ทำเนียบรัฐบาล--5 ส.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (30 ก.ค. 41) เวลา 10.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเคียวสุเกะ ชิโนซาวา (Kyosuke Shinozawa) ประธานกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (The Overseas Economic Co-operation Fund - OECF) เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยและร่วมลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนและสัญญาเงินกู้ให้แก่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของไทยเป็นวงเงิน 49,825 ล้านเยน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ทั้งนี้ ประเทศไทยจะนำเงินดังกล่าวไปใช้ในโครงการลงทุนเพื่อสังคมและโครงการเงินกู้บาทสมทบ รวมทั้ง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ อนึ่ง ในโอกาสดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกัน สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับประธานกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่นในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ พร้อมกับกล่าวแสดงความขอบคุณ OECF ที่ได้ให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยผ่านโครงการเงินกู้เงินเยนมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ในการนี้ประธาน OECF ได้กล่าวขอบคุณ พร้อมกับแจ้งว่าจะสืบทอดเจตนารมย์ของประธาน OECF คนเก่า ในการจัดสรรเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว ให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย
ในโอกาสนี้ ประธาน OECF ได้กราบเรียนสรุปถึงสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้นายกรัฐมนตรีทราบด้วยว่า ในวันนี้ จะมีการแต่งตั้งนายเคโสะ โอบูชิ (Keizo Obuchi) เป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่อย่างเป็นทางการ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของญี่ปุ่นจะเริ่มปฏิบัติงาน โดยนายคิอิชิ มิยาซาวา (Kiichi Miyawa) จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่ ทั้งนี้ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะถดถอย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงจากทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ลุล่วงไป และได้ให้ความเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงของการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบและยอมรับก่อน เพราะจิตวิทยาและความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อการดำเนินการของรัฐบาลสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจ
สำหรับปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอันสืบเนื่องมาจากการสลายตัวของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่และปัญหาของสถาบันการเงินที่มีปัญหาหนี้เสีย และมีระบบการเงินที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงเน้นการแก้ปัญหาด้วยการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจควบคู่กับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คาดว่าผลจากการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นขนานใหญ่ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี นายเรียวทาโร ฮาชิโมโตจะส่งผลให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะกระเตื้องดีขึ้น
สำหรับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่นั้น คงจะเน้นการขยายประสิทธิภาพของนโยบายการคลังทั่วไป การลดภาษีสินค้าบริโภคอย่างถาวร เป็นต้น เพื่อกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม รัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยเน้นการดำเนินการอย่างรวดเร็วและใช้ความพยายามมากขึ้น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประธาน OECF ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศในภูมิภาคนี้จะต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน โดยเฉพาะการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนมิให้ผันผวนจนเกินไป และว่าการดำเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้ความอดทนและเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบมากเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งนี้ เพื่อระดมความร่วมมือจากประชาชนในการใช้มาตรการกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจให้เป็นผลสำเร็จ พร้อมกันนี้ ประธาน OECF ให้ความเห็นว่า ข้อดีของไทย อาทิ ความซื่อตรงและขยันทำงานของประชาชนไทย รวมทั้ง ศักยภาพในการผลิตภาคการเกษตร นับเป็นปัจจัยที่ดีในการรวมพลังเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีควรสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน เพื่อให้ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้ดำเนินด้วยดีมาโดยตลอด และไทยถือว่า ญี่ปุ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภูมิภาคนี้ นักธุรกิจของญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นประสบปัญหาทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคนี้ รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้ญี่ปุ่นส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา การส่งสินค้าออกจากไทยไปยังญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลง--จบ--
