พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนภูมิภาค ( ๗๖ จังหวัด) มีขอทานเข้าสู่กระบวนการจัดระเบียบ จำนวนทั้งสิ้น ๗๕ คน เป็นขอทานคนไทย จำนวน ๗๑ คน แบ่งเป็นชาย ๔๓ คน หญิง ๒๕ คน เด็กชาย ๑ คน เด็กหญิง ๒ คน และขอทานต่างด้าว จำนวน ๔ คน แบ่งเป็นชาย ๒ คน หญิง ๒ คน ซึ่งจังหวัดที่พบขอทานมากที่สุด ๕ จังหวัด ได้แก่ ๑)จังหวัดเลย ๑๓ คน ๒)จังหวัดสมุทรสงคราม ๑๑ คน ๓)สุพรรณบุรี ๗ คน ๔)จังหวัดขอนแก่น ๖ คน และ ๕)จังหวัดแม่ฮ่องสอน ๕ คน ซึ่งขอทานดังกล่าว จะถูกนำมาคัดกรอง ที่บ้านพักเด็กและครอบครัวในแต่ละจังหวัด และผ่านกระบวนการคัดแยกฯ เหมือนกับส่วนกลาง และนำส่งสถานสงเคราะห์ต่างๆ เช่น บ้านมิตรไมตรี สถานสงเคราะห์คนไร้ที่พึ่ง ฯลฯ สำหรับขอทานที่ส่งสถานสงเคราะห์ต่างๆ จะได้รับการฟื้นฟูสภาพจิตใจและมีการฝึกอาชีพเพื่อให้สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเองต่อไป ทั้งนี้ จำนวนขอทานทั่วประเทศ ที่เข้าสู่กระบวนการจัดระเบียบขอทานในวันแรกมียอดรวมจำนวนทั้งสิ้น ๑๐๗ คน แบ่งเป็นขอทานคนไทย จำนวน ๘๗ คน และขอทานต่างด้าวจำนวน ๒๐ คน
"การใช้หลัก ๓ pเป็นแนวทางการดำเนินการ ได้แก่ ๑)การบังคับใช้กฎหมาย (Policy) เช่น การปรับปรุงกฎหมาย การจัดระเบียบจัดทำทะเบียนข้อมูล พัฒนาฐานข้อมูล ขยายผลดำเนินคดีกับขบวนการค้ามนุษย์ ๒)การคุ้มครองช่วยเหลือ (Protection) เช่น การจัดทำบันทึกความร่วมมือเพื่อความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ การคัดแยกเหยื่อจากการค้ามนุษย์ และการคุ้มครองสวัสดิภาพ ฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพในสถานสงเคราะห์ และ ๓)การป้องกัน(Prevention)ศึกษาวิจัยพัฒนาระบบการคุ้มครองทางสังคม รณรงค์ประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะ ให้ความรู้ด้านกฎหมาย สิทธิการเข้าถึงบริการด้านกฎหมาย สิทธิในการเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐาน ส่งเสริมเครือข่าย พม.เป็นแกนนำเฝ้าระวัง ทำ MOU เครือข่ายแก้ปัญหาขอทานต่างด้าว จะทำให้ปฏิบัติการจัดระเบียบคนขอทานทั่วประเทศในครั้งนี้ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป” พลตำรวจเอกอดุลย์ กล่าวตอนท้าย
ที่มา: http://www.thaigov.go.th