โดยที่ประชุมฯ ได้รายงานเรื่องสืบเนื่อง ดังนี้
- การติดตามความก้าวหน้าเรื่องหลักสูตรพลศึกษา
ชั่วโมงพลศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ประสานกับผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตเพื่อรับทราบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามโครงสร้างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑
๑. ระดับประถมศึกษาปีที่ ๑ – ระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๖ มีการสอนในสาระวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาทุกสัปดาห์ เน้นกิจกรรมการเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การเล่นเกมส์ และกีฬาไทยและกีฬาสากล
๒. จัดกิจกรรมกายบริหารหลังเคารพธงชาติหรือก่อนเลิกเรียนทุกวัน วันละ ๑๕-๒๐ นาที
๓. จัดกิจกรรมชุมนุม/ชมรมพลศึกษาให้นักเรียนเลือกตามความถนัดและความสนใจ
๔. บูรณาการวิชาพลศึกษาควบคู่กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
อัตรากำลังครูพลศึกษา สพฐ.ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมหาวิทยาลัยอยู่ระหว่างดำเนินการจัดอบรมหลักสูตรพลศึกษาให้กับครูพลศึกษาในเขตกทม.และปริมณฑล
การจัดกิจกรรมกีฬาหลังเลิกเรียน สพฐ.ประชาสัมพันธ์ไปยังเขตพื้นที่การศึกษาทุกเขตการศึกษาให้โรงเรียนในสังกัดจัดกิจกรรมออกกำลังกายหน้าเสาธง
- ติดตามความก้าวหน้าเรื่ององค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา มีการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์การกีฬา ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก ในสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.มหิดล ม.บูรพา มศว.ประสานมิตร ม.เทคโนโลยีสุรนารี ม.ศิลปากร ฯลฯ รวมทั้งหลักสูตรครุศาสตร์ มหาบัณฑิตในสถาบันราชภัฏ และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้หารือกับสถาบันพลศึกษา ขณะนี้อยู่ระหว่างการวางแผนการเตรียมความพร้อมศักยภาพของสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โดยใช้องค์ความรู้ และกระบวนการด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬา การพัฒนาศักยภาพด้านกีฬาแก่เด็กและเยาวชน โดยการพัฒนาการกีฬาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้กำหนดเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
- การปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาทักษะภาษาต่างประเทศให้กับนักเรียนอาชีวศึกษา เพื่อให้สอดรับรับ พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.๒๕๕๑ โดย สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ พ.ศ.๒๕๕๑ เพิ่มหลักสูตรภาษาต่างประเทศที่ขาดแคลน เช่น ภาษาอาเซียน ภาษาเกาหลี ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น และเปิดรับครูอาสาสมัครจีนเข้ามาสอนในมหาวิทยาลัยสังกัด สอศ.ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้จัดทำโครงการประเมินสถานศึกษาเอกชนประเภทอาชีวศึกษาที่มีคุณภาพสู่มาตรฐานสากล เป็นทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษคู่กับสมรรถนะทางวิชาชีพสูง
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้เสนอเรื่องเพื่อพิจารณา การกำหนดหลักสูตรมัคคุเทศก์ในระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงและระดับอนุปริญญา สอศ.และสช.จัดทำหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)สาขาวิชาการท่องเที่ยว ให้มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรมัคคุเทศก์ทั่วไปที่คณะกรรมการธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์กำหนด และกศน.จัดสอนหลักสูตรระยะสั้น จำนวน ๑๗๔ ชม.สาขามัคคุเทศก์ เพื่อส่งเสริมเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น โดยที่ประชุมเสนอให้ทางกรมการท่องเที่ยว ร่วมกับ ทาง กศน. พิจารณาและรับรองหลักสูตร สาขามัคคุเทศก์ ของทาง กศน. เพื่อความถูกต้องกับ พ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องต่อไป
ปกรณ์/สรุป
ธเนศ/ภาพ
กลุ่มสารนิเทศ สอ.สป.
ที่มา: http://www.thaigov.go.th