ทำเนียบรัฐบาล--6 ส.ค.--บิสนิวส์
เรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล
รัฐบาลโดยมี ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2539 ด้านการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น โดยเน้นที่การปรับปรุง
โครงการสร้างขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ทั้งจะเร่งรัดการกระ
จายภารกิจ อำนาจที่และรายได้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมากขึ้น และเพียงพอที่จะบริหารกิจการของตน
เอง และถ่ายเทบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น
ตามความเหมาะสม
การดำเนินงานตามนโยบายการกระจายอำนาจ
* กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างกฎหมาย เพื่อปรับปรุงหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ยังไม่เหมาะ
สม และสอดคล้องกับการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
* สำนักงาน ก.พ. ได้มีนโยบายที่จะพิจารณาทบทวนบทบาท ภารกิจ หน้าที่ของแต่ละ
ส่วนราชการ ว่ามีภารกิจหน้าที่ใดที่สมควรจะมอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปดำเนินการแทน
* คณะกรรมการนโยบายการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคท้องถิ่น (กนภ.) ได้มีมติในที่ประ
ชุมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2540 เห็นชอบในแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหาร
ส่วนตำบล (อบต.) โดยเน้นความร่วมมือจากทั้งภาคราชการ สถาบันการศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนใน
ลักษณะประชาคมตำบล โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน
การดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยกระทรวงมหาดไทย
1. ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของ อบต.ไว้ กล่าวคือ "ทำถูก คิดเป็น ประชาชนมีส่วนร่วม"
2. การดำเนินงานระยะสั้น สำหรับ อบต. ที่จัดตั้งใหม่
2.1 การฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแก่สมาชิกสภา อบต. คณะกรรมการบริหาร
พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง รวมทั้งได้มีการจัดพิมพ์หนังสือระเบียบกฎหมายข้องรวมตลอดถึงคู่มือ
การปฏิบัติงานอีกด้วย และในโอกาสต่อไปจะได้สนับสนุนแนะนำให้ อบต. จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุค
ลากรของตนเองด้วย
2.2 การสรรหาบุคลากรของ อบต.ได้ดำเนินการเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะ
สมและเข้าสู่ตำแหน่งโดยระบบอย่างแท้จริง
นอกจากนั้น กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสำนักงาน ก.พ.กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาหาวิธีการ
เหมาะสมในการรวมองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมี
หลายองค์กรให้มีเพียงองค์กรเดียวต่อไป
2.3 ด้านเงินรายได้ของ อบต. ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ อบต.ได้รับเงิน
รายได้ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และมีรายได้บางประเภทอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย
ในปีงบประมาณ 2541 กรมการปกครองได้พิจารณาแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนขึ้นใหม่
โดยมีหลักเกณฑ์สรุปได้คือ จะแบ่งเงินงบประมาณทั้งหมด (100%) ออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 จำนวน 25% จัดสรรให้เท่ากันทุกแห่ง
ส่วนที่ 2 จำนวน 75% จัดสรรจำนวนประชากรขนาดพื้นที่ จำนวนหมู่บ้าน และฐานะรายได้
โดยรายได้น้อยจะได้รับมาก รายได้มากจะได้รับน้อย
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในระยะยาว
จากการศึกษาขององค์กรต่าง ๆ พบว่า เนื่องจากอบต. เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวน
มาก ปัญหาส่วนใหญ่จึงยังอยู่ที่การขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายระเบียบ บทบาท อำนาจหน้าของผู้ที่
เกี่ยวข้องตลอดจนขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคดัง
กล่าวในระยะยาว กระทรวงมหาดไทยจึงมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทยได้ขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดทำหลัก
สูตรการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในลักษณะการศึกษาทางไกลต่อเนื่อง
2. โครงการพัฒนา อบต.ต้นแบบ เป็นโครงการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาของ อบต.