วันนี้ (30 ก.ค. 41) เวลา 10.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นายเคียวสุเกะ ชิโนซาวา (Kyosuke Shinozawa) ประธานกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น (The Overseas Economic Co-operation Fund - OECF) เข้าเยี่ยมคารวะนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนประเทศไทยและร่วมลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนและสัญญาเงินกู้ให้แก่รัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของไทยเป็นวงเงิน 49,825 ล้านเยน ในวันที่ 31 กรกฎาคม 2541 ทั้งนี้ ประเทศไทยจะนำเงินดังกล่าวไปใช้ในโครงการลงทุนเพื่อสังคมและโครงการเงินกู้บาทสมทบ รวมทั้ง โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ อนึ่ง ในโอกาสดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้มีการสนทนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นระหว่างกัน สรุปสาระสำคัญ ได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีกับประธานกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่นในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ พร้อมกับกล่าวแสดงความขอบคุณ OECF ที่ได้ให้ความช่วยเหลือและให้ความร่วมมือแก่ประเทศไทยผ่านโครงการเงินกู้เงินเยนมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ในการนี้ประธาน OECF ได้กล่าวขอบคุณ พร้อมกับแจ้งว่าจะสืบทอดเจตนารมย์ของประธาน OECF คนเก่า ในการจัดสรรเงินกู้ระยะสั้นและระยะยาว ให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในเอเชีย รวมทั้งประเทศไทย
ในโอกาสนี้ ประธาน OECF ได้กราบเรียนสรุปถึงสถานการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจของญี่ปุ่นให้นายกรัฐมนตรีทราบด้วยว่า ในวันนี้ จะมีการแต่งตั้งนายเคโสะ โอบูชิ (Keizo Obuchi) เป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนใหม่อย่างเป็นทางการ และคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ของญี่ปุ่นจะเริ่มปฏิบัติงาน โดยนายคิอิชิ มิยาซาวา (Kiichi Miyawa) จะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังคนใหม่ ทั้งนี้ เศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังอยู่ในภาวะถดถอย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือร่วมแรงจากทุกฝ่ายในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ลุล่วงไป และได้ให้ความเห็นว่า ประเทศต่าง ๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่นกำลังอยู่ในช่วงของการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องมีการประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบและยอมรับก่อน เพราะจิตวิทยาและความเชื่อมั่นที่ประชาชนมีต่อการดำเนินการของรัฐบาลสามารถส่งผลกระทบอย่างมากต่อความผันผวนทางเศรษฐกิจ
สำหรับปัญหาเศรษฐกิจของญี่ปุ่นอันสืบเนื่องมาจากการสลายตัวของเศรษฐกิจแบบฟองสบู่และปัญหาของสถาบันการเงินที่มีปัญหาหนี้เสีย และมีระบบการเงินที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงเน้นการแก้ปัญหาด้วยการกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจควบคู่กับการปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ คาดว่าผลจากการประกาศนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นขนานใหญ่ในสมัยอดีตนายกรัฐมนตรี นายเรียวทาโร ฮาชิโมโตจะส่งผลให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังนี้จะกระเตื้องดีขึ้น
สำหรับนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่นั้น คงจะเน้นการขยายประสิทธิภาพของนโยบายการคลังทั่วไป การลดภาษีสินค้าบริโภคอย่างถาวร เป็นต้น เพื่อกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม รัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจะต้องพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาโดยเน้นการดำเนินการอย่างรวดเร็วและใช้ความพยายามมากขึ้น
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้สอบถามความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประธาน OECF ได้ให้ความเห็นว่า ประเทศในภูมิภาคนี้จะต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาดุลการชำระเงิน โดยเฉพาะการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนมิให้ผันผวนจนเกินไป และว่าการดำเนินการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจจำเป็นต้องใช้ความอดทนและเน้นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ทราบมากเท่าที่จะกระทำได้ ทั้งนี้ เพื่อระดมความร่วมมือจากประชาชนในการใช้มาตรการกระตุ้นสภาวะเศรษฐกิจให้เป็นผลสำเร็จ พร้อมกันนี้ ประธาน OECF ให้ความเห็นว่า ข้อดีของไทย อาทิ ความซื่อตรงและขยันทำงานของประชาชนไทย รวมทั้ง ศักยภาพในการผลิตภาคการเกษตร นับเป็นปัจจัยที่ดีในการรวมพลังเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ทั้งนี้ รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีควรสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชน เพื่อให้ความหวังในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีได้กล่าวย้ำว่า ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่นได้ดำเนินด้วยดีมาโดยตลอด และไทยถือว่า ญี่ปุ่นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภูมิภาคนี้ นักธุรกิจของญี่ปุ่นมีการลงทุนในประเทศไทยมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ดังนั้น เมื่อญี่ปุ่นประสบปัญหาทางเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศเล็ก ๆ ในภูมิภาคนี้ รวมทั้ง ประเทศไทยด้วย พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้ญี่ปุ่นส่งเสริมการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา การส่งสินค้าออกจากไทยไปยังญี่ปุ่นมีมูลค่าลดลง--จบ--