ทำเนียบรัฐบาล--4 เม.ย.--บิสนิวส์
นางกนลา ขันทปราบ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในโอกาสการจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 ณ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 22 เมษายน 2540 กระทรวงการต่างประเทศ รายงานผลการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยทางรถไฟ ระหว่าง 25 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2540 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามโครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลในการขยายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมภาคเอกชนไทยในการทำธุรกิจในต่างประเทศ
การเยือนดังกล่าวบรรลุจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นว่าไทยยังคงส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ และรับทราบปัญหาอุปสรรค และความเป็นไปได้ของการสร้างเส้นทางสู่ความก้าวหน้าร่วมกันระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม ดังนี้
1. โครงการพัฒนาระบบคมนาคมทางรถไฟ ที่อำเภอบัวใหญ่สู่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง เพื่อเตรียมการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟลาว
2. การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนในด้านเงินกู้ และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย
3. ถนนหมายเลข 9 เชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูง และง่ายต่อการปรับปรุงและขยาย
4. เส้นทางหมายเลข 1 ของเวียดนาม มีศักยภาพสูงในการเปิดเส้นทางใหม่ของสินค้าไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิค และภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งเป็นลู่ทางส่งเสริมการลงทุน และความร่วมมือของรัฐบาลท้องถิ่นเวียดนาม เฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาและสร้างท่าเรือน้ำลึกของดานังและเว้ แต่เวียดนามก็ประสบปัญหาในการหาแหล่งเงินกู้ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงในการปรับปรุง
อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังขาดการประสานโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคในแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในโครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศจะได้ผลักดันให้เวียดนามปรับปรุงแก้ไขกฏหมายและระเบียบภายในที่จะเอื้ออำนวยต่อการลงทุนของเอกชนไทย โดยผ่านเวทีเจรจาต่างๆต่อไป ส่วนลาวซึ่งยังคงมีทัศนคติ และความกังวลต่อเจตนารมย์ของไทยนั้น รัฐบาลไทยควรแก้ไขโดยปรับปรุงนโยบายการดำเนินความสัมพันธ์กับลาว--จบ
นางกนลา ขันทปราบ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ในโอกาสการจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1 ณ อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมาในวันที่ 22 เมษายน 2540 กระทรวงการต่างประเทศ รายงานผลการเยือนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม โดยทางรถไฟ ระหว่าง 25 กุมภาพันธ์ ถึง 1 มีนาคม 2540 ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามโครงการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้นโยบายของรัฐบาลในการขยายความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน และส่งเสริมภาคเอกชนไทยในการทำธุรกิจในต่างประเทศ
การเยือนดังกล่าวบรรลุจุดมุ่งหมายเพื่อเน้นว่าไทยยังคงส่งเสริมความร่วมมือภายใต้กรอบหกเหลี่ยมเศรษฐกิจ และรับทราบปัญหาอุปสรรค และความเป็นไปได้ของการสร้างเส้นทางสู่ความก้าวหน้าร่วมกันระหว่างไทย-ลาว-เวียดนาม ดังนี้
1. โครงการพัฒนาระบบคมนาคมทางรถไฟ ที่อำเภอบัวใหญ่สู่จังหวัดมุกดาหาร ซึ่งเป็นสถานที่ก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง เพื่อเตรียมการเชื่อมต่อกับโครงการรถไฟลาว
2. การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่สอง ซึ่งรัฐบาลญี่ปุ่นยืนยันว่าจะให้การสนับสนุนในด้านเงินกู้ และต้องการมีส่วนร่วมในการพัฒนาด้วย
3. ถนนหมายเลข 9 เชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม เป็นเส้นทางที่มีศักยภาพสูง และง่ายต่อการปรับปรุงและขยาย
4. เส้นทางหมายเลข 1 ของเวียดนาม มีศักยภาพสูงในการเปิดเส้นทางใหม่ของสินค้าไทยสู่มหาสมุทรแปซิฟิค และภูมิภาคเอเชียตะวันออก รวมทั้งเป็นลู่ทางส่งเสริมการลงทุน และความร่วมมือของรัฐบาลท้องถิ่นเวียดนาม เฉพาะอย่างยิ่งโครงการพัฒนาและสร้างท่าเรือน้ำลึกของดานังและเว้ แต่เวียดนามก็ประสบปัญหาในการหาแหล่งเงินกู้ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณสูงในการปรับปรุง
อย่างไรก็ตาม เวียดนามยังขาดการประสานโครงการพัฒนาสาธารณูปโภคในแต่ละท้องถิ่น ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในโครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งรัฐบาลไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศจะได้ผลักดันให้เวียดนามปรับปรุงแก้ไขกฏหมายและระเบียบภายในที่จะเอื้ออำนวยต่อการลงทุนของเอกชนไทย โดยผ่านเวทีเจรจาต่างๆต่อไป ส่วนลาวซึ่งยังคงมีทัศนคติ และความกังวลต่อเจตนารมย์ของไทยนั้น รัฐบาลไทยควรแก้ไขโดยปรับปรุงนโยบายการดำเนินความสัมพันธ์กับลาว--จบ