมมองของปัญหาและแนวทางในทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
ในการนี้ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ได้ให้ข้อคิดเห็นและให้กำลังใจในการแก้ไขปัญหาต่อไป พร้อมกับกล่าวว่า ในขณะนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่รัฐบาลยังจำเป็นต้องเร่งแก้ปัญหาต่อไป โดยเฉพาะปัญหาคนว่างงาน ซึ่งเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ ในการนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้กล่าวเสริมว่า ฝรั่งเศสก็เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทยมาก่อน วิถีทางเดียวที่จะแก้ปัญหาได้นั้น รัฐบาลจะต้องมีความเข้มแข็งในการแก้ปัญหา และเห็นว่ามาตรการในกรอบของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จัดว่าดีที่สุดและช่วยแก้ปัญหาให้แก่ประเทศต่าง ๆ ที่มีปัญหาได้ทุกครั้ง
สำหรับท่าทีของไทยเกี่ยวกับการออกแถลงการณ์ภายหลังการประชุม โดยแยกเป็นสองฉบับนั้นนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ประเทศไทยได้เห็นด้วยมาตั้งแต่ต้น และคิดว่าจะเป็นการแสดงจุดยืนที่ดี และเป็นการแสดงสัญญาณที่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจของเอเชีย พร้อมกับได้กล่าวย้ำว่า พื้นฐานทางเศรษฐกิจของเอเชียยังอยู่ในสภาพที่ดีและยังมีแนวโน้มที่ดีในอนาคต
อนึ่ง ในการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 2 นี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสกล่าวว่า ฝรั่งเศสต้องการให้มีผลในการสานต่อแผนการต่าง ๆ ที่ได้มีการเสนอในคราวการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ และได้แสดงถึงจุดยืนที่กลุ่มประเทศต้องการเห็น ได้แก่ การสร้างความมั่นใจในศักยภาพของเอเชียให้บังเกิดขึ้น การสร้างความเป็นปึกแผ่นของ ASEM ในการทำงานร่วมกันในอนาคต สำหรับในแง่ความสัมพันธ์ระดับทวิภาคึระหว่างไทยและฝรั่งเศสนั้น แบ่งความสำคัญได้เป็น 3 ด้าน คือ 1) ในด้านเศรษฐกิจ ฝรั่งเศสจะสนับสนุนให้นักธุรกิจของตนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น ทั้งนี้ ในปัจจุบันได้มีนักธุรกิจฝรั่งเศสเข้ามาลงทุนด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าและด้านอื่น ๆ แล้ว 2) ในด้านการเมือง ประเทศทั้งสองมีความสัมพันธ์กันในฐานะสมาชิก ASEM ประกอบกับความสัมพันธ์อันยาวนาน จะทำให้มีพัฒนาการไปในทางที่ดีขึ้น และแสดงความยินดีที่ประเทศไทยได้เข้ามาช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหาในกัมพูชา และสนับสนุนให้มีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม ในเดือนเมษายนนี้ สำหรับประการที่ 3) เป็นด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ซึ่งฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนการแสดงสินค้าระหว่างกัน
ในตอนท้าย ผู้นำทั้งสองต่างกล่าวเชิญให้มีการเยือนอย่างเป็นทางการระหว่างกัน ทั้งนี้ ประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ตอบรับว่า การเยือนของตนอาจจะมีขึ้นในปีหน้า ซึ่งตรงกับโอกาสเฉลิมฉลอง 72 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในส่วนของนายกรัฐมนตรีได้แจ้งว่า ยินดีจะเดินทางไปเยือนฝรั่งเศสในเวลาที่เหมาะสมต่อไป
ต่อมาในเวลา 17.16 น. ของวันเดียวกัน นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธาน และกล่าวเปิดการประชุมผู้นำฝ่ายเอเชีย (Asian Caucus) ณ โรงแรม Dorchester โดยการประชุมดังกล่าวมีขึ้นเพื่อซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นที่จะมีการหยิบยกขึ้นมาหารือ อาทิ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและการเงินในเอเชียและจุดยืนยันของเอเชียต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าว การรับสมาชิกใหม่ของ ASEM โดยในที่ประชุมได้ตกลงแบ่งภารกิจดังนี้
1) นายกรัฐมนตรีมาเลเซียจะเป็นผู้กล่าวนำในหัวข้อวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย จากนั้นผู้นำของประเทศต่าง ๆ จะร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางที่สุด เพื่อแสดงจุดยืนของเอเชีย และแสดงความเป็นเอกภาพ
