สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 25 พฤศจิกายน 2557

ข่าวทั่วไป Tuesday November 25, 2014 14:30 —สำนักโฆษก

http://www.thaigov.go.th

วันนี้ (25 พฤศจิกายน 2557) เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1

ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม ร้อยเอก ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตาม ตัวผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์การบังคับคดีผู้ประกัน และการอุทธรณ์ คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว)

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทาง อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ....

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ กองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับ ผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย)

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษีกาซึ่งออกตามความพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาฯ พ.ศ. 2551 รวม 38 ฉบับ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ...

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานซึ่งโรงงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และ

จังหวัดยะลา พ.ศ. ....

9. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนด เขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา พ.ศ. .... รวม 4ฉบับ

10. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลมะขามเตี้ย และตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน

11. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวัง สมบูรณ์ ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และตำบล ทุ่งขนาน ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ตำบลสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอ สอยดาว ตำบลหนองตาคง ตำบลเทพนิมิต ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....

12. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

13. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-กฎหมาย

14. เรื่อง ร่างแผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555 - 2559)

15. เรื่อง (ร่าง) แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ

          16. เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์           (Electronic Bidding : e - bidding)

17. เรื่อง การเสนอเรื่องจากมติการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

18. เรื่อง ขออนุมัติงบลงทุนโครงการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์

19. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม

20. เรื่อง มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

21. เรื่อง การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนสามัญประจำปี 2553 ของบรรษัทการเงินระหว่างประเทศเพิ่มเติมให้แก่ประเทศไทย

ต่างประเทศ

22. เรื่อง ขอความเห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกลไกความร่วมมือของกลุ่ม ประเทศอาเซียนสำหรับการเตรียมการ และการจัดการน้ำมันรั่วไหล ร่วมกัน

23. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนฉุกเฉินเพื่อประสานงานและการจัดการอุบัติเหตุที่ เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง และระเบียบว่าด้วย การจัดการค้นหาและช่วยเหลือ การกู้ภัยและการเคลื่อนย้ายซากเรือในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง

24. เรื่อง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาโรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2

25. เรื่อง สรุปผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทาง ชีวภาพสมัยที่ 12 (COP 12) ณ เมืองพยองชาง สาธารณรัฐเกาหลี

26. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศ สมัยที่ 20 (COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต

สมัยที่ 10 (CMP10)

27. เรื่อง การแสดงเจตจำนง (Pledge) การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMAs)

28. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมและ

การฝึกอบรมร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ

แต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง

(ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)

34. เรื่อง การแต่งตั้งมนตรีฝ่ายไทยประจำมูลนิธิเอเชีย-ยุโรปคนใหม่

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรอง แห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)

37. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

38. เรื่อง ขอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ใน คณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

39. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

41. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

42. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม)

*******************

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์การบังคับคดีผู้ประกัน และการอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ติดตามตัวผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราว หลักเกณฑ์การบังคับคดีผู้ประกัน และการอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว) ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดให้ศาลหรือเจ้าพนักงานที่สั่งปล่อยชั่วคราวมีอำนาจสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการติดตามตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยได้ในกรณีที่ผู้นั้นยินยอม

2. กำหนดมิให้มีการเรียกประกันหรือหลักประกันเกินสมควรโดยต้องคำนึงถึงมาตรการป้องกันที่ใช้กับผู้ที่ถูกปล่อยชั่วคราวประกอบด้วย

3. กำหนดให้การสั่งลดจำนวนเงินที่ต้องใช้ตามสัญญาประกันต้องคำนึงถึงความพยายามของผู้ประกันในการติดตามผู้ที่หลบหนีรวมทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นว่ามีมากน้อยเพียงใด

4. กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับคดีผู้ประกันและระยะเวลาการบังคับคดี

5. กำหนดหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว

6. กำหนดโทษสำหรับผู้ต้องหาหรือจำเลยซึ่งได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดของศาล

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

1. กำหนดให้ ธปท. เป็นผู้รับผิดชอบในการควขคุมดูแลธุรกิจบริการการชำระเงินทาง

อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามพระราชกฤษฎีกานี้

2. กำหนดประเภทธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ

ออกเป็น 3 ประเภท โดยให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชกฤษฎี ดังนี้

2.1 ธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนให้บริการ

2.2 ธุรกิจบริการที่ต้องขอขึ้นทะเบียนก่อนให้บริการ

2.3 ธุรกิจบริการที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนให้บริการ

3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการแจ้งให้ทราย การขึ้นทะเบียน การขอรับใบอนุญาต และแบบในการขอต่ออายุในอนุญาต ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ประกาศกำหนด

4. กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นแบบและเอกสารของผู้ให้บริการหลักเกณฑ์การตรวจสอบแบบและเอกสารของพนักงานเจ้าหน้าที่

5. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

6. กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการห้ามประกอบธุรกิจ การพักใช้และการเพิกถอนใบอนุญาต

7. กำหนดบทเฉพาะกาลให้ผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ยังคงดำเนินการต่อไปได้เป็นระยะเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หากผู้ให้บริการประสงค์จะดำเนินการต่อไปภายหลังครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้มายื่นแบบภายในระยะเวลาเก้าสิบวันแต่ไม่น้อยกว่าหากสิบวันก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนยุติธรรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

ทั้งนี้ ให้ ยธ. ไปดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอจัดตั้ง การดำเนินงาน และการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2557 ข้อ 8 และให้แจ้งผลการดำเนินการตามระเบียบดังกล่าวไปยังสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดให้มี “กองทุนยุติธรรม” มีวัตถุประสงค์เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม การประกันตัวบุคคล การช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา การช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

          2. กำหนดให้กองทุนประกอบด้วยเงินหรือทรัพย์สิน เงินทุนประเดิมที่รัฐจัดสรรให้ เงินอุดหนุนที่ได้รับจากรัฐบาลหรือเงินที่ได้รับจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เงินสมทบประเภทค่าธรรมเนียมศาล        ที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินสมทบประเภทเงินและทรัพย์สินที่ได้จากการบังคับหลักประกันตัวผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญาที่หลบหนีการปล่อยชั่วคราวที่ได้รับการจัดสรรประจำปี เงินสมทบประเภทค่าปรับในคดีอาญาที่ได้รับการจัดสรร เงินหรือทรัพย์สินที่ได้จากการรับช่วงสิทธิเพื่อไล่เบี้ยกับผู้กระทำความผิดอาญาหรือผู้ก่อให้เกิดความเสียหายที่แท้จริง เป็นต้น และให้เงินกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อกิจการ ที่เป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม ประกันตัวบุคคล สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา สนับสนุนการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน สนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน เป็นต้น

3. กำหนดให้จัดตั้ง “สำนักงานกองทุนยุติธรรม” ขึ้นใน ยธ. โดยให้สำนักงานมีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับงานธุรการให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการอิสระ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคลที่คณะกรรมการหรือคณะกรรมการอิสระแต่งตั้ง และรับคำขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม คำขอรับการช่วยเหลือการประกันตัวบุคคล คำขอรับการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา คำขอรับการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคำขอรับการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน และ คำอุทธรณ์ เป็นต้น

4. กำหนดให้มี “คณะกรรมการกองทุนยุติธรรม” มีอำนาจและหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน และแนวทางดำเนินงานของกองทุน

5. กำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการให้ความช่วยเหลือ” อย่างน้อยหนึ่งคณะให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ยื่นคำขอในทุกภารกิจของกองทุนตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำหนด โดยคำนึงถึงความรวดเร็วและประสิทธิภาพของการช่วยเหลือประชาชนเป็นสำคัญ

6. ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการประจำจังหวัด” ขึ้นทุกจังหวัดเพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมเฉพาะกรณีการให้ค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรม การประกันตัวบุคคล และการช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา

7. กำหนดให้ผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมอาจยื่นคำขอรับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายการในการเข้าถึงความยุติธรรมในคดีแพ่ง คดีอาญา คดีปกครอง หรือคดีอื่นใด โดยยื่นคำขอที่สำนักงานหรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

8. ผู้ต้องหา จำเลยในคดีอาญาหรือบุคคลที่ถูกคุมขังตามกฎหมายอาจยื่นคำขอรับการประกันตัวบุคคลโดยยื่นคำขอที่สำนักงานหรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

9. ผู้ต้องหาหรือจำเลยคดีอาญาและผู้ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนอาจยื่นคำขอรับความช่วยเหลือโดยยื่นคำขอที่สำนักงานหรือสำนักงานยุติธรรมจังหวัด

10. กำหนดให้คณะกรรมการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการอุทธรณ์” อย่างน้อยหนึ่งคณะให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์คำขอรับค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงความยุติธรรมคำขอรับการประกันตัว คำขอรับความช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา คำขอรับความช่วยเหลือจากบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน และคำขอรับการสนับสนุนโครงการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน

11. กำหนดให้จัดตั้ง “คณะกรรมการอิสระ” ทำหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุน

12. กำหนดบทเฉพาะกาลให้โอนบรรดาเงินงบประมาณ ทรัพย์สิน สิทธิและหนี้สินของกองทุนยุติธรรมในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม ตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยกองทุนยุติธรรม พ.ศ. 2553 ไปเป็นของกองทุนยุติธรรมตามพระราชบัญญัตินี้

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

1. กำหนดชื่อโรงเรียนนายเรืออากาศใหม่ตามที่พระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานชื่อว่า “โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช”

2. กำหนดให้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอื่นใดอ้างถึงโรงเรียนนายเรืออากาศ ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้นอ้างถึงโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของเรื่อง

กค.รายงานว่า

          1. ด้วยกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยได้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต และกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้ ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย ในกรณีบริษัทล้มละลายหรือถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยและเพื่อพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยให้มีความมั่นคงและ     มีเสถียรภาพ แต่เนื่องจากกฎหมายข้างต้นบัญญัติให้กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณ กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยจึงไม่เป็นหน่วยงานของรัฐตามนัยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่     พ.ศ.2539 ส่งผลให้การกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

2. เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2556 คณะกรรมการบริหารกองทุนประกันชีวิตและคณะกรรมการบริหารกองทุนประกันวินาศภัยได้ประชุม และมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... ของกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย เนื่องจากกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย มีลักษณะเป็นหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล ตามการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ประกอบกับกองทุนที่ส่งเสริมการประกันภัยพิบัติซึ่งเป็นหน่วยงานลักษณะเดียวกับกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยได้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 23) พ.ศ.2555 แล้ว

ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นการกำหนดให้กองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัยเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษีกาซึ่งออกตามความพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษาฯ พ.ศ. 2551 รวม 38 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 38 ฉบับ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับไปพิจารณาด้วยว่าจะตราเป็นพระราชกฤษฎีกาฉบับเดียวกันในการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษา และกำหนดลักษณะ ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการอาชีวศึกษาใน 1 แห่งได้หรือไม่ เนื่องจากเป็นการดำเนินการในสถาบันการอาชีวศึกษาแห่งเดียวกันแล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

1. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชาและการใช้อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษา รวม 19 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้

          ชื่อร่างพระราชกฤษฎีกา                                                        สาระสำคัญ
          1. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้                 เป็นการกำหนด
          อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 พ.ศ. ....                 ปริญญาทาง
          2. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย การเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้                 เทคโนโลยี และ
          อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 พ.ศ. ....                 อักษรย่อ โดย
          3. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้                  เรียกว่า
          อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 พ.ศ. ....                 “เทคโนโลยีบัณฑิต”
          4. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้                  ใช้อักษรย่อ
          อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พ.ศ. ....                 “ทล.บ.”

5. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 พ.ศ. ....

6. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 พ.ศ. ....

7. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 พ.ศ. ....

8. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 1 พ.ศ. ....

9. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 2 พ.ศ. ....

10. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 3 พ.ศ. ....

11. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 4 พ.ศ. ....

12. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พ.ศ. ....

13. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออก พ.ศ. ....

14. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พ.ศ.

....

15. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1

พ.ศ. ....

16. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2

พ.ศ. ....

17. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3

พ.ศ. ....

18. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4

พ.ศ. ....

19. ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเรียกชื่อปริญญาในสาขาวิชา และการใช้

อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5

พ.ศ. ....

2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และส่วนประกอบของครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันอาชีวศึกษา รวม 19 ฉบับ มีสาระสำคัญดังนี้

          ชื่อร่างพระราชกฤษฎีกา                                                สาระสำคัญ
          1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ           เป็นการกำหนดลักษณะ
          ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ               ชนิด ประเภท และ
          อาชีวศึกษาภาคเหนือ 1 พ.ศ. ....                                      ส่วนประกอบของครุย
          2. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ           วิทยฐานะ เข็มวิทย
          ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ               ฐานะ และครุยประจำ
          อาชีวศึกษาภาคเหนือ 2 พ.ศ. ....                                      ตำแหน่ง

3. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคเหนือ 3 พ.ศ. ....

4. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พ.ศ. ....

5. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคใต้ 1 พ.ศ. ....

6. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคใต้ 2 พ.ศ. ....

7. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคใต้ 3 พ.ศ. ....

8. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคกลาง 1 พ.ศ. ....

9. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคกลาง 2 พ.ศ. ....

10. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคกลาง 3 พ.ศ. ....

11. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคกลาง 4 พ.ศ. ....

12. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคกลาง 5 พ.ศ. ....

13. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคตะวันออก พ.ศ. ....

14. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....

15. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 พ.ศ. ....

16. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 พ.ศ. ....

17. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 พ.ศ. ....

18. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 พ.ศ. ....

19. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะชนิด ประเภท และส่วนประกอบของ

ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของสถาบันการ

อาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 พ.ศ. ....

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ...

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ มีดังนี้

1. กำหนดให้บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นไปตามแนบท้ายกฎกระทรวง และให้นายกสภาเภสัชกรรม เป็นผู้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าว

2. กำหนดให้รูปถ่ายที่ติดบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และให้บัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ใช้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้บัตร แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกบัตร

8. เรื่องร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานซึ่งโรงงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเว้นค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ที่โรงงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา รวม 5 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562

2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานซึ่งโรงงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมทุกประเภทที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ได้แก่ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือใบอนุญาตขยายโรงงาน ใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตที่เรียกเก็บในวันที่ออกใบอนุญาตหรือใบอนุญาตขยายโรงงาน ใบแทนในอนุญาตหรือยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต แล้วแต่กรณี และค่าธรรมเนียมรายปีที่เรียกเก็บตามกำหนดเวลาที่ต้องชำระในระหว่างปี พ.ศ.2558 ถึงปี พ.ศ.2562 แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งโรงงานตั้งอยู่ในเขตท้องที่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี และจังหวัดยะลา

9. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่จังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา พ.ศ. .... รวม 4 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภออ่าวลึก อำเภอเมืองกระบี่ อำเภอเหนือคลอง อำเภอคลองท่อม และอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ พ.ศ. ... และร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในท้องที่อำเภอ คุระบุรี อำเภอตะกั่วป่า อำเภอท้ายเหมือง อำเภอทับปุด อำเภอเมืองพังงา อำเภอตะกั่วทุ่ง และอำเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างประกาศ ฯ รวม 2 ฉบับ ดังกล่าว มีสาระสำคัญดังนี้

1. กำหนดพื้นที่ที่ได้มีการกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์และเขตควบคุมอาคารของจังหวัดกระบี่ และจังหวัดพังงา เป็นเขตพื้นที่ที่ให้ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศนี้ ซึ่งในพื้นที่ดังกล่าวห้ามกระทำการ หรือประกอบกิจกรรมบางประการ เช่น ห้ามก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า รวมทั้งการเก็บหา นำออกไป หรือทำให้เสื่อมสภาพของทรัพยากรธรรมชาติ ห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด ห้ามกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางธรณีสัณฐาน สภาพทางธรรมชาติของชายหาดไปจากเดิม หรือทำให้ทัศนียภาพเสียไป รวมทั้งกำหนดประเภทและขนาดของโรงงานอาคารใด ๆ เป็นต้น

2. กำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่จะทำการก่อสร้างอาคารหรือดำเนินการโครงการ หรือประกอบกิจการในพื้นที่ นอกจากต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศนี้แล้ว ให้จัดทำและเสนอรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535

3. กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ให้แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนคุ้มครอง ฟื้นฟู และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งดูแล ติดตาม ตรวจสอบการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

4. กำหนดให้หากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ และเป็นมาตรการที่ไม่ต่ำกว่ามาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม หรือมีมาตรการที่ดีกว่าให้เป็นไปตามมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น

5. กำหนดข้อยกเว้นสำหรับอาคารที่ไม่ต้องดำเนินการตามประกาศนี้ ได้แก่ อาคารในพื้นที่ที่มีอยู่แล้วก่อนหรือในวันประกาศนี้ใช้บังคับ เป็นต้น และกำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามประกาศนี้ ถ้าได้รับอนุญาตอยู่ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต

6. กำหนดให้ประกาศนี้มีระยะเวลาการบังคับใช้ห้าปีนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

10. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลมะขามเตี้ย และตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็น โดยเร่งด่วน

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลมะขามเตี้ย และตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัด          สุราษฎร์ธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลมะขามเตี้ย และตำบลบางกุ้ง อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน

11. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และตำบลทุ่งขนาน ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ตำบลสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว ตำบลหนองตาคง ตำบลเทพนิมิต ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในท้องที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ ตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และตำบลทุ่งขนาน ตำบลทับช้าง ตำบลปะตง ตำบลสะตอน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว ตำบลหนองตาคง ตำบลเทพนิมิต ตำบลทับไทร ตำบลโป่งน้ำร้อน ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กันพื้นที่เขตเทศบาลตำบลทรายขาวและเทศบาลตำบลโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี ออกจากเขตปฏิรูปที่ดิน ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกา

12. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

สาระสำคัญของร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี

เพิ่มเติมหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุฯ ดังนี้

          สิทธิผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครอง               หน่วยงานที่รับผิดชอบตาม           หน่วยงานที่รับผิดชอบตามร่าง
          การส่งเสริมและการสนับสนุน                ประกาศปี 53                   ประกาศ

ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุฯ

          มาตรา 11 (5) การอำนวย                - กรมโยธาธิการและผังเมือง       - กรมโยธาธิการและผังเมือง
          ความสะดวก และความ                    - กรุงเทพมหานคร               - กรุงเทพมหานคร
          ปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุใน               - เมืองพัทยา                   - เมืองพัทยา
          อาคาร สถานที่ ยานพาหนะ                 - กระทรวงคมนาคม              - กระทรวงคมนาคม
          หรือการบริการสาธารณะอื่น                 - กระทรวงการพัฒนาสังคม         - กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
          และความมั่นคงของมนุษย์           ความมั่นคงของมนุษย์
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • เทศบาล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
          มาตรา 11 (9) การให้                   - กระทรวงยุติธรรม              - กระทรวงยุติธรรม
          คำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการ               - สำนักงานอัยการสูงสุด           - สำนักงานอัยการสูงสุด
          อื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือ                - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ         - สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
          ในทางแก้ปัญหาครอบครัว                   - กระทรวงการพัฒนาสังคม         - กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
          และความมั่นคงของมนุษย์           ความมั่นคงของมนุษย์
  • กรุงเทพมหานคร
  • เมืองพัทยา
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • เทศบาล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
          มาตรา 11 (10) การจัดที่พัก               - กระทรวงการพัฒนาสังคม         - กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
          อาศัย อาหาร และ                       และความมั่นคงของมนุษย์           ความมั่นคงของมนุษย์
          เครื่องนุ่งห่มให้ตามความ                                                - กรุงเทพมหานคร
          จำเป็นอย่างทั่วถึง                                                     - เมืองพัทยา
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • เทศบาล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล
          มาตรา 11 (12) การ                    - กระทรวงการพัฒนาสังคม         - กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
          สงเคราะห์ในการจัดการศพ                 และความมั่นคงของมนุษย์           ความมั่นคงของมนุษย์
          ตามประเพณี                                                         - กรุงเทพมหานคร
  • เมืองพัทยา
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • เทศบาล
  • องค์การบริหารส่วนตำบล

13. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาและปรับแก้ไขให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญที่ใช้บังคับในปัจจุบันแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยให้แก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับ ..) พ.ศ. .... (แบ่งส่วนราชการในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

ทั้งนี้ ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์สำรวจจำนวนหอพักที่เข้าเกณฑ์และได้รับผลกระทบจากร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและสร้างความเข้าใจกับผู้ประกอบการก่อน

ร่างพระราชบัญญัติจะมีผลใช้บังคับ

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดให้หอพัก หมายความว่า สถานที่ที่รับเฉพาะผู้พักตามพระราชบัญญัตินี้เข้าพักอาศัยโดยมีการเรียกเก็บค่าเช่า โดยผู้พักได้แก่ ผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในสถานศึกษาทั้งของรัฐและของเอกชนที่จัดการศึกษาในระบบตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติในระดับไม่สูงกว่าปริญญาตรีและอายุไม่เกินยี่สิบห้าปี

2. หอพักที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งร่างพระราชบัญญัตินี้ คือ หอพักสถานศึกษาซึ่งได้แก่ หอพักที่ผู้ประกอบกิจการหอพักเป็นสถานศึกษา และหอพักเอกชนซึ่งได้แก่ หอพักที่ผู้ประกอบกิจการเป็นบุคคลทั่วไป

3. กำหนดให้หอพักมี 2 ประเภท คือ หอพักชายและหอพักหญิง เพื่อป้องกันมิให้มีการปะปนกันระหว่างผู้พักชายและผู้พักหญิง ทั้งนี้ ไม่ได้ตัดสิทธิผู้ประกอบกิจการหอพักที่จะสร้างหอพักชายและหอพักหญิงอยู่ในบริเวณเดียวกันแต่ต้องแยกอาคารและใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักออกจากกัน

4. กำหนดหลักเกณฑ์การรับผู้พัก ดังนี้

4.1 หอพักสถานศึกษาสามารถรับผู้พักซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือระดับอุดมศึกษาได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้พักจะศึกษาอยู่ในสถานศึกษานั้นหรือไม่ก็ตาม รวมทั้งได้กำหนดข้อยกเว้นให้หอพักสถานศึกษาสามารถรับบุคคลทั่วไปเข้าพักเป็นการชั่วคราวได้ในระหว่างปิดภาคการศึกษาที่ไม่มีผู้พัก

