กระทรวงศึกษาธิการ : หอการค้าไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย และกลุ่มมิตรผล หนุนจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผลิตกำลังคนอาชีวะ สร้างชาติ

ข่าวทั่วไป Monday November 17, 2014 13:45 —สำนักโฆษก

17 พฤศจิกายน 2557 : พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานความร่วมมือในการจัดการศึกษาทวิภาคี เพื่อผลิตกำลังคนรองรับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และภาคบริการ ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ หอการค้าไทย โดยนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย โดยนายพงษ์ศักดิ์ จักษุเวช ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย และกลุ่มมิตรผล

17 พฤศจิกายน 2557 : พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานความร่วมมือในการจัดการศึกษาทวิภาคี เพื่อผลิตกำลังคนรองรับภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และภาคบริการ ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับ หอการค้าไทย โดยนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย โดยนายพงษ์ศักดิ์ จักษุเวช ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย และกลุ่มมิตรผล โดย นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือ ณ ห้องประชุมหม่อมหลวงปิ่น ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก

พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หอการค้าไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย เพื่อผลิตและกำลังคนรองรับภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และภาคบริการ โดยจะดำเนินการนำร่องร่วมกับกลุ่มมิตรผล เพื่อผลิตกำลังคนด้านน้ำตาลและชีวพลัง ในวันนี้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวต่อไปว่า ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีสถานศึกษาที่เปิดสอนทั้งด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และธุรกิจบริการ ทั่วประเทศสามารถร่วมผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศกับสถานประกอบการที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของหอการค้าไทย ทั้ง ๑๘ กลุ่มจังหวัด เพื่อรองรับการขยายตัวในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนได้

ความร่วมมือในครั้งนี้ ทั้ง 4 หน่วยงาน จะร่วมกันจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พัฒนาหลักสูตร พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา รวมทั้ง เพิ่มทักษะวิชาชีพให้แก่นักเรียน นักศึกษา โดยการฝึกอาชีพตามหลักสูตร และฝึกปฏิบัติงานจริงร่วมกัน ได้ร่วมผลิต และพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและมาตรฐาน ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ตรงต่อความต้องการของตลาดแรงงานมากขึ้น ส่งผลต่อการศึกษาสายวิชาชีพที่จะพัฒนาบุคลากรของชาติ ให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติสืบไป

ด้าน ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กล่าวว่า การผลิตกำลังคนอาชีวศึกษาจะต้องพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น โดยมีการพัฒนาและปรับหลักสูตร หัวข้อวิชา ให้เหมาะกับงานที่ทำและมีการเรียนรู้การฝึกอาชีพจากการฝึกปฏิบัติงานจริง โดยการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีร่วมกับสถานประกอบการที่เป็นสมาชิกของหอการค้าไทย เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานของการอาชีวศึกษาทวิภาคีแบบเยอรมัน

สำหรับทางด้านกลุ่มมิตรผล ซึ่งมีโรงงานภายใต้กลุ่มมิตรผล จำนวน ๖ แห่ง ในจังหวัดสุพรรณบุรี สิงห์บุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น เลย และจังหวัดชัยภูมิ ที่ยังต้องการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมน้ำตาลและชีวพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีสถานศึกษาในสังกัดทุกจังหวัดที่สามารถเป็นเครือข่ายในการดำเนินงานตามกิจกรรมความร่วมมือได้ โดยจะเริ่มนำร่องให้วิทยาลัยฯ ๕ แห่ง ใน ๓ จังหวัด ร่วมกันจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ระดับ ปวส. ใน ๔ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาไฟฟ้า ๔๐ คน สาขาวิชาเทคนิคเครื่องกล ๔๐ คน สาขาวิชาช่างกลเกษตร ๔๐ คน และพืชศาสตร์ ๔๐ คน โดยจะมีนักศึกษารุ่นแรก จำนวน ๑๖๐ คน

ด้านนายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่าปัญหาด้านแรงงานซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาประเทศโดยรวม หอการค้าไทย จึงมีแนวคิดที่จะร่วมดำเนินการยกระดับการศึกษาของไทยในระดับอาชีวศึกษา เพื่อร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ โดยการพัฒนากำลังคนให้มีสมรรถนะตรงตามความต้องการของสถานประกอบกรม รวมถึงการสนับสนุนให้แรงงานสายอาชีวศึกษามีรายได้เพิ่มมากขึ้น และมีโครงสร้างตำแหน่งงานที่ชัดเจน มีความก้าวหน้าในอาชีพ สร้างแรงจูงใจให้มีผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้น หอการค้าไทยมีโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 อาชีวศึกษา โดยความร่วมมือกับสอศ. และหอการค้าเยอรมัน-ไทย นับเป็นการวางแผนการผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศในระยะยาว และเพื่อรองรับการขยายตัวทางประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ในโอกาสนี้ นายพงษ์ศักดิ์ จักษุเวช ประธานหอการค้าเยอรมัน-ไทย ได้กล่าวว่าความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการเกษตร ซึ่งกลุ่มมิตรผลภายใต้หอการค้าไทย เข้ามาร่วมกับหอการค้าเยอรมัน-ไทย ในโครงการนักศึกษาฝึกหัดอาชีพ (Students Apprenticeship Programme) นอกจากการจัดการศึกษาในรูปแบบทวิภาคีของเยอรมันที่นำมาประยุกต์ใช้ในประเทศไทย หอการค้าเยอรมัน-ไทย ยังเน้นการสนับสนุนนักศึกษาให้ฝึกอาชีพ เพื่อความเป็นเลิศทางการศึกษา ทวิภาคี และ GTDEE ยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู (train the Teachers) และครูฝึกในสถานประกอบการ (Train the Trainers) ไปพร้อมกัน ซึ่งปัจจุบันมี 7 วิทยาลัยอยู่ในโครงการดังกล่าว

กลุ่มประชาสัมพันธ์ สอศ.

17 พฤศจิกายน 2557

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