รวมทั้งศึกษาปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคของการพัฒนา เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์หรือความคาดหวังที่จะให้
อบต. เป็นระยะเริ่มต้นคือ การทำถูก การคิดเป็น และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยดำเนินการใน
อบต. จำนวน 10 แห่ง
3. โครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ อบต. เป็นโครงการที่ ส่ง
เสริมบทบาทของ อบต. ที่คัดเลือกขึ้นมาเป็นพื้นที่ดำเนินการนำร่องจำนวน 300 แห่ง ในการเป็น
แกนองค์การนำในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดขึ้นในชุมชนตำบล
4. สนับสนุนส่งเสริมและแนะนำให้ อบต. จัดทำกิจกรรมโครงการและข้อบังคับงบประมาณ
รายจ่ายว่า ควรครอบคลุมกิจกรรมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเปิดให้โอกาสให้
กลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่เข้ามีส่วนร่วมเป็นพหุภาคีในลักษณะประชาคมตำบล
เรื่องรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิต
คณะรัฐบาลได้รับทราบมติคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคม ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสัง
คมให้ความเห็นชอบในหลักการการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตด้านปริมาณและคุณภาพของทบวง
มหาวิทยาลัย ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
* ส่งเสริมและเผยแพร่หลักการและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Access Learning)
ของประชาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
* จัดให้มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้
และข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เสริมบริการความรู้แก่ประชาชน
* จัดให้มีการเผยแพร่ทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าว
สารที่จะพัฒนาตนเองและความรู้มากขึ้น
* ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่าง ๆ เปิดหลักสูตร
และโครงการที่ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปมารับการศึกษาหาความรู้ประเภทไม่รับปริญญา (non-
degree program) มากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนได้รับความรู้ใหม่ ๆ ที่จะเป็นต่อการประกอบอาชีพ
ในทุกเวลาและโอกาส
ทั้งนี้ ทบวงวิทยาลัยได้ดำเนินการส่วนที่สำคัญเกี่ยวกับการสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการศึก
ษาตลอดชีวิตดังนี้
1. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางไกล มหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการเรื่องนี้ได้แก่
มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2. สนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับกรศึกษาตลอดชีวิต ดังนี้
* หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ระดับปริญญาโท เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร
* หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับปริญญาตรี เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร
* หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับปริญญาตรี เปิดสอนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระดับปริญญาโท เปิดสอนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
3. ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (2540-2544) ทบวงมหาวิทยาลัยสนับ
สนุนให้มีการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตดังนี้
* การศึกษาผู้ใหญ่ ระดับปริญญาตรี เปิดสอนที่ มหวิทยาทักษิณ ระดับปริญญาเอก เปิด
สอนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร
* การศึกษานอกระบบ ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระ
ดับปริญญาโท เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระดับปริญญาเอก เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่
4. ดำเนินการตามโครงการวิทยาเขตสารสนเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้แล้วเสร็จครบ 30 วิทยาเขต ใน พ.ศ.2541
5. ส่งเสริมการรับนักศึกษาให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งจำกัดและไม่จำกัด สามารถรับนักศึก
ษาต่อไปในปี 2540 จำนวน 1,093,663 คน และเพิ่มเป็นจำนวน 1,330,031 คน ในปี พ.ศ.2544
ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาระยะที่ 8
โครงการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติ
วันที่ 3 มิถุนายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบมติกลั่นกรองฝ่ายสังคมที่ได้อนุมัติงบประมณ
โครงการการรณรงค์ เพื่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติในงบประมาณปี 2541 คิดเป็นวงเงิน
100,000,000 บาท ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุขวิช รังสิตพล) ประธานกรรมการการศึกษา
แห่งชาติเสนอ
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับพื้นฐานความรู้
ของคนไทยให้สูงขึ้น
2. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษา กลุ่มผู้ปฏิบัติและพัฒนาศักย
ภาพหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน บุคคล ชุมชน สังคมและ
ประเทศชาติ
3. เพื่อสร้างศักยภาพของประเทศในการสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจในประ
ชาคมโลก
4. เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนและคนไทยทุกคนให้เห็นคุณค่าของการศึกษา และช่วยกันทำให้สัง
คมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
5. เพื่อให้คนไทยและประเทศก้าวสู่สังคมยุคโลกาภิวัฒน์ โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือใน
การพัฒนาศักยภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2540 ถึง กันยายน 2541 โดยใช้งบประ
มาณเพื่อการประชาสัมพันธ์การปฏิรูปการศึกษาดังนี้
- สื่อโทรทัศน์ 40,480,000 บาท
- สื่อวิทยุ 9,185,000 บาท
- สื่อสิงพิมพ์ 25,080,000 บาท
- สื่อบุคคล 5,200,000 บาท
- สื่ออื่น ๆ 20,055,000 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรม
การการศึกษาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย หน่วย
งานระดับกรมในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการรวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กร และ
ประชาชน
เรื่องการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน
โครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้ผู้ใช้แรงงานกู้ยืม
โดยผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ ทำให้ผู้ใช้แรงงานและครอบครัวมีความมั่นคงทางเศรษฐ
กิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบสรุป
ผลการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2539-31 มีนาคม 2540
ตามที่สรุปได้ดังนี้
* อนุมัติเงินกู้ในสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบการ จำนวน
4 ราย เป็นเงิน 14,600,000 บาท
* แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้ใช้
แรงงาน พ.ศ.2539 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ให้จ่ายเงินจากกองทุนฯ เพื่อเป็น
การช่วยเหลือลูกจ้างครึ่งหนึ่งของเงินที่คณะกรรมการกำหนดและให้ลูกจ้างกู้อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ต้อง
ผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
* ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการจำนวน 68 แห่ง ลูกจ้า
งที่เกี่ยวข้องจำนวน 38,970 คน เพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการกู้เงินจากกองทุนฯ ปัจจุบันมีสหกรณ์
ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ จำนวน 280 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้อง จำนวน 281,192 คน--จบ--
เรื่องการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล
รัฐบาลโดยมี ฯพณฯ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2539 ด้านการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่น โดยเน้นที่การปรับปรุง
โครงการสร้างขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ทั้งจะเร่งรัดการกระ
จายภารกิจ อำนาจที่และรายได้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นมากขึ้น และเพียงพอที่จะบริหารกิจการของตน
เอง และถ่ายเทบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาคไปสู่องค์กรปกครองท้องถิ่น
ตามความเหมาะสม
การดำเนินงานตามนโยบายการกระจายอำนาจ
* กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างกฎหมาย เพื่อปรับปรุงหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ยังไม่เหมาะ
สม และสอดคล้องกับการปกครองท้องถิ่นรูปอื่น ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
* สำนักงาน ก.พ. ได้มีนโยบายที่จะพิจารณาทบทวนบทบาท ภารกิจ หน้าที่ของแต่ละ
ส่วนราชการ ว่ามีภารกิจหน้าที่ใดที่สมควรจะมอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นรับไปดำเนินการแทน
* คณะกรรมการนโยบายการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคท้องถิ่น (กนภ.) ได้มีมติในที่ประ
ชุมเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2540 เห็นชอบในแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหาร
ส่วนตำบล (อบต.) โดยเน้นความร่วมมือจากทั้งภาคราชการ สถาบันการศึกษาและองค์กรพัฒนาเอกชนใน
ลักษณะประชาคมตำบล โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงานร่วมกัน
การดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบลโดยกระทรวงมหาดไทย
1. ได้กำหนดวิสัยทัศน์ของ อบต.ไว้ กล่าวคือ "ทำถูก คิดเป็น ประชาชนมีส่วนร่วม"
2. การดำเนินงานระยะสั้น สำหรับ อบต. ที่จัดตั้งใหม่
2.1 การฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ความสามารถแก่สมาชิกสภา อบต. คณะกรรมการบริหาร
พนักงานส่วนตำบลและลูกจ้าง รวมทั้งได้มีการจัดพิมพ์หนังสือระเบียบกฎหมายข้องรวมตลอดถึงคู่มือ
การปฏิบัติงานอีกด้วย และในโอกาสต่อไปจะได้สนับสนุนแนะนำให้ อบต. จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาบุค
ลากรของตนเองด้วย
2.2 การสรรหาบุคลากรของ อบต.ได้ดำเนินการเพื่อให้ได้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถเหมาะ
สมและเข้าสู่ตำแหน่งโดยระบบอย่างแท้จริง
นอกจากนั้น กระทรวงมหาดไทยร่วมกับสำนักงาน ก.พ.กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาหาวิธีการ
เหมาะสมในการรวมองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งปัจจุบันมี
หลายองค์กรให้มีเพียงองค์กรเดียวต่อไป
2.3 ด้านเงินรายได้ของ อบต. ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการให้ อบต.ได้รับเงิน
รายได้ตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว และมีรายได้บางประเภทอยู่ระหว่างการแก้ไขกฎหมาย
ในปีงบประมาณ 2541 กรมการปกครองได้พิจารณาแนวทางการจัดสรรเงินอุดหนุนขึ้นใหม่
โดยมีหลักเกณฑ์สรุปได้คือ จะแบ่งเงินงบประมาณทั้งหมด (100%) ออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 จำนวน 25% จัดสรรให้เท่ากันทุกแห่ง
ส่วนที่ 2 จำนวน 75% จัดสรรจำนวนประชากรขนาดพื้นที่ จำนวนหมู่บ้าน และฐานะรายได้
โดยรายได้น้อยจะได้รับมาก รายได้มากจะได้รับน้อย
ปัญหาอุปสรรคและแนวทางในระยะยาว
จากการศึกษาขององค์กรต่าง ๆ พบว่า เนื่องจากอบต. เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีจำนวน
มาก ปัญหาส่วนใหญ่จึงยังอยู่ที่การขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายระเบียบ บทบาท อำนาจหน้าของผู้ที่
เกี่ยวข้องตลอดจนขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น ในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคดัง
กล่าวในระยะยาว กระทรวงมหาดไทยจึงมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. กระทรวงมหาดไทยได้ขอความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จัดทำหลัก
สูตรการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบลในลักษณะการศึกษาทางไกลต่อเนื่อง
2. โครงการพัฒนา อบต.ต้นแบบ เป็นโครงการศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาของ อบต.