4.2 หอพักเอกชนกำหนดให้รับผู้พักได้เฉพาะผู้ซึ่งอยู่ในระหว่างการศึกษาในระดับอุดมศึกษา เนื่องจากผู้พักดังกล่าวสามารถดูแลตนเองได้พอสมควร

5. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการหอพักต้องทำสัญญาเช่าเป็นหนังสือระหว่างผู้ประกอบกิจการหอพักและผู้พักตามแบบที่คณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพักกำหนด เพื่อให้สัญญาเช่าหอพักมีมาตรฐานเดียวกัน

6. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินค่าเช่าล่วงหน้าและเงินประกันไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบกิจการหอพักและผู้พัก

7. กำหนดให้ผู้ประสงค์จะประกอบกิจการหอพักสถานศึกษาและหอพักเอกชนต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักจากนายทะเบียน คือผู้บริหารองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้งในเขตพื้นที่ที่หอพักตั้งอยู่ เพื่อให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ที่กำหนดให้โอนอำนาจในการกำกับดูแลการประกอบกิจการหอพักให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยได้กำหนดให้บรรดาค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และรายได้อื่น ๆ เกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพักตามพระราชบัญญัตินี้ ตกเป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

8. กำหนดให้ใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักสถานศึกษาใช้ได้ตลอดไปโดยไม่มีอายุ แต่จะสิ้นผลเมื่อผู้ประกอบกิจการหอพักถูกเพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสถานศึกษาหรือเลิกกิจการ แล้วแต่กรณี และในกรณีผู้ประกอบกิจการหอพักดังกล่าวประสงค์จะประกอบกิจการหอพักต่อไป ให้ดำเนินการยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นหอพักเอกชน สำหรับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักเอกชนให้มีอายุห้าปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

9. กำหนดให้หอพักสถานศึกษาได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการหอพัก และอาจได้รับสิทธิในการได้รับลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีเงินได้เป็นกรณีพิเศษจากการประกอบกิจการหอพักโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาตามประมวลรัษฎากรหรือได้รับลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน

ภาษีป้าย หรือภาษีอื่นใดในทำนองเดียวกัน สำหรับหอพักเอกชนที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณจากคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพักอาจได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและการสนับสนุนด้านการเงินหรือวัสดุอุปกรณ์เช่นเดียวกับหอพักสถานศึกษา เพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบกิจการหอพักเอกชนเข้ามาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัตินี้มากยิ่งขึ้น

10. กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการหอพักต้องจัดให้มีผู้จัดการหอพักเพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลหอพัก รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบกิจการหอพักจัดการหอพัก

11. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการหอพัก เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมกิจการหอพักโดยให้สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ รับผิดชอบเกี่ยวกับงานธุรการของคณะกรรมการและของคณะอนุกรรมการ

12. กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการหอพักของนายทะเบียนไว้ เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดแก่ผู้พัก โดยกำหนดเหตุที่จะเพิกถอนใบอนุญาตไว้เพียง

2 กรณีคือ 1. หอพักไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกอบกิจการหอพัก หรือ 2. ผู้ประกอบกิจการหอพักขาดคุณสมบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้

13. กำหนดบทเฉพาะกาล

13.1 กำหนดให้ใบอนุญาตหรือการอนุญาตใด ๆ ที่ได้ให้ไว้ตามพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ. 2507 ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าจะสิ้นอายุหรือถูกเพิกถอน

13.2 โดยที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติห้ามผู้ใดใช้คำว่า “หอพัก” ในสถานที่ของตนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการหอพัก ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ที่ใช้คำดังกล่าวอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จึงกำหนดให้บุคคลดังกล่าวเลิกใช้คำว่า “หอพัก” ภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

เศรษฐกิจ-กฎหมาย

14. เรื่อง ร่างแผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555 - 2559)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555 - 2559) ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ

          สาระสำคัญของ          ร่างแผนยุทธศาสตร์สวัสดิการสังคมไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2555 - 2559)    มีความสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่เห็นว่า โครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุจะมีผลกระทบต่อปริมาณและคุณภาพของคนไทยในอนาคต รวมทั้งปัญหายาเสพติดและปัญหาวัยรุ่นที่จะบั่นทอนคุณภาพของเยาวชน ซึ่งมีความจำเป็นต้องพัฒนาระบบการศึกษา การให้บริการสุขภาพและสร้างสวัสดิการที่มั่นคงให้แก่คนไทยทุกคน และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 - 2559) เน้นการสร้างความเป็นธรรมในสังคม โดยยกระดับคุณภาพของระบบการคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุมทุกคนอย่างทั่วถึง มีกลไกที่มีความสามารถในการบริหารจัดการ มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเชื่อมโยงกับเป็นสังคมสวัสดิการ รวมทั้งนโยบายของคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติในการมุ่งก่อให้เกิดสังคมสวัสดิการและให้ประชาชนได้รับสวัสดิการถ้วนหน้า ซึ่งประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อสวัสดิการถ้วนหน้า

2. ยุทธศาสตร์เสริมพลังทุกภาคส่วนสู่สังคมสวัสดิการ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานบริการและการบริหารจัดการ

4. ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนามาตรการทางการเงิน การคลัง และการระดมทุนเพื่อสังคม

5. ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนระบบสวัสดิการสังคมไทยสู่ประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก

6. ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งของระบบเตรียมความพร้อมและฟื้นฟูในภาวะฉุกเฉิน

15. เรื่อง (ร่าง) แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

ศธ. รายงานว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดทำ (ร่าง) แผนการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติเพื่อเป็นแผนการดำเนินงานในการขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติให้แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติได้เกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักถึงภารกิจความรับผิดชอบร่วมกัน และความเชื่อมโยงในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะส่งผลให้การขับเคลื่อนกรอบคุณวุฒิแห่งชาติสู่การปฏิบัติมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถานประกอบการ สมาคม/องค์กรวิชาชีพ กลุ่มวิชาชีพและ/หรือกลุ่มอาชีพ กับสถาบันการศึกษาอย่างเป็นระบบ เพื่อนำกรอบคุณวุฒิแห่งชาติเป็นกรอบแนวทางในการผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะ ความรู้ความสามารถ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และสมรรถนะในการปฏิบัติงานตามระดับคุณวุฒิ

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับขอบเขตความรู้ ทักษะ คุณลักษณะที่

พึงประสงค์ การประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาระบบการทดสอบ วัดและประเมินผล การเทียบโอนผลการเรียน เทียบโอนประสบการณ์จากการทำงาน การสะสมหน่วยการเรียนและการให้การรับรองผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ จำแนกตามระดับคุณวุฒิ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถให้แก่สถาบันการศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้สนองตอบความต้องการของตลาดแรงงานตามกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ

16. เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market :

e - market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding : e - bidding)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางปฏิบัติในการจัดหาพัสดุด้วยวิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Market : e - market) และด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bidding :

e - bidding) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) กำหนด

ส่วนราชการนำร่องเพื่อให้ดำเนินการจัดหาพัสดุตามแนวทางปฏิบัตินี้

สาระสำคัญของกรอบในการดำเนินการและวิธีพิจารณาผลการจัดซื้อจัดจ้างมี 2 วิธี ดังนี้

1. วิธีตลาดอิเล็กทรอนิกส์ สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1.1 การเสนอราคา โดยใบเสนอราคา (Request For Quotation : RFQ) ได้แก่

การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e – GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคา ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาได้เพียงครั้งเดียวโดยผู้เสนอราคาต่ำสุดเป็นผู้ชนะการเสนอราคา หากมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e – GP ลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้น

1.2. การเสนอราคา โดยการประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Auction) ได้แก่ การจัดหาพัสดุครั้งหนึ่งซึ่งมีราคาเกิน 5,000,000 บาท ซึ่งผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e – GP

ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด เมื่อถึงกำหนดวันเสนอราคา ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาได้หลายครั้งภายในเวลา 30 นาที ผู้ที่เสนอราคาต่ำสุดจะมีสัญลักษณ์ปรากฏบนหน้าจอ ในกรณีมีผู้เสนอราคาต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e – GP ลำดับแรกเป็น

ผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้นเช่นกัน

2. วิธีประกวดราคาทางอิเล็กทรอนิกส์ (e - bidding) ผู้เสนอราคาสามารถเสนอราคาผ่านระบบ e – GP ในวันและเวลาทำการที่ส่วนราชการกำหนด หลักเกณฑ์การพิจารณาผู้เสนอราคาที่ชนะการเสนอราคา ส่วนราชการสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

2.1 หลักเกณฑ์ราคา (Price) เป็นเกณฑ์การพิจารณาโดยใช้ราคาเพียงอย่างเดียว การตัดสินผู้ชนะการเสนอราคาตัดสินจากผู้ที่เสนอราคารายต่ำสุดกรณีมีผู้เสนอราคารายต่ำสุดเท่ากันหลายรายให้พิจารณาผู้เสนอราคารายต่ำสุดที่เสนอราคาเข้ามาในระบบ e – GP ก่อนเป็นผู้ชนะการเสนอราคาครั้งนั้น

2.2 หลักเกณฑ์การประเมินค่าประสิทธิภาพต่อราคา (Price Performance) เป็นเกณฑ์การพิจารณาค่าประสิทธิภาพต่อราคา ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นว่า คุณลักษณะเฉพาะของพัสดุที่จะจัดหานั้น มิใช่พิจารณาจากพัสดุโดยใช้เกณฑ์ราคาเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะนำการประเมินค่าประสิทธิภาพมาเปรียบเทียบกับราคาเป็นสำคัญ อันจะทำให้ส่วนราชการได้พัสดุที่มีคุณภาพดี เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการบริหารพัสดุภาครัฐที่ดี โดยการตัดสินผู้ชนะการเสนอราคาจากผู้ที่มีคะแนนรวมสูงสุด มิใช่พิจารณาจากผู้เสนอราคารายต่ำสุดกรณีมีผู้เสนอราคาได้คะแนนสูงสุดเท่ากันหลายราย ให้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ได้คะแนนสูงสุดในตัวแปรหลักที่มีน้ำหนักมากที่สุดเป็นผู้ชนะการเสนอราคา หากไม่อาจดำเนินการชี้ขาดตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวได้ ให้พิจารณาคัดเลือกผู้ที่เสนอราคาที่เข้ามาในระบบ e – GP ในลำดับแรกเป็นผู้ชนะการเสนอราคา

สำหรับขั้นตอนอื่นใดนอกเหนือจากนี้ให้นำระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาบังคับใช้ต่อไป

17. เรื่อง การเสนอเรื่องจากมติการประชุมคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ

คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติในหลักการให้เพิ่มอัตราเบี้ยความพิการให้แก่คนพิการ จากเดิมรายละ 500 บาท เป็นรายละ 800 บาทต่อเดือน ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2558 เป็นต้นไป

2. อนุมัติการถอนถ้อยแถลงตีความข้อ 18 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการ

3. อนุมัติในหลักการอัตรากำลังข้าราชการประจำศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัด ทั่วประเทศ ศูนย์ละ 2 อัตรา

4. ให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการปรับปรุงข้อกำหนดขอบเขตงานในการจัดซื้อรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงแก๊สธรรมชาติ (NGV) จำนวน 3,183 คัน โดยให้รถโดยสารธรรมดา (รถร้อน) จำนวน 1,659 คัน เป็นแบบรถไร้บันได (รถชานต่ำ) เพื่อให้เป็นไปตามหลักการมาตรฐานสากล

18. เรื่อง ขออนุมัติงบลงทุนโครงการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการงบลงทุนโครงการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล และให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) (บมจ. อสมท) จำนวน 1,480.000 ล้านบาท ตามที่รองนายกรัฐมนตรี

(นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ ประกอบด้วยงบลงทุน จำนวน 2 โครงการ ดังนี้

1. โครงการให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอล วงเงิน 752.000 ล้านบาท

2. โครงการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ วงเงิน 728.000 ล้านบาท

19. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มราคาน้ำนมดิบเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรโคนม

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้

1. อนุมัติให้ปรับเพิ่มราคารับซื้อน้ำนมโค เพิ่มขึ้นกิโลกรัมละ 1.00 บาท (จากเดิมราคา 18.00 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้นเป็น 19.00 บาท/กิโลกรัม) ทั้งนี้ ให้มีผลนับตั้งแต่วันที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) อนุญาตให้ผู้ประกอบการนมพาณิชย์ปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในตลาดนมพาณิชย์ได้

2. อนุมัติปรับราคากลางนมโรงเรียน เพิ่มขึ้นจากราคากลางเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรีครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 เพิ่มขึ้นถุงหรือกล่องละ 0.21 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป ดังนี้

          ชนิด               ราคากลางเดิม       ราคากลางใหม่
          นมพาสเจอร์ไรส์      6.37 บาท/ถุง       6.58 บาท/ถุง

นม ยู.เอช.ที.

          - ชนิดกล่อง         7.61 บาท/กล่อง     7.82 บาท/กล่อง
          - ชนิดซอง          7.51 บาท/ซอง      7.72 บาท/ซอง

20. เรื่อง มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบมาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษี การยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด รวมทั้งการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษจากสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2557

2. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ... (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณี การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด รวม 4 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้วและมอบหมายให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีดำเนินการต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

1. มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีทางตรงและทางอ้อมบางกรณี การยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด รวมทั้งการลดหย่อนค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่นและลูกหนี้ สำหรับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPL) ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด โดยมีหลักการดังต่อไปนี้

1.1 ยกเว้นภาษีและยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ประกอบด้วย

(ก) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น เฉพาะการปลดหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

(ข) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินหรือลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นและสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น เฉพาะการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

(ค) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ที่จำนองอสังหาริมทรัพย์เป็นประกันหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและได้มีการขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวให้บุคคลอื่น เพื่อนำเงินมาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่กับสถาบันการเงินหรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้กับสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด โดยการโอนอสังหาริมทรัพย์และการกระทำตราสารต้องกระทำในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557

(ง) ยกเว้นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ที่กรมสรรพากรกำหนด สำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินหรือเจ้าหนี้อื่น ในส่วนของหนี้ที่เจ้าหนี้ดังกล่าวได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด

1.2 ลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2557 ประกอบด้วย

(ก) ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ตามประมวลกฎหมายที่ดินลงเหลือร้อยละ 0.01

(ข) ลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนและการจำนองห้องชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุดลงเหลือร้อยละ 0.01

2. เพื่อให้เป็นไปตามหลักการข้างต้น จะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้

2.1 กระทรวงการคลังตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ และกฎกระทรวง ฉบับที่ ... (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ จำนวน 1 ฉบับ

2.2 กระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์ การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณี การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด จำนวน 1 ฉบับ และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด จำนวน 1 ฉบับ

ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร และกระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวข้างต้นและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว

21. เรื่อง การจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนสามัญประจำปี 2553 ของบรรษัทการเงินระหว่างประเทศเพิ่มเติมให้แก่ประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบยืนยันการขอซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพิ่มเติมจำนวน 4 หุ้น จากบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (The International Financial Cooperation : IFC)

2. มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณ รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 สำหรับการซื้อหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวเพื่อ กค. จะได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

3. มอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารโลกลงนามในเอกสารยืนยันขอรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน [Form of Instrument of Subscription (for additional shares)]

สาระสำคัญของเรื่อง

กค. รายงานว่า

1. บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) เป็นสถาบันการเงินในสังกัดกลุ่มธนาคารโลก จัดตั้งขึ้นในปี 2499 มีนโยบายหลักเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมถึงการจัดสรรเงินกู้ระยะยาว การค้ำประกัน การบริหารความเสี่ยง และการให้คำปรึกษาต่าง ๆ โดยปัจจุบัน IFC มีสมาชิกทั้งสิ้น 182 ประเทศ ซึ่งสมาชิกของ IFC ดังกล่าวเป็นสมาชิกของธนาคารโลกด้วย

2. สำหรับการเพิ่มทุนสามัญประจำปี 2553 ของ IFC เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปของกลุ่มธนาคารโลก ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการปฏิรูปอำนาจการออกเสียงและการมีส่วนร่วมของประเทศกำลังพัฒนา

3. ประเทศไทยได้รับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 836 หุ้น โดยมีค่าหุ้น 1,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น โดย IFC ได้กำหนดให้ประเทศที่ได้รับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนเพิ่มเติมรวมถึงประเทศไทยยืนยันขอรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนดังกล่าวอย่างเป็นทางการภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2557 และกำหนดให้ชำระค่าหุ้นดังกล่าวภายในวันที่ 27 มิถุนายน 2558 ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของไทยในธนาคารโลกจะต้องลงนามในเอกสารยืนยันขอรับการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุน (Form of Instrument of Subscription (for additional shares) และส่งให้ IFC ภายในวันที่ 27 ธันวาคม 2557

ต่างประเทศ

22. เรื่อง ขอความเห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกลไกความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนสำหรับการเตรียมการ และการจัดการน้ำมันรั่วไหลร่วมกัน

คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยกลไกความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนสำหรับการ

เตรียมการ และการจัดการน้ำมันรั่วไหลร่วมกัน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงบันทึกความเข้าใจฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนามและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้ คค. สามารถดำเนินการได้โดยประสานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม

3. มอบหมายให้ กต. ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการ

กระทรวงคมนาคมหรือผู้แทนสำหรับการลงนามดังกล่าว

สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ มีดังนี้

1. วัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความร่วมมือของประเทศในภูมิภาคอาเซียนในการเสริมสร้าง

ขีดความสามารถในการป้องกันและขจัดมลพิษทางทะเลเนื่องจากน้ำมัน พร้อมทั้งสนับสนุนความร่วมมือและความช่วยเหลือในการควบคุมและขจัดมลพิษที่เกิดขึ้นในภูมิภาค โดยประเทศผู้ขอรับความช่วยเหลือเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

2. ประเทศสมาชิกตกลงที่จะร่วมกันพัฒนากลยุทธ์และแผนการปฏิบัติการเพื่อสร้าง

ความสามารถและขีดความสามารถของสมาชิกประชาคมอาเซียน รวมถึงการเริ่มการอบรมร่วมหรือการฝึกร่วมเพื่อยกระดับการเตรียมการความร่วมมือและการประสานงานระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ในการขจัดคราบน้ำมันของภาคีทั้งหมด การแบ่งปันข้อมูลเพิ่อเพิ่มระดับของการเตรียมการกรณีอุบัติการณ์น้ำมันรั่วไหล และสร้างความเข้มแข็งในการปฏิบัติงานจริง

23. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนฉุกเฉินเพื่อประสานงานและการจัดการอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง และระเบียบว่าด้วยการจัดการค้นหาและช่วยเหลือ การกู้ภัยและการเคลื่อนย้ายซากเรือในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง

คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบแผนฉุกเฉินเพื่อประสานงานและการจัดการอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือใน

แม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง และระเบียบว่าด้วยการจัดการค้นหาและช่วยเหลือ การกู้ภัย และการเคลื่อนย้ายซากเรือในแม่น้ำล้านช้าง – แม่น้ำโขง

2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม

3. เห็นชอบให้กรมเจ้าท่า คค. เป็นหน่วยงานปฏิบัติและประสานงานหลักในการดำเนินการ

          ตามแผนฉุกเฉินเพื่อประสานงานและการจัดการอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง –     แม่น้ำโขง  และระเบียบว่าด้วยการจัดการค้นหาและช่วยเหลือ การกู้ภัย  และการเคลื่อนย้ายซากเรือใน    แม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง

4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้แทนสำหรับการลงนามทั้งสองฉบับ

สาระสำคัญของแผนฉุกเฉินเพื่อประสานงานและการจัดการอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง มีดังนี้

1. การบังคับใช้แผนฉุกเฉินดังกล่าวจะใช้กับอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือที่เกิดขึ้นใน

ร่องน้ำทางเดินเรือที่ระบุไว้ในความตกลงว่าด้วยการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้ำโขง คือช่วงระหว่างท่าเรือ ซือเหมา สาธารณรัฐประชาชนจีนและท่าเรือหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเกี่ยวข้องกับประเทศภาคีตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป

2. คำนิยามของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝันเกี่ยวกับการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง –

แม่น้ำโขง ไว้ว่า หมายถึงอุบัติเหตุฉุกเฉินใด ๆ ที่เกิดขึ้นในร่องน้ำทางเดินเรือที่ระบุไว้ในความตกลงฯ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศภาคีตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป โดยอุบัติเหตุนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับการเดินเรือซึ่งเป็นหรืออาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน และทำลายสิ่งแวดล้อมอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือนี้จะหมายความรวมถึงอุบัติเหตุจากการจราจรทางน้ำ เช่น เรือจมหรือโดนกัน เรือชนโขดหินหรือติดตื้น ไฟไหม้เรือ หรืออุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของท่าเรือ สารเคมีอันตรายรั่วไหล เป็นต้น ทั้งนี้ อุบัติเหตุดังกล่าวจะต้องเป็นภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินหรืออุบัติเหตุใด ๆ ซึ่งทำให้การเดินเรือระหว่างประเทศในแม่น้ำโขงสร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อมและทำลายระบบนิเวศวิทยา

3. ประเภทของอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามระดับและผลกระทบ

ต่อชีวิต ทรัพย์สิน ระบบนิเวศวิทยา และภัยคุกคามต่อความปลอดภัยในการเดินเรือที่เกิดจากอุบัติเหตุดังกล่าว คือ (ก) อุบัติเหตุธรรมดา ซึ่งไม่มีคนตายหรือสูญหาย หรือมูลค่าความเสียหายต่ำกว่าหนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐฯ หรือไม่ทำให้ร่องน้ำ หรือระบบนิเวศวิทยาเสียหายหรือไม่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการเดินเรือ หรือการทำงานตามปกติ หรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมแม่น้ำ และ (ข) อุบัติเหตุร้ายแรง ซึ่งมีคนตายหรือสูญหาย หรือมูลค่าความเสียหายเท่ากับหรือสูงกว่า หนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐฯ หรือทำให้ร่องน้ำหรือระบบนิเวศวิทยาเสียหาย หรือส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการเดินเรือ หรือการทำงานตามปกติ หรือชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนริมแม่น้ำ