2) ประธานาธิบดีคิม แด จุง จะเป็นผู้กล่าวนำเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี
3) นายกรัฐมนตรีไทยจะเป็นผู้กล่าวนำในปัญหากัมพูชา
สำหรับท่าทีของเอเชียต่อวิกฤตการณ์ทางการเงินนั้น ผู้นำฝ่ายเอเชียต่างเห็นพ้องว่า ต้องการให้ยุโรปมองพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงในเอเชียในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะศักยภาพของพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังดีอยู่ และมีโอกาสที่จะมีอัตราการเจริญเติบโตสูงสุดในโลก ฉะนั้น ทัศนะการมองเอเชียของยุโรปไม่ควรจะเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังควรแสดงให้เห็นว่า เอเชียยึดมั่นในระบบการเปิดเสรีทางการค้า ดังที่ได้มีการตกลงกันในคราวการประชุมครั้งแรกที่กรุงเทพฯ แม้ว่าเอเชียกำลังประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจก็ตาม
ในประเด็นว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่นั้น นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า โดยที่การหารือในประเด็นนี้ยังไม่มีข้อยุติ ฉะนั้น หากเป็นไปได้ก็ขอให้พยายามทำให้การประชุมครั้งนี้เกิดประโยชน์สูงสุด และช่วยวางรากฐานให้แก่การประชุมในเกาหลีในครั้งต่อไป และเห็นว่า เจ้าหน้าที่อาวุโส และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมกันพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องการรับสมาชิกใหม่ต่อไป
ในส่วนของประธานาธิบดีซูฮาร์โตของอินโดนีเซีย ซึ่งมิได้เดินทางมาร่วมการประชุมอาเซ็ม ครั้งที่ 2 ด้วยตนเองในครั้งนี้ และได้มอบหมายให้รองประธานาธิบดีฮาบิบี มาแทนนั้น ได้แจ้งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นผ่านทางโทรศัพท์ก่อนเปิดการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรปว่า ขณะนี้อินโดนีเซียได้บรรลุผลสำเร็จในการทำความตกลงกับ IMF ในอีกระดับหนึ่งและเห็นว่าการเจรจาเพื่อหามาตรการในการแก้ไขปัญหา จะมีความคืบหน้ามากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับอินโดนีเซียในเรื่องนี้ด้วย
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้ร่วมหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย เกี่ยวกับพิธีลงนามว่าด้วยการขุดเจาะแก๊สธรรมชาติร่วมกันระหว่างการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และบริษัท Petronas ของมาเลเซีย และบริษัท Triton Oil โดยนายกรัฐมนตรีของประเทศทั้งสองจะร่วมเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวมีวงเงินลงทุนประมาณ 1 พัน 5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะก่อประโยชน์ในการพัฒนาด้านพลังงานในบริเวณรอยต่อทางพรมแดนของไทย-มาเลเซีย
สำหรับกรณีที่มีนิตยสารบางฉบับลงบทสัมภาษณ์ของนายกรัฐมนตรี ซึ่งพูดถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจในเอเชีย ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เข้าใจกัน เนื่องจากนิตยสารดังกล่าวได้ลงข้อความในลักษณะวิพากษ์วิจารณ์ว่า นายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวในเชิงห่วงใยสถานการณ์ในมาเลเซีย ซึ่งในการสัมภาษณ์นั้น ผู้สื่อข่าวได้สอบถามว่า นายกรัฐมนตรีเป็นห่วงสถานการณ์ในอินโดนีเซียและมาเลเซีย อย่างไรบ้าง ซึ่งก็ได้ตอบไปว่า สถานการณ์ในอินโดนีเซียได้เกิดขึ้นแล้ว และกำลังแก้ไขส่วนสถานการณ์ในมาเลเซียซึ่งเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงกว่าประเทศไทย ดังนั้น หากมาเลเซียมีปัญหาประการใด ประเทศไทยคงได้รับผลกระทบด้วยนั้น แต่ทางสื่อมวลชนได้อ้างคำพูดแต่เพียงว่า หากมาเลเซียมีปัญหาประการใด ประเทศไทยก็คงได้รับผลกระทบด้วย อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้ให้ความเห็นว่า นายกรัฐมนตรีไทยคงจะไม่ได้มีการพูดในลักษณะไม่ดีต่อตน แต่อาจเป็นไปได้ว่าสื่อมวลชนมีการลงข่าวที่ไม่สมบูรณ์เกี่ยวกับความเห็นของนายกรัฐมนตรีไทยดังกล่าว--จบ--