รวมทั้งศึกษาปัจจัยสนับสนุนและอุปสรรคของการพัฒนา เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์หรือความคาดหวังที่จะให้
อบต. เป็นระยะเริ่มต้นคือ การทำถูก การคิดเป็น และการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยดำเนินการใน
อบต. จำนวน 10 แห่ง
3. โครงการนำร่องเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ อบต. เป็นโครงการที่ ส่ง
เสริมบทบาทของ อบต. ที่คัดเลือกขึ้นมาเป็นพื้นที่ดำเนินการนำร่องจำนวน 300 แห่ง ในการเป็น
แกนองค์การนำในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมให้เกิดขึ้นในชุมชนตำบล
4. สนับสนุนส่งเสริมและแนะนำให้ อบต. จัดทำกิจกรรมโครงการและข้อบังคับงบประมาณ
รายจ่ายว่า ควรครอบคลุมกิจกรรมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยเปิดให้โอกาสให้
กลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่เข้ามีส่วนร่วมเป็นพหุภาคีในลักษณะประชาคมตำบล
เรื่องรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการศึกษาตลอดชีวิต
คณะรัฐบาลได้รับทราบมติคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสังคม ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองฝ่ายสัง
คมให้ความเห็นชอบในหลักการการดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตด้านปริมาณและคุณภาพของทบวง
มหาวิทยาลัย ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ ดังนี้
* ส่งเสริมและเผยแพร่หลักการและวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self Access Learning)
ของประชาชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
* จัดให้มีแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้
และข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน เช่น ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เสริมบริการความรู้แก่ประชาชน
* จัดให้มีการเผยแพร่ทางสื่อวิทยุและโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าว
สารที่จะพัฒนาตนเองและความรู้มากขึ้น
* ส่งเสริมให้มหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา และวิทยาลัยอาชีวศึกษาต่าง ๆ เปิดหลักสูตร
และโครงการที่ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปมารับการศึกษาหาความรู้ประเภทไม่รับปริญญา (non-
degree program) มากขึ้น ซึ่งช่วยทำให้ประชาชนได้รับความรู้ใหม่ ๆ ที่จะเป็นต่อการประกอบอาชีพ
ในทุกเวลาและโอกาส
ทั้งนี้ ทบวงวิทยาลัยได้ดำเนินการส่วนที่สำคัญเกี่ยวกับการสนับสนุนให้ประชาชนได้รับการศึก
ษาตลอดชีวิตดังนี้
1. สนับสนุนการจัดการเรียนการสอนทางไกล มหาวิทยาลัย ที่ดำเนินการเรื่องนี้ได้แก่
มหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
2. สนับสนุนการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับกรศึกษาตลอดชีวิต ดังนี้
* หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ระดับปริญญาโท เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร
* หลักสูตรการศึกษาผู้ใหญ่ ระดับปริญญาตรี เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร
* หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับปริญญาตรี เปิดสอนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระดับปริญญาโท เปิดสอนที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา
และมหาวิทยาลัยรามคำแหง
3. ในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะที่ 8 (2540-2544) ทบวงมหาวิทยาลัยสนับ
สนุนให้มีการเปิดสอนหลักสูตรที่เกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตดังนี้
* การศึกษาผู้ใหญ่ ระดับปริญญาตรี เปิดสอนที่ มหวิทยาทักษิณ ระดับปริญญาเอก เปิด
สอนที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยศิลปากร
* การศึกษานอกระบบ ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระ
ดับปริญญาโท เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระดับปริญญาเอก เปิดสอนที่ มหาวิทยาลัย