4. การกำหนดหลักการของการประสานงานและการจัดการกับเหตุฉุกเฉิน โดยกำหนดให้

ประเทศภาคีต้องยึดหลักการของการเคารพอำนาจอธิปไตยซึ่งกันและกัน หลักความเท่าเทียมกัน และหลักมิตรภาพในการจัดการกับอุบัติเหตุและยึดหลักการในการปฏิบัติงาน ได้แก่ (ก) ช่วยประชาชนก่อนและลดความเสียหาย (ข) จัดการด้วยความรวดเร็วและให้ได้ผลดี และ (ค) เสริมสร้างความแข็งแกร่งของการประสานงานและความร่วมมือ

24. เรื่อง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาโรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ระยะที่ 2

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาโรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว ระยะที่ 2 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับแก้ถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก

สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้จัดทำขึ้นในระดับรัฐบาลโดยมีรูปแบบและถ้อยคำที่แสดงเจตนาที่จะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศแก่คู่ภาคีในการร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุขของกันและกัน โดยจะมีการดำเนินการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในและแม่และเด็ก ณ โรงพยาบาลแขวงบ่อแก้ว พร้อมกำหนดกรอบความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกในด้าน ต่าง ๆ จึงเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและเข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 23 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ซึ่งจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนลงนาม แต่ไม่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขตซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญา หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศหรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา หรือที่กระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง จึงไม่เข้าข่ายเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องขอรับความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติตามมาตรา 23 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญ

25. เรื่อง สรุปผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพสมัยที่ 12 (COP 12) ณ เมืองพยองชาง สาธารณรัฐเกาหลี

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

1. รับทราบสรุปผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 12 และการประชุมระดับสูงหรือระดับรัฐมนตรีระหว่างสมัยการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 12 และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการต่อไป เพื่อให้สัตยาบันต่อพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม

2. เห็นชอบให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในฐานะหน่วยงานประสานการดำเนินงานตามอนุสัญญา ฯ ประสานการดำเนินงานตามข้อตัดสินใจจากการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญา ฯ ต่อไป

3. ให้กระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณากำหนดแนวทางและเงื่อนไขของการส่งเสริมการลงทุนจากเอกชนที่มาลงทุนในประเทศไทย ในการสนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อไป

26. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20

(COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 10 (CMP10)

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ดังนี้

1. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20 (COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 10 (CMP10)

2. เห็นชอบต่อท่าทีการเจรจาของไทยสำหรับใช้ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20 (COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 10 (CMP10)

3. หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากท่าทีการเจรจาฯ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally Binding) ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20 (COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 10 (CMP10) ในวันที่ 15 ธันวาคม 2557 ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู

สาระสำคัญขององค์ประกอบฯ และท่าทีการเจรจาฯ มีดังนี้

1. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ

ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20 (COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 10 (CMP10) ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เอกอัครราชทูต ณ กรุงลิมา สาธารณรัฐเปรู และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมทั้งสิ้นจำนวน 50 คน

2. ท่าทีการเจรจาของไทยสำหรับใช้ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 20 (COP20) และการประชุมรัฐภาคีพิธีสารเกียวโต สมัยที่ 10 (CMP10) จะเน้นย้ำการดำเนินงานภายใต้อนุสัญญาฯ โดยมุ่งหวังให้รัฐภาคียกระดับการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้ เรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้ว ต้องเป็นผู้นำในการดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจกและการให้การสนับสนุนทางการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิชาการและประสบการณ์

ท่าทีการเจรจาฯ เป็นไปตามหลักการของอนุสัญญาฯ คือ มีความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกันตามขีดความสามารถและสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ และไม่ขัดกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11

27. เรื่อง การแสดงเจตจำนง (Pledge) การดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ

(NAMAs)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบกับการแสดงเจตจำนงการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMAs) โดยเสนอตัวเลขของศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกเป็นช่วง (Range) ระหว่างร้อยละ 7–20

2. เห็นชอบกับหนังสือแสดงเจตจำนงการดำเนินงานลดก๊าซเรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMAs) และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยื่นหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ต่อสำนักเลขาธิการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ต่อไป

3. เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยสามารถแจ้งข้อมูลเรื่องการแสดงเจตจำนงการดำเนินงานลดก๊าซ

เรือนกระจกที่เหมาะสมของประเทศ (NAMAs) รวมทั้งตัวเลขศักยภาพในการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่าง

ร้อยละ 7–20 ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่

20 (COP20) รวมทั้งในการหารือแบบทวิภาคีและพหุภาคีได้

28. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้รัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมและการฝึกอบรมร่วมกับทบวง

การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติตอบรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมและการฝึกอบรมในประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอ จำนวน 2 รายการ ดังนี้

1. การประชุม Project Review and Coordination Meeting on Strengthening Regional Nuclear Regulatory Authorities and Safety Culture under RAS/9/061 [การประสานและทบทวนโครงการการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานกำกับดูแลความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของประเทศและสำนึกด้านวัฒนธรรมความปลอดภัยภายใต้ อาร์เอเอส/9/061] วัตถุประสงค์ของการประชุมเพื่อหารือและทบทวนความสำเร็จที่ผ่านมาของโครงการดังกล่าวและเพื่อปรับสถานะล่าสุดของแผนการทำงานของโครงการดังกล่าวสำหรับปี 2558 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้ารับการประชุมจำนวน 20 คน รวมทั้งผู้แทนจาก IAEA โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มีความยินดีที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

2. การฝึกอบรม IAEA/RCA Regional Training Course on Essentials of Hybrid Nuclear Medicine [ปัจจัยสำคัญในการใช้วิธีผสานภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์] วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการฝึกอบรมนี้จัดขึ้นเพื่อฝึกฝนผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์สำหรับประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก การรายงานความคืบหน้าการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยด้วยเครื่องถ่ายภาพรังสีแกมมาพลังงานเดียวชนิดหัววัดหมุนรอบตัวผู้ป่วยพร้อมการถ่ายภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และการบริหารจัดการด้านการตรวจวินิจฉัยเกี่ยวกับผลกระทบต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 20 คน รวมทั้งผู้แทนจาก IAEA โดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความยินดีที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรม

การจัดการประชุมทั้ง 2 รายการดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูในทางสันติ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมบทบาทของไทยในกรอบความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติอีกด้วย

แต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอแต่งตั้ง นายประจิตต์ โรจนพฤกษ์ เป็นสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก สืบต่อไปอีกวาระหนึ่ง มีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้

1. นายณรงค์ วงศ์บา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กลุ่มงานวิจัยการให้บริการทางการแพทย์และสังคม กลุ่มโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กลุ่มงานวิจัยการให้บริการทางการแพทย์และสังคม กลุ่มโรคเอดส์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2556

2. นางสาวอภิรมย์ พารักษา นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมพัฒนา) กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิชาการ สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัย สาขาโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (นายสัตวแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2557

3. นางอุทุมพร กำภู ณ อยุธยา นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง) สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 19 สิงหาคม 2557

4. นางจันทนา อึ้งชูศักดิ์ ทันตแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านทันตสาธารณสุข) กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมทันตสุขภาพเด็กและเยาวชน สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง ทันตแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านทันตสาธารณสุข) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2556

