กรมศุลกากรจับกุมหญิงชาวเวียดนาม ลักลอบส่งออกไอซ์ จำนวน 44 ก้อน น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้มประมาณ 416 กรัม มูลค่าประมาณ 1.5 ล้านบาท

ข่าวทั่วไป Sunday November 9, 2014 17:23 —สำนักโฆษก

ตามที่ นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายด้านการควบคุมทางศุลกากรและปกป้องสังคมอย่างเคร่งครัด จึงให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรสำนักสืบสวนและปราบปราม ประจำท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานดอนเมือง เข้มงวดเป็นพิเศษในการสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการลักลอบขนยาเสพติดข้ามชาติทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งมีแนวโน้มลักลอบสูงขึ้น จึงได้สั่งการให้ นางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี นายไพศาล ชื่นจิตร รองอธิบดีฯ นายวิจักษณ์ อภิรักษ์นันท์ชัย ผู้อำนวยการสำนักสืบสวนและปราบปราม นายประยุทธ์ มณีโชติ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรกรุงเทพ นายธาดา ชุมไชโย รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบสวนและปราบปราม นายวิศณุ วัชราวนิช ผู้อำนวยการศูนย์บริการศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง นายเดชา วิชัยดิษฐ หัวหน้าฝ่ายสืบสวนปราบปรามที่ 1 ดำเนินการวางแผนจับกุมกลุ่มขบวนการลักลอบขนยาเสพติดข้ามชาติ

วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2557) เวลา 14.00 น. นายไพศาล ชื่นจิตร รองอธิบดีกรมศุลกากร ได้ทำการแถลงข่าวการจับกุม นางสาวทราน ทิ ทวย เงิน (MS. TRAN THI THUY NGAN) โดยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เวลา 18.45 น. เจ้าหน้าที่ศุลกากรหน่วยสืบสวนปราบปราม 1 ฝ่ายสืบสวนปราบปรามที่ 1 ส่วนสืบสวนปราบปราม 3 สำนักสืบสวนและปราบปราม นำโดย นายพิสิษฐ์ ฉ่อนเจริญ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ กับพวกร่วมกับเจ้าหน้าที่ศุลกากรศูนย์บริการศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงาน ป.ป.ส. กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และสำนักงานตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ได้สืบสวนติดตามข้อมูลผู้โดยสาร ชื่อ นางสาวทราน ทิ ทวย เงิน (MS. TRAN THI THUY NGAN) เกิดวันที่ 21 MAR 1984 อายุ ๓๐ ปี สัญชาติเวียดนาม (VIETNAMESE) ถือหนังสือเดินทางประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (SOCIALIST REPUBLIC OF VIETNAM) หมายเลขหนังสือเดินทาง B9489320 เดินทางออกจากท่าอากาศยานดอนเมือง แขวงสนามบิน เขตดอนเมือง กรุงเทพ ราชอาณาจักรไทย ปลายทางกรุงจาการ์ตา (JAKARTA) ประเทศอินโดนีเซีย (INDONESIA) โดยสายการบินไทย ไลออน แอร์ (THAI LION AIR) เที่ยวบินที่ SL8002/08.11.57 เครื่องออกเวลา 19.00 น. ของวันที่ 8 พฤศจิกายน 2557 เจ้าหน้าที่ฯ สงสัยว่าจะมีสิ่งผิดกฎหมายซุกซ่อนอยู่ในร่างกาย จึงได้ระงับการเดินทางและนำตัวไปเอ็กซเรย์ ผลจากภาพเอกซเรย์พบวัตถุแปลกปลอมจำนวนมากในช่องท้อง เจ้าหน้าที่รอจน นางสาวทราน ทิ ทวย เงิน (MS. TRAN THI THUY NGAN) ขับถ่ายสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวออกมา และได้ทำการทดสอบเบื้องต้นด้วยน้ำยาทดสอบสารเสพติด ผลการทดสอบปรากฏว่าเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท ๑ เมทแอมเฟตามีน (ไอซ์) รวมจำนวน 44 ก้อน น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้มประมาณ 416 กรัม ราคาประมาณ 1.5 ล้านบาท

เจ้าหน้าที่ฯ จึงได้แจ้งข้อกล่าวหาว่ามียาเสพติดให้โทษประเภท 1 เมทแอมเฟตามีน(ไอซ์) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และพยายามนำออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2545 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จึงได้นำตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลาส่งพนักงานสอบสวน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป

สถิติในปีงบประมาณ 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 ถึงปัจจุบัน กรมศุลกากรสามารถจับกุมผู้ลักลอบนำเข้า-ส่งออก ยาเสพติดให้โทษรวมทั่วประเทศ ได้ทั้งสิ้น จำนวน 2 คดี มูลค่าประมาณ 4,306,000 บาท ประกอบด้วย

                                             ปีงบประมาณ 2557                  ปีงบประมาณ 2558
   ประเภท                       จำนวน        ปริมาณ              มูลค่า  จำนวน      ปริมาณ        มูลค่า
                                 (คดี)                          (บาท)   (คดี)                  (บาท)
1. เมทแอมเฟตามีน (ไอซ์)              44        84,084 กรัม  265,516,295      1    415 กรัม   1,456,000
2. เฮโรอีน                           7        23,750 กรัม   71,110,000      1    950 กรัม   2,850,000
3. โคคาอีน/โคเคน                    12        29,149 กรัม  116,581,000      -          -           -
4. ยาบ้า                            64       977,048 เม็ด  294,539,850      -          -           -
5. ฝิ่น                               2           510 กรัม       25,500      -          -           -
6. กัญชา                            28  4,157.145 กิโลกรัม   47,765,201      -          -           -
7. ยางกัญชา                          2        12,600 กรัม    1,260,000      -          -           -
8. ใบกระท่อม                       140      3,358 กิโลกรัม    1,372,480      -          -           -
9. วัตถุออกฤทธิ์ประเภทต่อจิตและประสาท     1         17 กิโลกรัม       34,000      -          -           -
(พืช KHAT)
10.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท           2         7,485 กรัม   22,455,000      -          -           -
(เคตามีน)
11.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท         112       103,050 เม็ด    1,030,500      -          -           -
(ไดอาซีแพม)
12.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท           3       304,950 เม็ด    3,049,300      -          -           -
(ซูโดอีเฟดรีน)
13.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท           1       130,500 เม็ด    1,305,000      -          -           -
(โลราซีแพม)
14.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท           1                 -            -      -          -           -
(คาลิพโซ)
15.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท           1         9,440 เม็ด       75,520      -          -           -
(โซลพิเด็ม)
16.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท           -         7,485 เม็ด    33,682.50      -          -           -
(เมทิลฟีนิเดท ไฮโดรคลอไรด์)
17.ยาอี                              -                 -            -      -          -           -
18.เมล็ดกัญชง                               16,500 กิโลกรัม    6,600,000      -          -           -

                              รวม 420                 832,753,328.50      2              4,306,000

ที่มา : กระทรวงการคลัง

ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