เชียงใหม่
4. ดำเนินการตามโครงการวิทยาเขตสารสนเทศ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
ให้แล้วเสร็จครบ 30 วิทยาเขต ใน พ.ศ.2541
5. ส่งเสริมการรับนักศึกษาให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น โดยในแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ระยะที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ทั้งจำกัดและไม่จำกัด สามารถรับนักศึก
ษาต่อไปในปี 2540 จำนวน 1,093,663 คน และเพิ่มเป็นจำนวน 1,330,031 คน ในปี พ.ศ.2544
ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของแผนพัฒนาระยะที่ 8
โครงการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติ
วันที่ 3 มิถุนายน 2540 คณะรัฐมนตรีได้รับทราบมติกลั่นกรองฝ่ายสังคมที่ได้อนุมัติงบประมณ
โครงการการรณรงค์ เพื่อการปฏิรูปการศึกษาของชาติในงบประมาณปี 2541 คิดเป็นวงเงิน
100,000,000 บาท ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุขวิช รังสิตพล) ประธานกรรมการการศึกษา
แห่งชาติเสนอ
โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจเรื่องการปฏิรูปการศึกษาเพื่อยกระดับพื้นฐานความรู้
ของคนไทยให้สูงขึ้น
2. เพื่อสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษา กลุ่มผู้ปฏิบัติและพัฒนาศักย
ภาพหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน บุคคล ชุมชน สังคมและ
ประเทศชาติ
3. เพื่อสร้างศักยภาพของประเทศในการสร้างความก้าวหน้าและมั่นคงของเศรษฐกิจในประ
ชาคมโลก
4. เพื่อรณรงค์ให้เยาวชนและคนไทยทุกคนให้เห็นคุณค่าของการศึกษา และช่วยกันทำให้สัง
คมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้
5. เพื่อให้คนไทยและประเทศก้าวสู่สังคมยุคโลกาภิวัฒน์ โดยใช้การศึกษาเป็นเครื่องมือใน
การพัฒนาศักยภาพ
ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2540 ถึง กันยายน 2541 โดยใช้งบประ
มาณเพื่อการประชาสัมพันธ์การปฏิรูปการศึกษาดังนี้
- สื่อโทรทัศน์ 40,480,000 บาท
- สื่อวิทยุ 9,185,000 บาท
- สื่อสิงพิมพ์ 25,080,000 บาท
- สื่อบุคคล 5,200,000 บาท
- สื่ออื่น ๆ 20,055,000 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ ศูนย์ประชาสัมพันธ์การศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรม
การการศึกษาแห่งชาติทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานดำเนินการในรูปแบบเครือข่าย หน่วย
งานระดับกรมในสังกัดของกระทรวงศึกษาธิการรวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กร และ
ประชาชน
เรื่องการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน
โครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนให้ผู้ใช้แรงงานกู้ยืม
โดยผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ ทำให้ผู้ใช้แรงงานและครอบครัวมีความมั่นคงทางเศรษฐ
กิจและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบสรุป
ผลการดำเนินงานโครงการกองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2539-31 มีนาคม 2540
ตามที่สรุปได้ดังนี้
* อนุมัติเงินกู้ในสหกรณ์ออมทรัพย์และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในสถานประกอบการ จำนวน
4 ราย เป็นเงิน 14,600,000 บาท
* แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ว่าด้วยกองทุนเพื่อผู้ใช้
แรงงาน พ.ศ.2539 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2540 ให้จ่ายเงินจากกองทุนฯ เพื่อเป็น
การช่วยเหลือลูกจ้างครึ่งหนึ่งของเงินที่คณะกรรมการกำหนดและให้ลูกจ้างกู้อีกครั้งหนึ่ง โดยไม่ต้อง
ผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากกระทรวงการคลัง
* ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบการจำนวน 68 แห่ง ลูกจ้า
งที่เกี่ยวข้องจำนวน 38,970 คน เพื่อเป็นกลุ่มเป้าหมายในการกู้เงินจากกองทุนฯ ปัจจุบันมีสหกรณ์
ออมทรัพย์ในสถานประกอบการ จำนวน 280 แห่ง มีลูกจ้างเกี่ยวข้อง จำนวน 281,192 คน--จบ--