ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะกล่าวต่อว่า เนื่องจากที่ผ่านมา มีหลายฝ่ายยังมีความกังวลในบางประเด็น เช่น การห้ามแสดงราคาผลิตภัณฑ์ยาสูบ ณ จุดขาย ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขชี้แจงว่า พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ ได้ห้ามการแสดงราคาในลักษณะที่จูงใจ ในการซื้อผลิตภัณฑ์ยาสูบ เพื่อช่วยปกป้องและปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงสินค้าในเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ดี กระทรวงสาธารณสุขได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ผู้แทนจากกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาหารือเชิงนโยบายเพื่อทำความเข้าใจ ชี้แจงข้อกังวลในมาตราและประเด็นต่างๆ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และตรงกันของทุกหน่วยงานและมีความเห็นพ้องกันในหลักการของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนไทยมีสุขภาพดี อันส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันในการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดรูปแบบใหม่ และครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ เช่น บารากู่ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีผลต่อเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ สำหรับประเด็นการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ใน พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้ มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการแทรกแซงนโยบายภาครัฐ มิได้มีจุดประสงค์อื่นใด ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมลงนามกับ 180 ประเทศทั่วโลกศาสตราจารย์ นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงเกี่ยวกับข้อเท็จจริงและความจำเป็นของร่างกฎหมายคือพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. .... ว่า การออกพ.ร.บ.ฉบับนี้ มีจุดมุ่งหมายหลัก 2 กลุ่มใหญ่ คือ ปกป้องคุ้มครองเยาวชนจากการบริโภคยาสูบเป็นสำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมยาสูบพุ่งเป้าหมายทางธุรกิจไปยังกลุ่มนี้ เพราะเยาวชนมีความอ่อนไหวทั้งด้านร่างกายและจิตใจมาก ทำให้ง่ายต่อการถูกชักจูงให้มาบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบ ผลการศึกษาพบว่าบุคคลที่บริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบแล้ว มักจะเลิกได้ยากหรือเลิกไม่ได้เลย โดย 7 ใน 10 คนจะบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบไปตลอดชีวิต และปกป้องคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยกว่า 50 ล้านคน
31 มกราคม 2558
ที่มา: http://www.thaigov.go.th