ทำเนียบรัฐบาล--5 ส.ค.--บิสนิวส์
วันนี้ (17 ก.ค. 41) เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า ประเทศญี่ปุ่น (The Export-Import Bank of Japan-JEXIM) นายฮิโรชิ ยาสุตะ (Mr.Hiroshi Yasuda) และคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย โดยมี นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมสนทนาด้วย สรุปสาระสำคัญของการหารือได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของญี่ปุ่น และได้กล่าวชื่นชมบทบาทของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ได้พยายามแก้ไขปัญหาทั้งภายในประเทศและของภูมิภาคโดยรวม ทั้งนี้ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีทั้งสิ่งที่รัฐบาลไทยได้คาดหมายและไม่ได้คาดหมายไว้ สิ่งที่รัฐบาลได้คาดหมายไว้คือวิกฤตการณ์ครั้งนี้จะส่งผลกระทบไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มิได้เข้มแข็งเหมือนประเทศมหาอำนาจ ส่วนสิ่งที่มิได้คาดหมายไว้คือ ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเกินความคาดหมาย มีความสูญเสียเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเลวร้ายไปกว่านี้หากไม่มีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือรัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ย้ำว่ารัฐบาลไทยจะดำเนินการปฎิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในอนาคต
ในการนี้ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ได้กล่าวว่าไทยกับญี่ปุ่นนั้น เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กันมายาวนานตั้งแต่อดีต และการที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายกรัฐมนตรีครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบไปยังประเทศในยุโรปรวมถึงด้วย ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นหรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ต้องมาแสดงบทบาทการเป็นผู้นำของภูมิภาคมากขึ้น ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นเองก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้เช่นกัน นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ยืนยันว่า จะดำเนินมาตรการในการฟื้นฟูประเทศ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนที่สุด เพื่อที่จะเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศให้มากขึ้น โดยคาดว่าจะเห็นผลในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2541 นี้ นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังได้กำหนดนโยบายระบบการเงินการจัดการกับหนี้เสีย (non-performing loan) โดยจะนำเข้าไปพิจารณาในสภาภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในการปรับโครงสร้างพื้นฐานอีกส่วนหนึ่ง--จบ--
วันนี้ (17 ก.ค. 41) เวลา 14.00 น. ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า ประเทศญี่ปุ่น (The Export-Import Bank of Japan-JEXIM) นายฮิโรชิ ยาสุตะ (Mr.Hiroshi Yasuda) และคณะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย โดยมี นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมสนทนาด้วย สรุปสาระสำคัญของการหารือได้ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวแสดงความยินดีต้อนรับ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของญี่ปุ่น และได้กล่าวชื่นชมบทบาทของรัฐบาลญี่ปุ่นที่ได้พยายามแก้ไขปัญหาทั้งภายในประเทศและของภูมิภาคโดยรวม ทั้งนี้ วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีทั้งสิ่งที่รัฐบาลไทยได้คาดหมายและไม่ได้คาดหมายไว้ สิ่งที่รัฐบาลได้คาดหมายไว้คือวิกฤตการณ์ครั้งนี้จะส่งผลกระทบไปยังประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค เนื่องจากพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มิได้เข้มแข็งเหมือนประเทศมหาอำนาจ ส่วนสิ่งที่มิได้คาดหมายไว้คือ ประชาชนได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงเกินความคาดหมาย มีความสูญเสียเกิดขึ้นกับเหตุการณ์ในครั้งนี้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดี เหตุการณ์เหล่านี้อาจจะเลวร้ายไปกว่านี้หากไม่มีกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือรัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือ พร้อมกันนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ย้ำว่ารัฐบาลไทยจะดำเนินการปฎิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจต่อไป เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในอนาคต
ในการนี้ ผู้ว่าการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ได้กล่าวว่าไทยกับญี่ปุ่นนั้น เป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์กันมายาวนานตั้งแต่อดีต และการที่ได้เข้าเยี่ยมคารวะ นายกรัฐมนตรีครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดีที่จะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ ซึ่งขณะนี้ได้ส่งผลกระทบไปยังประเทศในยุโรปรวมถึงด้วย ดังนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นหรือธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าประเทศญี่ปุ่น ต้องมาแสดงบทบาทการเป็นผู้นำของภูมิภาคมากขึ้น ถึงแม้ว่าญี่ปุ่นเองก็ได้รับผลกระทบในครั้งนี้เช่นกัน นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ยืนยันว่า จะดำเนินมาตรการในการฟื้นฟูประเทศ โดยการปรับโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนที่สุด เพื่อที่จะเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศให้มากขึ้น โดยคาดว่าจะเห็นผลในช่วงครึ่งปีหลัง ของปี 2541 นี้ นอกจากนั้น ญี่ปุ่นยังได้กำหนดนโยบายระบบการเงินการจัดการกับหนี้เสีย (non-performing loan) โดยจะนำเข้าไปพิจารณาในสภาภายในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งเป็นการเริ่มต้นในการปรับโครงสร้างพื้นฐานอีกส่วนหนึ่ง--จบ--