นายมติพล ตั้งมติธรรม เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ ผู้บันทึกภาพดาวเคราะห์น้อยดังกล่าว เปิดเผยว่า ได้บันทึกภาพดาวเคราะห์น้อย 2004 BL86 ในช่วงเข้าวันที่ 25 มกราคม 2558โดยกล้องโทรทรรศน์ทางไกลอัตโนมัติซีกฟ้าใต้ (PROMPT8) ณ สาธารณรัฐชิลี ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ขณะนี้ ดาวเคราะห์น้อยดวงนี้กำลังเคลื่อนที่เข้าใกล้โลก และจะเคลื่อนที่เข้าใกล้โลกที่สุดที่ระยะทางห่างประมาณ 1.2 ล้านกิโลเมตร หรือประมาณ 3 เท่าของระยะห่างจากโลกถึงดวงจันทร์ ในวันที่ 26 มกราคม 2558 ณ เวลา 16:20 UTC หรือตรงกับเวลาประมาณ 23:20 ตามเวลาประเทศไทย
ภาพดังกล่าว ถ่ายภาพด้วยฟิลเตอร์ B, V, R โดยใช้เวลาเปิดหน้ากล้องภาพละ 30 วินาที เนื่องจากดาวเคราะห์น้อยมีการเคลื่อนที่เร็วมาก จึงเห็นดาวเคราะห์น้อยเคลื่อนที่ออกเป็นเส้น ตัดกับดาวเบื้องหลังซึ่งอยู่นิ่งกับที่ เวลาที่ระบุเอาไว้ในภาพเป็นเวลาเริ่มถ่ายภาพตามเวลามาตรฐานสากล (Universal Time)
นายมติพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ดาวเคราะห์น้อย 2004 BL86เป็นดาวหางคาบสั้น มีคาบการโคจรประมาณ 200 ปี ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 500 เมตร หรือเทียบเท่าเรือสำราญขนาดใหญ่หนึ่งลำ ด้วยระยะห่าง 1.2 ล้านกิโลเมตรทำให้สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4 นิ้ว หรือกล้องสองตาทั่วไป ทำให้นักดาราศาสตร์สมัครเล่นทั่วโลกสามารถสังเกตเห็นดาวเคราะห์น้อยผ่านกล้องโทรทรรศน์ด้วยตาของตนเองได้
อ้างอิง:
[1] http://earthsky.org/space/asteroid-2004-bl86-to-sweep-close-on-january-26
[2] http://en.wikipedia.org/wiki/(357439)_2004_BL86
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
โทร. 053-225569 ต่อ 210, 081-8854353 โทรสาร 053-225524
Call Center กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทร.1313
E-mail: pr@narit.or.th
www.narit.or.th; www.facebook.com/NARITpage
twitter: @N_Earth
เผยแพร่ข่าวโดย : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
กลุ่มงานประชาสัมพันธ์สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3727 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@most.go.th
Facebook : sciencethailand
ที่มา: http://www.thaigov.go.th