สำหรับกล้องจุลทรรศน์เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญในการศึกษารายละเอียดของสิ่งของเล็กๆ มีประโยชน์ทั้งในวงการการศึกษา การเกษตร และอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ใช้ในการตรวจความบกพร่องของชิ้นงาน รอยแตกขนาดเล็ก หรือสิ่งปลอมปนต่างๆ แต่กล้องจุลทรรศน์ส่วนใหญ่ ต้องติดกล้องถ่ายภาพเพิ่ม ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการพกพา หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ถ่ายภาพอย่างสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตได้ สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน นักวิจัยจึงได้คิดค้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยใช้เวลาศึกษาวิจัย 4 เดือน จึงได้ผลงานวิจัย “เลนส์ทวิทรรศน์” ซึ่งผลงานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำไปใช้ในการด้านการศึกษา การเกษตร อาทิ นำไปใช้ในการศึกษาสิ่งของขนาดเล็ก เช่น เช่น เซลล์พืช หรือ ใช้ในการดูสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในน้ำ หรือ รากพืช และใช้ในการส่องดูชิ้นงานโบราณ เพื่อดูตำหนิ หรือปรับใช้กับผู้นิยมพระเครื่องก็ได้
ดร.ทวีศักดิ์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลงานวิจัยเลนส์ทวิทรรศน์นี้ มีนโยบายที่จะดำเนินการบูรณาการร่วมกันกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้ครู เด็กและเยาวชน ได้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวในการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะสามารถทดแทนกล้องจุลทรรศน์ในปัจจุบันที่มีราคาสูงและไม่เพียงพอกับสถานการศึกษาต่างๆ ในประเทศ พร้อมกันนี้ ห้องปฎิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ เนคเทค สวทช. ได้ดำเนินการนำร่องระดมทุนวิจัยทางอินเทอร์เน็ต เพื่อให้คนทั่วโลกได้เข้ามาสนับสนุนงานวิจัย ในระหว่างวันที่ 11 ธ.ค. 57 – 10 ม.ค. 58 โดยผ่านช่องทาง Crowdfunding ที่ใช้ในต่างประเทศ ซึ่งการระดมทุนผ่าน Crowdfunding นี้ สามารถเข้าไปได้ที่ https://www.indiegogo.com/projects/dual-microscope-lens-for-mobile-devices-twi-vis นอกจากจะทำให้นักวิจัยเข้าถึงแหล่งทุนวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยได้สำรวจตลาดและความต้องการของผู้ใช้ในวงกว้างได้รวดเร็วขึ้น จึงเป็นแนวทางที่ผลงานวิจัยจะสามารถตอบโจทย์ประเทศไทยในการนำงานวิจัยมาใช้ได้จริง
ที่มา: http://www.thaigov.go.th