5. นางสุรีย์ วงศ์ปิยชน ผู้อำนวยการสำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านสุขาภิบาล) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 13 มีนาคม 2557

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้ข้าราชการลำดับที่ 1-3 พ้นจากตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2557 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้

1. นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

2. นายสนิท พรหมวงษ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

3. นายดรุณ แสงฉาย รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมทางหลวงชนบท

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย ดังนี้

1. นายสุรพงษ์ เจียสกุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

2. นายอยุทธ์ หรินทรานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

3. นายนำชัย พรหมมีชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

4. นางปาริชาติ ศรีวิพัฒน์ รองอธิบดีกรมการข้าว ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

5. นายสุรจิตต์ อินทรชิต รองอธิบดีกรมประมง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

6. นางสาวดุจเดือน ศศะนาวิน รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

7. นางอารีย์ โสมวดี รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 6 ราย ดังนี้

1. นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

2. นายสมศักดิ์ พณิชยกุล รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

3. นางกุลณี อิศดิศัย รองอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

4. นางสาวนพพร ลิ้นทอง รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

5. นางนิศา ศรีสุวรนันท์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

6. นางดวงกมล เจียมบุตร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง

34. เรื่อง การแต่งตั้งมนตรีฝ่ายไทยประจำมูลนิธิเอเชีย-ยุโรปคนใหม่

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้ง นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ ดำรงตำแหน่งมนตรีฝ่ายไทยประจำมูลนิธิเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Foundation-ASEF) สืบแทนนายสวนิต คงสิริ โดยให้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) (สำนักนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูงเพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 ราย ดังนี้

1. นางสุรีย์พรรณ เอื้อเสถียร ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบงานการข่าว (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

2. นายรวี ประจวบเหมาะ ที่ปรึกษาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ

ตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน 2557 ซึ่งเป็นวันที่มีคำสั่งให้ข้าราชการรักษาราชการแทนในตำแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ (กระทรวงการต่างประเทศ)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต เพิ่มเติมอีกจำนวน 12 ราย ดังนี้

1. นายธีรกุล นิยม เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต

ณ กรุงออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายวิบูลย์ คูสกุล ซึ่งเกษียณอายุราชการ

2. นายจักร บุญ-หลง เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต

ณ กรุงเทลอาวีฟ รัฐอิสราเอล สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ราชอาณาจักรนอร์เวย์ สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทน

นายธีรกุล นิยม

3. นางขันธ์ทอง อูนากูล เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกาฐมาณฑุ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ ฮังการี สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายสมปอง สงวนบรรพ์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ

4. นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายมารุต จิตรปฏิมา ซึ่งเกษียณอายุราชการ

5. นายมนัสวี ศรีโสดาพล รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์ สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายบรรสาน บุนนาค

6. นายนภดล เทพพิทักษ์ เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายมนัสวี ศรีโสดาพล

7. นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวลลิงตัน นิวซีแลนด์ สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทน

นายนภดล เทพพิทักษ์

8. นายจิระชัย ปั้นกระษิณ เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก สหรัฐเม็กซิโก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย สืบแทนนายมาริษ เสงี่ยมพงษ์

9. นายสุรศักดิ์ เจือสุคนธ์ทิพย์ เอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง)

สถานเอกอัครราชทูต ณ คูเวต รัฐคูเวต สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเม็กซิโก สหรัฐเม็กซิโก สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายจิระชัย ปั้นกระษิณ

10. นายดำรง ใคร่ครวญ อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก (นักบริหาร ระดับสูง) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต (นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย

สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายกฤต ไกรจิตติ ซึ่งเกษียณอายุราชการ

11. นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ อธิบดีกรมยุโรป (นักบริหาร ระดับสูง) ดำรงตำแหน่ง

อธิบดีกรมเอเชียตะวันออก (นักบริหาร ระดับสูง) สืบแทนนายดำรง ใคร่ครวญ

12. นางสาวบุษกร พฤกษพงศ์ กงสุลใหญ่ (นักบริหารการทูต ระดับต้น) สถานกงสุงใหญ่

ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต

(นักบริหารการทูต ระดับสูง) สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดิลี สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต สำนักงานปลัดกระทรวง สืบแทนนายธวัชชัย คูภิรมย์ ซึ่งเกษียณอายุราชการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

37. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ดังนี้

ประธานกรรมการ 1. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา กรรมการผู้แทนชุมชน ได้แก่

2. นายธีระชัย บุญอารีย์ 3. นางประเสริฐศรี มังกรศักดิ์สิทธิ์ 4. นายชัชวาล เตละวาณิชย์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ 5. นายพิษณุ วิเชียรสรรค์ 6. นางสาววันเพ็ญ หาญญานันท์ 7. นายกิตติพันธ์ จำปาทิพย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

38. เรื่อง ขอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอให้แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการบริหารสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล ดังนี้

ประธานกรรมการ 1. นายศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ 2. รองศาสตราจารย์จิตเจริญ ไชยาคำ 3. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา 4. รองศาสตราจารย์ธิดานิงสานนท์ 5. รองศาสตราจารย์สุเมธ พีรวุฒิ 6. นายพงษ์พัฒน์ ปธานวนิช 7. นายสุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย 8. นายภัทระ คำพิทักษ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอการแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารหอภาพยนตร์ จำนวน 8 คน ซึ่งได้รับการสรรหาตามระเบียบหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พ.ศ. 2552 ดังนี้

1. รองศาสตราจารย์สุกรี เจริญสุข ประธานกรรมการ 2. นายชาคร วิภูษณวนิช กรรมการ 3. นางจิระนันท์ ประเสริฐกุล กรรมการ 4. นายศักดินา ฉัตรกุล ณ อยุธยา กรรมการ 5. ม.ล.วราภา อุกฤษณ์ กรรมการ 6. นายประวิทย์ แต่งอักษร กรรมการ 7. นายจิระ มะลิกุล กรรมการ 8. นายก้อง ฤทธิ์ดี กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

40. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายพานิช เหล่าศิริรัตน์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

41. เรื่อง การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (หม่อมราชวงศ์

ปรีดิยาธร เทวกุล) ให้เป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมไม่อาจปฏิบัติราชการได้พร้อมกัน ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

42. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม)

คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้

1. ให้ พลเอก วิโรจน์ บัวจรูญ กรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคพ้นจากตำแหน่งโดยมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นไปตามนัยมาตรา 25 (3) แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503

2. อนุมัติแต่งตั้งบุคคลต่อไปนี้ เป็นประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (เพิ่มเติม) แทนประธานกรรมการ กรรมการอื่นที่ลาออก และแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งเป็นไปตามนัยมาตรา 20 และมาตรา 25 วรรคท้ายแห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2503 จำนวนทั้งสิ้น 7 คน ดังนี้

1) พลเอก วิโรจน์ บัวจรูญ ประธานกรรมการ แทนนายพิเชษฐ์ ดุรงคเวโรจน์

2) นายถวิล เปลี่ยนศรี กรรมการอื่น (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ) แทนนายภูมิใจ อัตตะนันทน์

3) นายไพบูลย์ ศิริภาณุเสถียร กรรมการอื่น (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ) แทนพลเอก วิโรจน์ บัวจรูญ

4) นายสุรงค์ บูลกุล กรรมการอื่น (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ)

5) นายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี กรรมการอื่น

6) นายสมพร ใช้บางยาง กรรมการอื่น

7) รองศาสตราจารย์ วิสุทธิ์ สุนทรกนกพงศ์ กรรมการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2557 เป็นต้นไป

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