เอสเอ็มอีแบงก์ จับมือ กรมบังคับคดี นัดแรกไกล่เกลี่ยลูกหนี้ ในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล

ข่าวทั่วไป Tuesday December 9, 2014 16:47 —สำนักโฆษก

ในวันนี้ (9 ธันวาคม 2557) ได้มีการจัดงานมหกรรมร่วมใจไกล่เกลี่ยเฉลิมพระเกียรติ 87 พรรษา โดยมี นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมกับ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานในพิธีร่วมกัน ตามที่กรมบังคับคดี และ เอสเอ็มอีแบงก์ ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เพื่อให้กรมบังคับคดีเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่าง เอสเอ็มอีแบงก์และลูกหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งศาลได้พิจารณาคดีถึงที่สุดให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ โดยเริ่มแรกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีลูกหนี้อยู่ในข่ายไกล่เกลี่ยประมาณ 3,400 ราย มูลหนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีลูกหนี้ทยอยตอบรับเข้ามาร่วมงาน

ในวันนี้ (9 ธันวาคม 2557) ได้มีการจัดงานมหกรรมร่วมใจไกล่เกลี่ยเฉลิมพระเกียรติ 87 พรรษา โดยมี นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ร่วมกับ นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี เป็นประธานในพิธีร่วมกัน ตามที่กรมบังคับคดี และ เอสเอ็มอีแบงก์ ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557 เพื่อให้กรมบังคับคดีเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยหนี้ระหว่าง เอสเอ็มอีแบงก์และลูกหนี้รายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน ซึ่งศาลได้พิจารณาคดีถึงที่สุดให้ลูกหนี้ต้องชำระหนี้ โดยเริ่มแรกในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ที่มีลูกหนี้อยู่ในข่ายไกล่เกลี่ยประมาณ 3,400 ราย มูลหนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งมีลูกหนี้ทยอยตอบรับเข้ามาร่วมงาน

ทั้งนี้ ทางกรมบังคับคดีได้ส่งจดหมายถึงลูกหนี้ทั้งหมดนัดมาเจรจากับเอสเอ็มอีแบงก์ ที่กรมบังคับคดี ซึ่งผลการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ หากลูกหนี้ยังพอมีกำลังที่จะขอชำระหนี้บางส่วนหรือขอปรับโครงสร้างหนี้กับธนาคารอีกครั้งก็จะส่งผลให้ธนาคารไม่จำเป็นต้องยื่นฟ้องล้มละลายกับลูกหนี้ ซึ่งถือว่าเป็นข้อดีของลูกหนี้ที่จะได้ประโยชน์ ขณะเดียวกันธนาคารเองก็ไม่มีหลักประกันกับลูกหนี้กลุ่มนี้ ดังนั้นการจะได้รับส่วนแบ่งคงไม่มากเท่าที่กรมบังคับคดีได้เข้ามาเป็นตัวกลางให้ลูกหนี้ไว้วางใจยอมชำระหนี้บางส่วนกับธนาคาร ซึ่งจะได้รับมากกว่าการมาเฉลี่ยทรัพย์เมื่อฟ้องล้มละลาย หรือหากลูกหนี้ยังมีธุรกิจรองรับและสามารถปรับโครงสร้างหนี้ใหม่จะส่งผลให้ NPLs ของธนาคารลดลงด้วย

การจัดงานดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้เจ้าหนี้และลูกหนี้ตามคำพิพากษา ได้เจรจาตกลงเรื่องการชำระหนี้ด้วยความพึงพอใจร่วมกันในเงื่อนไขที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้ โดยมีเจ้าหน้าที่จากศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของกรมบังคับคดีเป็นคนกลางช่วยไกล่เกลี่ยซึ่งจะนำไปสู่การงดการบังคับคดี ถอนการยึดทรัพย์ หรือถอนการบังคับคดีต่อไป ทั้งนี้ นอกจากจะช่วยให้เจ้าหนี้คือธนาคารได้รับการชำระหนี้แล้ว ยังเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกหนี้กลุ่มวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปเป็นการลดการสูญเสียของประเทศในภาพรวม

สำหรับการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้ของลูกหนี้ในพื้นที่กรุงเทพฯ และ ปริมณฑล จะจัดในวันที่ 9,10 และ 13 ธันวาคม ระหว่างเวลา 8.30 – 15.30 น. ณ กรมบังคับคดี และจะดำเนินการในพื้นที่ภูมิภาคต่างๆต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สำนักงานสื่อสารองค์กร โทร.02-265-4564-5

ที่มา : กระทรวงการคลัง

ผู้นำเสนอ : กลุ่มสารนิเทศการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง

ที่มา: http://www.thaigov.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